รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | รัฐสภา |
ผู้ลงนาม | สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามิทราธิราช บรมนาถบพิตร |
วันลงนาม | 11 ตุลาคม 2540 |
ผู้ลงนามรับรอง | วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ประธานรัฐสภา) |
วันลงนามรับรอง | 11 ตุลาคม 2540 |
วันประกาศ | 11 ตุลาคม 2540 |
วันเริ่มใช้ | 11 ตุลาคม 2540 |
ท้องที่ใช้ | ![]() |
การร่าง | |
ชื่อร่าง | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
ผู้ยกร่าง | สภาร่างรัฐธรรมนูญ |
การแก้ไขเพิ่มเติม | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548 | |
การยกเลิก | |
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 |
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง[1] แต่อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ได้เป็นผู้ลงมติรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ประวัติแก้ไข
การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ประสบอุปสรรคมีการเคลื่อนไหว เพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทั้งภายในและภายนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวภายนอกสภานั้น กลุ่มที่ออกมาคัดค้าน เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน และได้มีองค์กรการเมืองภาคประชาชนออกมาสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่น คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย (ครป.) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ฯลฯ พรรคการเมืองซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้น ได้แก่ พรรคความหวังใหม่ สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญประธานรัฐสภา และ รองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่เป็นผู้ลงนามรับรอง
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแก้ไข
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ก็คือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ[2]
- ขยายสิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง
- การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน เพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมือง
- การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
การสิ้นสุดลงแก้ไข
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยการก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติที่นิวยอร์ก และขณะที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Kittipong Kittayarak, The Thai Constitution of 1997 and its Implication on Criminal Justice Reform เก็บถาวร 2007-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดทั่วไป เรื่อง ๑. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ, สถาบันพระปกเกล้าฯ, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545, หน้า 124
- ดร. วรพิทย์ มีมาก. การวิจัยเชิงประเมินรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |