คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดิมมีชื่อว่า คณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท เป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งที่สองของประเทศไทย เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2511 เพื่อเพิ่มจำนวนทันตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศในขณะนั้น โดยขยายมาจาก คณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรก (คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ที่ถนนอังรีดูนังต์

คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Dentistry, Mahidol University
ชื่อเดิมคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท
คติพจน์ทันตแพทยศาสตร์มหิดลเพื่อประชาชน
สถาปนา7 มิถุนายน พ.ศ. 2511; 56 ปีก่อน (2511-06-07)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
คณบดีรองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ บัณฑิต จิรจริยาเวช
ที่อยู่
สี  สีม่วง
เว็บไซต์dt.mahidol.ac.th/thai/

ในวันที่ 2 มีนาคม 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อมหาวิทยาลัยมหิดลแทน ทำให้ชื่อของคณะเปลี่ยนเป็น คณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล จนกระทั่งใน พ.ศ. 2517 ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ อนุมัติให้ตัดคำว่า "พญาไท" ท้ายคำของคณะออก จึงได้ใช้ชื่อว่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาจนถึงปัจจุบัน โดยคณะได้มีคณบดีบริหารมาแล้ว 10 ท่าน ท่านแรก คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ อิศระ ยุกตะนันทน์ ส่วนท่านปัจจุบัน คือ รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ บัณฑิต จิรจริยาเวช

ประวัติ

แก้
  • 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้สถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อยู่ในสังกัดกระทรวงการสาธารณสุข
  • 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนทันตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศในขณะนั้น [1]
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้รับพระราชทานนาม "มหิดล" เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัยตามพระนามาภิไธยในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2513 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มรับนิสิตรุ่นแรกเพียงจำนวน 8 คน และเพิ่มเป็น 30 คน และ 60 คนในปีต่อมาตามลำดับ
  • พ.ศ. 2515 คณะทันตแพทยศาสตร์ก็ได้มีการเปิดหลักสูตรหลังปริญญาขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตร 1 ปี นอกจากนี้ยังมีการเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์และหลักสูตรช่างทันตกรรมเป็นที่แรกในประเทศไทยในปีเดียวกัน
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โอนคณะทันตแพทยศาสตร์ในเขตปทุมวัน ไปขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาจนถึงปัจจุบัน[2]

ทำเนียบคณบดี

แก้

ตั้งแต่เปิดทำการสอน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีคณบดีดำรงตำแหน่งในสังกัดต่างๆของคณะ ตามลำดับต่อไปนี้[3]

ทำเนียบคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ อิศระ ยุกตะนันทน์ พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2524
ทำเนียบคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
2. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์ พิสุทธิ์ สังขะเวส พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529
3. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง นิสา เจียรพงศ์ 18 มกราคม พ.ศ. 2529 - 17 มกราคม พ.ศ. 2533 (วาระที่ 1)
18 มกราคม พ.ศ. 2533 - 17 มกราคม พ.ศ. 2537 (วาระที่ 2)
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ 18 มกราคม พ.ศ. 2537 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
5. รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์ สุขุม ธีรดิลก พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546
6. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์หญิง จุไร นาคะปักษิณ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547
7. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ดร. ทันตแพทย์หญิง ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551 (วาระที่ 1)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 (วาระที่ 2)
8. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์ พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
9. ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิง วรานันท์ บัวจีบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
10. ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2567
11. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ บัณฑิต จิรจริยาเวช 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง

แก้

เกียรติยศและรางวัล

แก้

รางวัลมหิดลทยากร - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์อิศระ ยุกตะนันทน์ (พ.ศ. 2536), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์พิสุทธิ์ สังขะเวส (พ.ศ. 2537), ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์สิทธิ ส. ศรีโสภาค (พ.ศ. 2540), รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงนิสา เจียรพงศ์ (พ.ศ. 2541), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ พันโท ทันตแพทย์เศวต ทัศนบรรจง (พ.ศ. 2542), ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ (พ.ศ. 2545), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ดร. ทันตแพทย์หญิงธีรลักษณ์ สุทธเสถียร (พ.ศ. 2555), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์หญิงสมพร เรืองผกา (พ.ศ. 2556), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ (พ.ศ. 2559), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์หญิงผุสดี ยศเนืองนิตย์ (พ.ศ. 2561), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์เบ็ญจพจน์ ยศเนืองนิตย์ (พ.ศ. 2564)[4]

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทดีเด่นเฉพาะทาง สาขาความเป็นครู - ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์หญิงยาหยีศรีเฉลิม ศิลปะบรรเลง (พ.ศ. 2545), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์หญิงผุสดี ยศเนืองนิตย์ (พ.ศ. 2548), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์หญิงจิราภรณ์ ชัยวัฒน์ (พ.ศ. 2552), รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงจุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ (พ.ศ. 2554), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์นิวัต อนุวงศ์นุเคราะห์ (พ.ศ. 2559)[5]

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทดีเด่นเฉพาะทาง สาขาการประดิษฐ์ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์การุณ เลี่ยวศรีสุข (พ.ศ. 2521), ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์สุรชัย เดชคุณากร (พ.ศ. 2549), รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงกัลยา ยันต์พิเศษ (พ.ศ. 2554), รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงศรัญญา ตันเจริญ (พ.ศ. 2564)[6]

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทดีเด่นเฉพาะทาง สาขาการแต่งตำรา - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์หญิงอรสา ไวคกุล (พ.ศ. 2547)[7]

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทดีเด่นเฉพาะทาง สาขาการบริการ - ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ทันตแพทย์วีระศักดิ์ ไพรัชเวทย์ (พ.ศ. 2546), ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงมาลี อรุณากูร (พ.ศ. 2548), รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์สุรินทร์ สูอำพัน (พ.ศ. 2551), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ทันตแพทย์เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ (พ.ศ. 2558), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์บวร คลองน้อย (พ.ศ. 2562)[8]

ภาควิชา

แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 15 ภาควิชา และ 3 โรงเรียน ดังนี้

ภาควิชา เก็บถาวร 2021-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
โรงเรียน

หลักสูตร

แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ได้ดำเนินงานตามภารกิจในการผลิตบุคลากรด้านทันตกรรมให้แก่สังคมไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวที่ผลิตบุคลากรทางทันตกรรมทุกระดับ โดยจำแนกเป็นหลักสูตรตามระดับการศึกษาได้ ดังนี้

ประกาศนียบัตร

ปริญญาตรี

ปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ

ปริญญาโท หลักสูตรปกติ

ปริญญาเอก หลักสูตรนานาชาติ

ประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ

ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง หลักสูตรนานาชาติ

  • สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ทันตกรรมรากเทียม

ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง หลักสูตรปกติ

หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน เก็บถาวร 2023-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

โรงพยาบาลทันตกรรม

แก้
 
โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ตั้งอยู่ภายในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

ในปี พ.ศ. 2537 คณะทันตแพทยศาสตร์ ในสมัยที่คณบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ ได้เริ่มโครงการจัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม  คณะทันตแพทยศาสตร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางทันตกรรมทุกสาขา โดยอาจารย์ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเป็นสถานฝึกปฏิบัติงานของทันตแพทย์  นักศึกษาทันตแพทย์  นักศึกษาช่างทันตกรรมและนักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ ทั้งระดับก่อนปริญญา ปริญญาตรีและระดับหลังปริญญา รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกอบรมบุคลากรทางทันตสาธารณสุข นอกจากนี้ยังเป็นฐานการวิจัยทางคลินิกและพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรม และเป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยที่มีความผิดปกติซับซ้อนที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลอื่น

ในปี พ.ศ.2550 คณะทันตแพทยศาสตร์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาโครงสร้างหน่วยงานในคณะทันตแพทยศาสตร์และเสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์  ในโครงสร้างคณะทันตแพทยศาสตร์ โดยมีสถานะเทียบเท่าภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ได้รับอนุมัติโครงสร้างจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

