วัน แบงค็อก
วัน แบงค็อก (อังกฤษ: One Bangkok) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบนพื้นที่ 104 ไร่ บนถนนพระรามที่ 4 และถนนวิทยุ หัวมุมแยกวิทยุ บนพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พัฒนาโดยบริษัท วัน แบงค็อก จำกัด ในเครือกลุ่มทีซีซี[2] และบริหารงานโดยบริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด กิจการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด[3] เริ่มลงเสาเข็มเมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2562[4] เริ่มเปิดอย่างไม่เป็นทางการในบางส่วนของระยะแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567[5] มีกำหนดเปิดให้บริการระยะแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567[6] และกำหนดแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการในปี พ.ศ. 2570[7]
การก่อสร้างวัน แบงค็อก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 | |
โครงการ | |
---|---|
เริ่มสร้าง | มิถุนายน พ.ศ. 2562 |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2570 |
เปิดใช้งาน | 18 มีนาคม พ.ศ. 2567 (อาคารสำนักงาน 4 และพาเหรดบางส่วน) ตุลาคม พ.ศ. 2567 (โรงแรมเดอะ ริทส์-คาร์ลตัน, โรงแรมแอนดาซ, อาคารสำนักงาน 3, อาคารสำนักงาน 5, พาเหรด และเดอะสตอรีส์) พ.ศ. 2568 (โพสต์ 1928) พ.ศ. 2570 (ทั้งโครงการ)[1] |
ค่าก่อสร้าง | 120,000 ล้านบาท |
สถานะ | เปิดใช้งานบางส่วน |
พื้นที่ | 108 ไร่ |
ผู้พัฒนาโครงการ | บริษัท วัน แบงค็อก จำกัด |
สถาปนิก | สคิดมอร์, โอวิงส์ แอนด์ เมอร์ริลล์ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด บริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด |
ผู้จัดการ | บริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด โดย
|
เจ้าของ | สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ |
เว็บไซต์ | onebangkok |
ลักษณะทางกายภาพ | |
อาคารหลัก | วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ |
พื้นที่สาธารณะ | วัน แบงค็อก พาร์ค พาเหรด พาร์ค ไวร์เลส พาร์ค |
การจัดสรรพื้นที่ | อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย พื้นที่ค้าปลีก |
ถนน | ถนนพระรามที่ 4 ถนนวิทยุ |
ขนส่งมวลชน | ลุมพินี |
ที่ตั้ง | |
พิกัด: 13°43′38″N 100°32′50″E / 13.7272°N 100.5473°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
เขต | ปทุมวัน |
แขวง | ลุมพินี |
ประวัติ
แก้พื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นสถานีวิทยุศาลาแดง[8], โรงเรียนเตรียมทหาร, สนามมวยเวทีลุมพินี และสวนลุมไนท์บาซาร์ โดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นำมาประมูลครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยเปิดให้บริษัทเอกชนเสนอแผนการพัฒนาโครงการ ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 8 ราย อาทิ เซ็นทรัลพัฒนา แสนสิริ และ กลุ่มทีซีซี เป็นต้น โดยเซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ชนะการประมูล[9] แต่บริษัทไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ได้ทันที เนื่องจากติดปัญหาการย้ายออกจากพื้นที่ของ บริษัท พี.คอน. ดีเวลลอปเม้นท์ (ไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์ จนต้องมีการฟ้องร้องและศาลมีคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งหลังจากระยะเวลาผ่านมา 8 ปี กลุ่มเซ็นทรัลก็ยังคงไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จึงยกเลิกสัญญากับเซ็นทรัลพัฒนาเพื่อนำที่ดินดังกล่าวออกมาประมูลใหม่[10]
การประมูลครั้งที่สองนี้ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้มอบหมายให้บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด จัดประมูลในปี พ.ศ. 2556[11] โดยมีผู้เข้ารอบ 18 ทีม กำหนดขอบเขตของโครงการเป็น 6 โซน รูปแบบผสม ซึ่งประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงาน ศูนย์การศึกษา และศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งมีผู้ผ่านการพิจารณา 4 บริษัท ได้แก่ ยูนิเวนเจอร์ เซ็นทรัลพัฒนา สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (ในเครือสหพัฒนพิบูล) และกลุ่มไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งที่ผ่านมาการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากติดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องห้ามสร้างอาคารสูงเกิน 45 เมตร ทำให้เอกชนที่เข้าประมูลไม่สามารถพัฒนาโครงการได้เต็มที่ ทั้งที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เนื่องจากเป็นที่ดินราคาแพงย่านใจกลางเมือง ซึ่งกรุงเทพมหานครเล็งเห็นข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้มีมติปลดล็อกข้อบัญญัติดังกล่าวโดยไม่จำกัดความสูง
