ห้าแยก ทางแยก

สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นสี่แยก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนบำรุงเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

สะพานช้างโรงสี
สะพานช้างโรงสี ภาพถ่ายจากฝั่งวังสราญรมย์ มองเห็นอาคารฟาซาลทางขวามือของภาพ
พิกัด13°45′04.54″N 100°29′47.03″E / 13.7512611°N 100.4963972°E / 13.7512611; 100.4963972
เส้นทางถนนกัลยาณไมตรี และถนนบำรุงเมือง
ข้ามคลองคูเมืองเดิม
ที่ตั้งแขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงวัดราชบพิธ และแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ชื่ออื่นสะพานช้าง
ผู้ดูแลกรุงเทพมหานคร
สถานะเปิดใช้งาน
เหนือน้ำสะพานคนเดิน
ท้ายน้ำสะพานปีกุน
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานคาน
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
ทางเดิน2
ประวัติ
สร้างใหม่พ.ศ. 2453
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสะพานช้างโรงสี
ขึ้นเมื่อ16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000030
ชื่ออักษรไทยสะพานช้างโรงสี
ชื่ออักษรโรมันSaphan Chang Rongsi
ที่ตั้งแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ และแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนอัษฎางค์
» แยกผ่านพิภพลีลา
ถนนบำรุงเมือง
» สี่กั๊กเสาชิงช้า
ถนนอัษฎางค์
» แยกสะพานมอญ
ถนนกัลยาณไมตรี
» ป้อมสัญจรใจวิง
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชินี บริเวณหลังกระทรวงกลาโหม กับถนนอัษฎางค์ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สะพานช้างโรงสีเป็นสะพานที่สร้างสำหรับกองทัพช้างศึกที่กลับมาจากการทำศึกสงครามเดินข้ามเพื่อเข้าเขตราชธานี ซึ่งเดิมมีสะพานที่สร้างสำหรับช้างเดินข้ามมีทั้งสิ้น 3 สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณเชิงลาดสะพานพระปิ่นเกล้า, สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมบริเวณปากคลองตลาด ซึ่งปัจจุบัน คือ สะพานเจริญรัช 31 และสะพานช้างโรงสีแห่งนี้ ซึ่งในอดีตตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงแห่งพระนคร ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกกันติดปากว่า "สะพานช้างโรงสี" และได้เป็นสะพานเพียงแห่งเดียวที่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่

จนเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงบูรณะจากเดิมที่เป็นสะพานไม้แผ่นหนาวางพาดเปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานทำเป็นลูกแก้วปูนหล่อ ช่วงปลายสะพานทั้งสี่มุมเป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปหัวสุนัข มีจารึกคำว่า ศก ๑๒๙ อันหมายถึง ปีจอ และรัตนโกสินทร์ศก 129 (พ.ศ. 2453) ซึ่งเป็นทั้งปีนักษัตรประสูติของพระองค์และตรงกับปีที่บูรณะซ่อมแซมสะพานอีกด้วย[1]

ไม่ไกลจากสะพานช้างโรงสีเป็นที่ตั้งของวังสราญรมย์, สะพานปีกุนกับอนุสาวรีย์หมู, สะพานหก, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และแพร่งภูธร

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พินิจนคร (Season 1) ตอน สามแพร่ง". พินิจนคร. 2009-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานคนเดินข้ามคลองคูเมืองเดิม หลังกระทรวงกลาโหม
 
สะพานช้างโรงสี
 
ท้ายน้ำ
สะพานปีกุน