ในปี พ.ศ.2554 มหาวิทยาลัยมหิดลได้ประกาศการแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานของมหาวิทยาลัยและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2554 เป็นต้นมา คณะทันตแพทยศาสตร์ จึงใช้ชื่อโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2550 ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา 17 ชั้น ซึ่งภายหลังอาคารดังกล่าวก่อสร้างเสร็จ ในเดือนพฤศจิกายน 2554 โรงพยาบาลทันตกรรมจึงได้ย้ายเข้าและเปิดให้บริการคลินิกและหน่วยภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา

การวิจัย

แก้

สำนักงานการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน (ISO/IEC 17025: 2005) จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัย (สมป.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข)[13]

รายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025: 2005 วัสดุทางทันตกรรม (1)

  • ประเมินความเป็นพิษของวัสดุทางทันตกรรมโดยวิธี Agar overlay : ISO 7405: 2008(E)

วัสดุทางทันตกรรม (1)

  • ประเมินความเป็นพิษของวัสดุทางทันตกรรมโดยวิธี MTT : ISO 10993-5: 2009(E),ISO 10993-12: 2007(E)

หมายเหตุ (1) ซีเมนต์ ซีเมนต์อุดคลองรากฟัน วัสดุจัดฟัน วัสดุอุดฟัน วัสดุบูรณะฟัน วัสดุอุดย้อนปลายราก สารสกัดสมุนไพรทางทันตกรรม และผลิตภัณฑ์สุขภาพช่องปาก

ปัจจุบันสำนักงานการวิจัย มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ได้รับงบประมาณจัดสรรสำหรับบริการนักวิจัย ดังนี้

  • Micro CT Scan เป็นเครื่องถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์ ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan) ขนาดเล็ก โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์ ที่รวดเร็วและได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากกว่าการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ด้วยฟิล์ม เนื่องจากการถ่ายแบบ CT-Scan จะสามารถจำลองข้อมูลออกมาเป็นภาพ 3 มิติ อีกทั้งยังสามารถดูภาพเอ็กซ์เรย์ในหน้าตัดอื่นๆได้แม้จะทำการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เพียงครั้งเดียว ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
  • Laser Micro dissection เป็นเครื่องตัดเลือกเซลล์หรือเนื้อเยื่อเฉพาะส่วนจากตัวอย่างที่ต้องการนำไปทดสอบด้วยกระบวนการอื่นๆ เพื่อการวิเคราะห์ชีวโมเลกุล เช่น DNA RNA และ Proteomics หรือในเซลล์เพาะเลี้ยง หรืองานทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ โดยอาศัยลำแสงเลเซอร์ สามารถตัดตัวอย่างได้สะดวก แม่นยำและปราศจากการปนเปื้อนแม้เพียงเซลล์เดียวในเนื้อเยื่อ สามารถใช้ได้กับตัวอย่างสด ตัวอย่างที่ผ่านกระบวนการตรึงด้วยพาราฟิน หรือแช่แข็ง ตัวอย่างฟิล์มเลือด โครโมโซม และเซลล์จากการเพาะเลี้ยงที่อยู่ในอาหารเหลว โดยไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ไม่ทำลายชีวโมเลกุลที่ต้องการศึกษาได้แก่ DNA RNA และโปรตีน มีความแม่นยำ โดยการเลื่อนแท่นวางตัวอย่างผ่านลำแสงเลเซอร์ ซึ่งตรึงอยู่กับที่ด้วยความแม่นยำสูงกว่า 1 ไมโครเมตร และขนาดของลำแสงเลเซอร์ที่ใช้ตัดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 ไมโครเมตร เมื่อใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 100 เท่า

เครือข่ายนานาชาติ

แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความร่วมมือ ภายใต้สัญญาข้อตกลงความร่วมมือทางวิชากร(MOU) กับสถาบันการศึกษาทางด้านทันตแพทยศาสตร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 33 สถาบัน เพื่อการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา และการวิจัยร่วมกัน ดังนี้