โดยผู้ที่ถือได้ว่าเป็นตัวเต็งของการประมูลครั้งที่สอง คือกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา เนื่องจากเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งที่ผ่านมา แต่ในที่สุด บริษัทในเครือเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้แก่ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ และบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) เป็นผู้ชนะการประมูล โดยจำกัดระยะเวลาเช่าไว้ที่ 30 ปี+30 ปี[12] ส่วนเซ็นทรัลพัฒนาได้หันไปร่วมมือกับเครือดุสิตธานี เพื่อพัฒนาโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ในพื้นที่เดิมของโรงแรมดุสิตธานีที่อยู่ใกล้เคียง
วัน แบงค็อก ได้รับการออกแบบแผนแม่บทโดย สคิดมอร์, โอวิงส์ แอนด์ เมอร์ริลล์ ร่วมกับ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด และบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด และใช้เงินลงทุนจำนวน 120,000 ล้านบาท ทำให้เคยเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้จำนวนเงินลงทุนสูงที่สุดในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยในขณะนั้น (แทนที่ไอคอนสยาม) ก่อนสถิติจะถูกทำลายลงโดยโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์[13] (ที่จะเปิดให้บริการทั้งโครงการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2568)
วัน แบงค็อก เริ่มเปิดอย่างไม่เป็นทางการบางส่วนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567 ในส่วนอาคารสำนักงานหมายเลข 4 และทางเชื่อมสถานีลุมพินีของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[5] และจะเปิดให้บริการระยะที่ 1 ในพื้นที่ที่เหลือ รวมถึงพื้นที่ค้าปลีกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567[6]
การจัดสรรพื้นที่
แก้วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | สำนักงานและโรงแรม |
ที่อยู่ | ถนนพระรามที่ 4 |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2561 |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2568 (คาดการณ์) |
ความสูง | 436.1 เมตร |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
จำนวนชั้น | 92 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล |
ผู้พัฒนาโครงการ | บจก. วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ |
วัน แบงค็อก ออกแบบโดยใช้แนวคิด "เมืองกลางใจ" (The Heart of Bangkok)[14] ประกอบด้วย 4 โซน มีลานสันทนาการกลางแจ้งตั้งอยู่ใจกลางโครงการ พร้อมด้วยพื้นที่ค้าปลีกบริเวณส่วนล่างของอาคาร โดยส่วนสำนักงานกับส่วนที่พักอาศัยจะอยู่ส่วนบนของตึก สำหรับอาคารสำนักงาน 5 อาคาร พื้นที่รวมกัน 5 แสนตารางเมตร ส่วนพื้นที่โรงแรมมีทั้งหมด 5 แห่ง อาทิ โรงแรมเดอะริทช์ คาร์ลตัน จำนวน 259 ห้อง [15], โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ในเครือโรงแรมไฮแอท[16] และโรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ[17] เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวภายในโครงการอีกจำนวน 50 ไร่[18]
วัน แบงค็อก ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้[19][4]
- อาคารโรงแรม จำนวน 2 อาคาร โดยหนึ่งในนั้นคือโรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ในเครือไฮแอท โฮเต็ลส์ คอร์ปอเรชัน[16][20]
- อาคารสำนักงาน จำนวน 3 อาคาร
- อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย จำนวน 2 อาคาร
- อาคารสำนักงานและโรงแรม จำนวน 2 อาคาร โดยหนึ่งในนั้นคือตึกวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ซึ่งจะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ที่ความสูง 437.03 เมตร และอีกอาคารหนึ่งจะเป็นที่ตั้งของโรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ
- อาคารชุดเพื่อการพักอาศัยและโรงแรมริทส์ คาร์ลตัน จำนวน 1 อาคาร
- ส่วนค้าปลีก พื้นที่รวม 180,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย พาเหรด, เดอะสตอรีส์, โพสต์ 1928 และศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม โดยพื้นที่ค้าปลีกจะประกอบด้วยร้านสินค้าหรูหรา, ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้าปลอดอากรโดยคิง เพาเวอร์[14], มิตซูโคชิ ซูเปอร์มาร์เก็ต-ฟู้ดฮอลล์[21], ร้านอาหาร, โรงภาพยนตร์, และศูนย์ประชุมเดอะฟอรัม ที่รองรับผู้เข้าร่วมงานได้สูงสุด 10,000 คน[22]
โดยทุกอาคารจะเชื่อมต่อด้วยฐานเดียวกัน นอกจากนี้ยังจัดสรรพื้นที่บางส่วนเป็นสวนสาธารณะ หอศิลป์ สถานีวิทยุ และยังมีทางเดินใต้ดินเชื่อมโครงการเข้ากับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลุมพินี, รถบัสพลังงานไฟฟ้ารับ-ส่งจากสถานีเพลินจิตของรถไฟฟ้าบีทีเอส[23] รวมถึงทางเชื่อมไปยังทางพิเศษเฉลิมมหานครอีกด้วย[24]
ระเบียงภาพ
แก้-
อาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 3
-
อาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4
-
อาคารวัน98 ไวร์เลส (โรงแรมเดอะ ริทส์ คาร์ลตัน) และโรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ One Bangkok อภิมหาโครงการมิกซ์ยูสมูลค่า 1.2 แสนล้าน เขย่าแลนด์มาร์คใหม่ของโลก
- ↑ TCC GROUP เผยโฉม ONE BANGKOK บริเวณถ.พระรามสี่ มูลค่ากว่า 120,000 ลบ.
