แยกวัดตึก (อักษรโรมัน: Wat Tuek Intersection) เป็นทางแยกแห่งหนึ่ง ในแขวงสัมพันธวงศ์ และแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกตัดกันระหว่างถนนเยาวราชกับถนนจักรวรรดิ ถือได้ว่าเป็นส่วนปลายของถนนเยาวราช

สี่แยก วัดตึก
แผนที่
ชื่ออักษรไทยวัดตึก
ชื่ออักษรโรมันWat Tuek
รหัสทางแยกN125 (ESRI), 050 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงสัมพันธวงศ์ และ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนเยาวราช
» แยกเมอร์รี่คิงส์ (แยกวังบูรพา)
ถนนจักรวรรดิ
» แยกเอส. เอ. บี.
ถนนเยาวราช
» แยกราชวงศ์
ถนนจักรวรรดิ
» สะพานพระปกเกล้า

ชื่อ "วัดตึก" ของทางแยกได้มาจากชื่อของวัดชัยชนะสงคราม หรือที่เคยเรียกกันว่า วัดตึก ซึ่งเดิมเคยเป็นบ้านของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งตัวอาคารเดิมนั้นส่วนใหญ่เป็นตึก เมื่อถวายที่ให้สร้างเป็นวัด ผู้คนจึงนิยมเรียกขานกันว่า วัดตึก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทางแยก[1]

ถนนจักรวรรดิจากแยกวัดตึก เป็นการจราจรแบบทางเดียวไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้าที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งธนบุรี และเป็นจุดตัดระหว่างพื้นที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กับพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร อีกด้วย

ปัจจุบัน บริเวณแยกวัดตึกเป็นที่ตั้งของร้านขายยาสมุนไพรทั้งแผนจีนและแผนไทย ที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนานมากกว่า 100 ปี [2] [3] และบริเวณเวิ้งนาครเขษมด้านถนนเยาวราช ที่มุ่งหน้าไปยังสะพานภาณุพันธ์ ยังปรากฏป้ายรถรางป้ายสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร และของประเทศไทยหลงเหลืออยู่ด้วย[4]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "วัดชัยชนะสงคราม(วัดตึก)". วัดชัยชนะสงคราม.
  2. "ร้าน"เวชพงศ์โอสถ" (ฮกอันตึ้ง) ร้านขายยาจีน,สมุนไพรจีน-ไทย ตำนานกว่า100ปี ย่านเยาวราช". ไชน่าทาวน์เยาวราช. 2018-02-07. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  3. "115 ปี 'เจ้ากรมเป๋อ' ตำนานยาไทยตลอดกาล". ผู้จัดการออนไลน์. 2011-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  4. หนุ่มลูกทุ่ง (2009-08-04). "ย้อนอดีต"รถราง"พาหนะสุดคลาสสิก". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.[ลิงก์เสีย]

13°44′38.99″N 100°30′16.05″E / 13.7441639°N 100.5044583°E / 13.7441639; 100.5044583