แยกเฉลิมเผ่า (อักษรโรมัน: Chaloem Phao Junction) เป็นทางแยกหนึ่ง ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสามแยกที่เป็นทางตัดกันระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับถนนอังรีดูนังต์

สามแยก เฉลิมเผ่า
แยกเฉลิมเผ่าจากมุมมองบนสะพานลอยฝั่งถนนพระรามที่ 1 บริเวณสำนักงานตำรวจแห่งชาติและวัดปทุมวนาราม
ชื่ออักษรไทยเฉลิมเผ่า
ชื่ออักษรโรมันChaloem Phao
รหัสทางแยกN031 (ESRI), 041 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนพระรามที่ 1
» แยกราชประสงค์
ถนนอังรีดูนังต์
» แยกอังรีดูนังต์
ถนนพระรามที่ 1
» แยกปทุมวัน

โดยชื่อ "เฉลิมเผ่า" มาจากชื่อของสะพานเฉลิมเผ่า 52 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 17 สะพานชุดเฉลิม ที่สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบในแต่ละปี โดยสะพานเฉลิมเผ่านั้นสร้างขึ้นเพื่อข้ามคลองอรชร อันเป็นคลองที่อยู่ระหว่างคลองบางกะปิจนถึงคลองหัวลำโพง เป็นสะพานที่สร้างขึ้นใหม่แทนสะพานไม้ที่เก่าและชำรุดไป เปิดใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2448 แต่เมื่อมีการสร้างถนนอังรีดูนังต์ก็ได้มีถมคลองเพื่อสร้างถนน ซึ่งที่ตั้งของสะพานเฉลิมเผ่าบริเวณอยู่ระหว่างด้านข้างสยามพารากอนกับวัดปทุมวนาราม ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 ได้มีการบูรณะขึ้นอีกครั้ง แต่ปัจจุบันเหลือเพียงซากป้ายชื่อสะพานเท่านั้นจากการรื้อถอนตัวสะพานออกเพื่อสร้างถนนพระรามที่ 1[1] [2]

การจัดการจราจรบริเวณทางแยก

แก้
  • ทิศทางจากแยกราชประสงค์มุ่งหน้าเข้าสู่ทางแยกสามารถเลี้ยวซ้ายไปยังแยกอังรีดูนังต์ (เฉพาะช่องจราจรทางซ้ายของเกาะกลางถนน) หรือตรงไปยังแยกปทุมวันได้
  • ทิศทางจากแยกอังรีดูนังต์มุ่งหน้าเข้าสู่ทางแยกจะต้องเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าแยกปทุมวันเท่านั้น
  • ทิศทางจากแยกปทุมวันมุ่งหน้าเข้าสู่ทางแยกสามารถตรงไปยังแยกราชประสงค์ หรือเลี้ยวขวาไปยังแยกอังรีดูนังต์ ได้

สถานที่ใกล้เคียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ผู้ว่าฯ กทม.ช่วยที! "สะพานสั่งนอก" วัตถุโบราณล้ำค่าสมัย ร.๕ หายไปหลายสะพาน เป็นเศษเหล็กไปแล้วหรือยัง !!". ผู้จัดการรายวัน. 2017-09-06.
  2. โชติช่วง, บูรพา (2014-06-22). "สะพานชุดเฉลิมในรัชกาลที่ 5". สยามรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-16. สืบค้นเมื่อ 2018-03-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′43″N 100°32′09″E / 13.745283°N 100.535883°E / 13.745283; 100.535883