แยกวิทยุ
แยกวิทยุ เป็นสี่แยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นจุดแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน, แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร เป็นจุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 4, ถนนวิทยุ, ถนนสาทรใต้ และถนนสาทรเหนือ
ชื่ออักษรไทย | วิทยุ |
---|---|
ชื่ออักษรโรมัน | Witthayu |
รหัสทางแยก | N257 (ESRI), 103 (กทม.) |
ที่ตั้ง | แขวงสีลม เขตบางรัก แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร และแขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนพระรามที่ 4 » แยกพระรามที่ 4 |
→ | ถนนสาทรใต้ » แยกสาทร-นราธิวาส |
↓ | ถนนพระรามที่ 4 » แยกศาลาแดง |
← | ถนนวิทยุ » แยกสารสิน |
สะพานไทย-เบลเยียม
แก้สะพานไทย-เบลเยียม แต่เดิมนั้นอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยมีชื่อว่า สะพาน Viaduc Leopold II โดยสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในงานเอ็กซ์โป 1958 ที่กรุงบรัสเซลส์เป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีจุดเด่น คือ เป็นสะพานที่สามารถรื้อถอนแล้วนำไปก่อสร้างในสถานที่อื่น ๆ ได้ โดยสะพานแห่งนี้ถูกรื้อถอนลงในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ประเทศเบลเยียมจึงได้บริจาคสะพานนี้ให้กับประเทศไทยเพื่อใช้อำนวยความสะดวกชั่วคราวในปี พ.ศ. 2526 เนื่องจากในสมัยนั้นการคมนาคมบริเวณช่วงนั้นและการขยายถนนพระรามที่ 4 ยังไม่เพียงพอ ซึ่งภายหลังจึงได้ปรับปรุงโครงสร้างจากสะพานชั่วคราวเป็นสะพานโครงโลหะเสริมความแข็งแรงด้วยคอนกรีต และใช้เป็นสะพานข้ามแยกวิทยุอย่างถาวรเรื่อยมา[1][2][3]
สถานที่สำคัญบริเวณทางแยก
แก้- สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย
- สถานเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย
- สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย
- สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย
- สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
- สถานเอกอัครราชทูตลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทย
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลุมพินี
- สวนลุมพินี
- วัน แบงค็อก (กำลังก่อสร้าง)
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ แยกวิทยุ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์