- ↑ ว่องไชยกุล3, พัฐรัศมิ์ (3 เมษายน 2017). "เจ้าสัว 'เจริญ' ทุ่ม 1.2 แสนล้านพัฒนาโครงการยักษ์ One Bangkok แยกพระราม4-วิทยุ". ฟอบส์ ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 เปิดผัง "One Bangkok" แลนด์มาร์คระดับโลก
- ↑ 5.0 5.1 ""วัน แบงค็อก" เปิดออฟฟิศตึกแรกแล้ว! พื้นที่ "รีเทล" แกรนด์โอเพนนิ่งเดือนตุลาฯ ชูจุดเด่น "ช้อปปิ้ง สตรีท"". Positioning Magazine. 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 ""วัน แบงค็อก" เผยโฉมพื้นที่รีเทล ไข่แดงกลางบิ๊กโปรเจ็กต์ 1.2 แสนล้าน อาณาจักรช้อปปิ้งแห่งใหม่ใจกลางเมือง ดีเดย์เปิด ต.ค. นี้". ฐานเศรษฐกิจ. 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2024.
- ↑ กลุ่ม TCC ทุ่มกว่า 1.2 แสนล้าน เปิด One Bangkok
- ↑ ตำนานวิทยุไทย เครื่องมือสร้าง-ชาติ
- ↑ ทรัพย์สินฯประกาศชัดCPNคว้าสวนลุมไนท์
- ↑ เซ็นทรัล เลิกสัญญา สวนลุมไนท์ เปิดประมูลใหม่ 88 ไร่
- ↑ เซ็นทรัลทิ้งโปรเจ็กต์สวนลุมไนท์ สนง.ทรัพย์สินฯนับหนึ่งใหม่ ยักษ์อสังหาฯแห่ชิงดำ
- ↑ ‘One Bangkok’ อภิมหาโครงการของเสี่ยเจริญ
- ↑ โครงการบ้านและคอนโดระดับเวิลด์คลาส ใกล้สุวรรณภูมิ - MQDC
- ↑ 14.0 14.1 "วัน แบงค็อก เปิดรีเทล ต.ค.นี้ ดึงแบรนด์หรู - ดิวตี้ฟรี มุ่งโกลบอลเดสทิเนชั่น". bangkokbiznews. 2024-03-19.
- ↑ เปิดมาสเตอร์แพลนโครงการวัน แบงค็อก บนพื้นที่ 104 ไร่ใจกลางเมือง ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท
- ↑ 16.0 16.1 Hyatt to Accelerate Growth of its Luxury and Lifestyle Brands in Asia Pacific
- ↑ "One Bangkok จับมือ เฟรเซอร์ส ฮอลพิทาลิตี้ รังสรรค์ "เฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ" มอบประสบการณ์การพักผ่อนที่เหนือระดับ". www.marketthink.co. 2023-11-28.
- ↑ วัน แบงค็อก (One Bangkok) เมืองแห่งความครบครันเพื่อการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดตัวมาสเตอร์แพลน เจาะลึกการออกแบบทั้งโครงการ
- ↑ บริษัท ไท-ไท วิศวกร จำกัด (14 ธันวาคม 2018). รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับสมบูรณ์) โครงการ ONE BANGKOK (Report). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2024.
- ↑ “วัน แบงค็อก” แลนด์มาร์คแสนล้าน เปิดตัวโรงแรม “แอนดาซ” แห่งแรกในกรุงเทพฯ
- ↑ วัน แบงค็อก ผนึก อิเซตัน ห้างญี่ปุ่น เปิด มิตซูโคชิ ฟู้ดเดสติเนชั่น แห่งแรกในไทย
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Building castles in the sky". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
- ↑ วัน แบงค็อก เปิดตัวรีเทล 1.6 แสน ตร.ม. ปักหมุดกรุงเทพฯ มหานครช็อปปิ้งของเอเชีย
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-02-13). "ONE BANGKOK "Evolving Bangkok" ร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกรุงเทพฯ สู่มหานครระดับโลก". thansettakij.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์โครงการ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัน แบงค็อก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์