  1. Faculty of Odonto-Stomatology, University of Health Sciences (Cambodia)
  2. Faculty of Dentistry, International University (Cambodia)
  3. Faculty of Dentistry, University of Puthisastra (Cambodia)
  4. School of Stomatology, Kunming Medical University (China)
  5. West China School of Stomatology, Sichuan University (China)
  6. International Medical College, University of Duisburg-Essen (Germany)
  7. Faculty of Dentistry, University of Hong Kong (Hong Kong)
  8. Coorg Institute of Dental Sciences (India)
  9. Faculty of Dentistry, University of Indonesia (Indonesia)
  10. Faculty of Dentistry, Graduate School, Tokyo Medical and Dental University (Japan)
  11. The Nippon Dental University, School of Life Dentistry, Tokyo and Niigata (Japan)
  12. Faculty of Dentistry, Niigata University (Japan)
  13. Faculty of Dentistry, Hiroshima University (Japan)
  14. Faculty of Dentistry, Okayama University (Japan)
  15. School of Dentistry, Osaka University (Japan)
  16. School of Dentistry, Health Sciences University of Hokkaido (Japan)
  17. Faculty of Dental Medicine, Hokkaido University (Japan)
  18. University of Health Sciences, Faculty of Dentistry (Lao PDR)
  19. Faculty of Dentistry, Universiti Teknologi Mara, (Malaysia)
  20. Faculty of Dentistry, University of Malaya (Malaysia)
  21. University of Dental Medicine, Mandalay (Myanmar)
  22. University of Dental Medicine, Yangon (Myanmar)
  23. College of Dentistry, Yonsei University (South Korea)
  24. School of Dentistry, Kyung Hee University (South Korea)
  25. College of Oral Medicine, Chung Shan Medical University (Taiwan)
  26. Faculty of Dentistry, Prince of Songkla University, (Thailand)
  27. Faculty of Odonto-Stomatology, University of Medical Sciences, Ho Chi Minh City (Vietnam)
  28. Hanoi Medical University, School of Odonto-Stomatology, Hanoi City (Vietnam)
  29. Faculty of Dentistry, Can Tho University of Medicine and Pharmacy, Can Tho City (Vietnam)
  30. Faculty of Odonto-Stomatology, Hong Bang International University (Vietnam)
  31. Tufts University School of Dental Medicine (USA)
  32. University of Pennsylvania School of Dental Medicine (USA)
  33. Oregon Health & Science University School of Dentistry (USA)

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสมาชิกของ South-East Asia Association for Dental Education (SEAADE) ผ่านการประเมินหลักสูตรจาก Peer Review and Consultation Program ของ SEAADE ในปี พ.ศ. 2550 และเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการ the 24th South East Asia Association for Dental Education (SEAADE) Annual Scientific Meeting ภายใต้หัวข้อ Transformative Education ในปี พ.ศ. 2553

ทั้งนี้ ยังทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของศูนย์ความร่วมมือทางทันตแพทย์นานาชาติในแถบลุ่มแม่น้ำโขง International Dental Collaboration of the Mekong River Region (IDCMR) ซึ่งมีสมาชิกเครือข่ายจากสถาบันในราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหภาพพม่า ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่ประชาชนของประเทศในแถบแม่น้ำอิรวดีเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำโขง

ในปี พ.ศ. 2558 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น WHO Collaborating Center for Oral Health Education and Research (ศูนย์การศึกษาและวิจัยด้านสุขภาพช่องปากรับรองโดยองค์การอนามัยโลก) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 – 2562 และได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ จนถึงปี พ.ศ. 2566[14]

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านทันตแพทยศาสตร์ในระดับนานาชาติ ผ่านการจัดประชุม Japan-Thailand-Korea Joint Symposium ซึ่งมีสถาบันการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 7 สถาบันเข้าร่วม ประกอบไปด้วย Osaka University Graduate School of Dentistry (Japan), Kyushu University Faculty of Dental Science (Japan), Kyungpook National University School of Dentistry (South Korea), Seoul National University School of Dentistry (South Korea) Yonsei University College of Dentistry (South Korea) คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[15]

