แยกราชวงศ์ (อักษรโรมัน: Ratchawong Intersection) ทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดกันของถนนเยาวราชกับถนนราชวงศ์

สี่แยก ราชวงศ์
แผนที่
ชื่ออักษรไทยราชวงศ์
รหัสทางแยกN127 (ESRI), 049 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนราชวงศ์
» แยกวัดตึก
ถนนเยาวราช
» แยกเสือป่า
ถนนราชวงศ์
» แยกเฉลิมบุรี
ถนนเยาวราช
» ท่าราชวงศ์

แยกราชวงศ์ ได้ชื่อมาจากถนนราชวงศ์ ที่มีปลายทางเป็นท่าราชวงศ์ เป็นท่าเรือข้ามฟากไปยังท่าดินแดง ในพื้นที่เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี และให้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา [1] ในอดีตเป็นท่าเรือสินค้าและการพาณิชย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องจนถึงรัชกาลที่ 6 บริเวณนี้เป็นแหล่งรวมของภัตตาคารร้านอาหารระดับสูงหลายแห่งที่มีชื่อเสียงเพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูง ตลอดจนชนชั้นกลางระดับสูง ใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์หรือรับประทานอาหารมื้อค่ำกัน [2]

ในเทศกาลตรุษจีนของปี พ.ศ. 2561 มีการจัดงานและจัดให้ถนนเยาวราชเป็นถนนคนเดิน จึงมีการปิดการจราจรของถนนเยาวราชตั้งแต่วงเวียนโอเดียนจนถึงแยกราชวงศ์[3] จากเดิมจะปิดแต่เฉพาะช่วงวงเวียนโอเดียน ตั้งแต่แยกลำพูนไชยถึงแยกเฉลิมบุรีเท่านั้น[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "18ท่าเรือข้ามฟาก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าราชวงศ์-ท่าดินแดง ปลายถนนทาดินแดง เขตคลองสาน จ.กรุงเทพ". สวัสดีดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.[ลิงก์เสีย]
  2. ปีสาลี, วีระยุทธ (2016-08-05). "เมื่อในอดีต"คนชั้นสูง"ไม่กินอาหารค่ำนอกบ้าน และทำไมย่าน"ราชวงศ์"เป็นแหล่งดินเนอร์กลุ่มผู้ดี". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  3. "ปิดถนนรอบเยาวราชเที่ยงวันยันเที่ยงคืนจัดงาน"ตรุษจีน"". สำนักข่าวไทย. 2018-02-16. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  4. "แจ้งปิดถนนเยาวราช "งานตรุษจีน 31-1 ก.พ."". เนชั่นทีวี. 2014-01-30. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.

13°44′32.49″N 100°30′25.13″E / 13.7423583°N 100.5069806°E / 13.7423583; 100.5069806