วุฒิ สุโกศล
พลตำรวจตรีวุฒิ สุโกศล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมงานกับพรรครวมชาติพัฒนา[1]
วุฒิ สุโกศล | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ถัดไป | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 เมษายน พ.ศ. 2475 กรุงเทพ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน |
ประวัติ
แก้วุฒิ สุโกศล เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2475 ที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร(จังหวัดพระนครในขณะนั้น)เป็นบุตรของนายเส็ง กับนางหล่ำ สุโกศล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2499[2]
การทำงาน
แก้พลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[3] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 52 (รัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)[4] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ชวน 2)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 'สุวัจน์'รุกคืบรวมโคราช ไพโรจน์ขนส.ส.เข้าร่วม 'แสดงจุดยืน'การรวมกัน เปิดตัว'สุนารี'ลงชิงเก้าอี้!
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 88/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๒๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