การบริการทางทันตกรรม

แก้

ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งอยู่ ณ วิทยาเขตพญาไท[16] และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา[17] ประกอบด้วย 4 อาคาร ที่เพียบพร้อมด้วย ห้องเรียน , ห้องปฏิบัติการ , คลินิกเฉพาะทาง 13 คลินิก 2 ศูนย์ สำหรับให้บริการทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปาก รังสีวิทยา ทันตกรรมจัดฟัน เวชศาสตร์ ช่องปากและปริทันตวิทยา ทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมสำหรับเด็ก และประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร อีกทั้งยังมียูนิตทำฟัน 620 ยูนิต สำหรับระบบการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาทันตแพทย์ได้นำความรู้จากภาคทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติงานจริง โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการและเริ่มดำเนินการนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรประกอบด้วย 12 คลินิก และห้องปฏิบัติการทางทันตกรรม ให้บริการด้านทันตกรรมทุกแผนกด้วยเป้าหมายที่ต้องการเป็นศูนย์ที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง พร้อมให้การบริการรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งในและนอกเวลาราชการ

พิพิธภัณฑ์

แก้

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดพิพิธภัณฑ์ทางทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเฉลียวอยู่วิทยานุสรณ์เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ “สิรินธรทันตพิพิธ” เพื่อร่วม ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา และเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างยั่งยืนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามอันเป็นมงคลว่า “สิรินธรทันตพิพิธ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน พ.ศ. 2558[18]

“สิรินธรทันตพิพิธ” มีเนื้อที่ทั้งหมด 620 ตารางเมตร ภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย

  1. พื้นที่อเนกประสงค์ภายใต้ชื่อใต้ร่ม พระบารมีจักรีวงศ์ เป็นโซนที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ไทยที่มีต่อคณะทันตแพทย์ศาสตร์
  2. คณะทันตแพทยศาสตร์ยุคแรกเริ่มในทวีปเอเชีย บอกเล่าเรื่องราวการรักษาฟันทั้งในจีน อินเดียและไทย
  3. คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตสู่ปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวถึงการเรียน ของคณะทันตแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย
  4. หน่วยทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บอกเล่า เรื่องราวการจำลองภาพแบบสามมิติในการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร และส่วนสุดท้าย
  5. ห้องทันตสุขภาพสำหรับทุกคน ซึ่งจะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องฟันตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ มีภาพแอนิเมชั่น ประกอบบอกเรื่องราวเปิดให้มีการซักถามของบุคคลทั่วไป

“สิรินธรทันตพิพิธ” ตั้งอยู่ภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนโยธี มีเนื้อที่ทั้งหมด 620 ตารางเมตร เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9.30 – 16.30 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์[19]

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์พญาไท ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑,18 มิถุนายน พ.ศ. 2511
  2. "ประวัติคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  3. https://dt.mahidol.ac.th/former-dean/
  4. https://dt.mahidol.ac.th/mahidol-thayakorn-award/
  5. https://dt.mahidol.ac.th/award-teachers/
  6. https://dt.mahidol.ac.th/award-invention/
  7. https://dt.mahidol.ac.th/award-textbook/
  8. https://dt.mahidol.ac.th/award-hospitality/
  9. "ภาควิชาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  10. "โรงเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ – คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  11. โรงเรียนเทคโนโลยี เก็บถาวร 2021-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  12. "โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  13. สำนักงานการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  14. "WHO-CC – Faculty of Dentistry Mahidol University" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  15. "Japan-Thailand-Korea Joint Symposium – Faculty of Dentistry Mahidol University" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. "แผนที่และการเดินทางมายังวิทยาเขตพญาไท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  17. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก(ศาลายา)
  18. "สิรินธรทันตพิพิธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  19. "เปิดสิรินธรทันตพิพิธ พิพิธภัณฑ์ฟันแห่งแรกของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′50″N 100°31′59″E / 13.763912°N 100.533180°E / 13.763912; 100.533180