วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร
(เปลี่ยนทางจาก วัดปทุมวนาราม)

วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร[1] ตั้งอยู่ที่ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีจุดเด่นคือเป็นวัดกลางเมือง ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์การค้า 2 แห่ง คือสยามพารากอนและเซ็นทรัลเวิลด์ และเป็นจุดแบ่งระหว่างย่านการค้าใจกลางเมือง 2 แห่ง คือย่านสยาม และย่านราชประสงค์ วัดสถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2400 และฉลองพระอารามในปี พ.ศ. 2410

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
พระอุโบสถพระเจดีย์เเละพระวิหาร วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสระปทุม
ที่ตั้ง969 ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระประธานพระไส (พระสายน์)
พระพุทธรูปสำคัญพระเสริม พระแสน
เจ้าอาวาสพระพรหมวชิรเวที (อมร ญาโณทโย)
เวลาทำการ07.00 -18.00 น.
จุดสนใจพระวิหาร พระอุโบสถ พระเจดีย์วัดปทุมวนาราม เรือนพระศรีมหาโพธิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจดีย์ประดิษฐานพระสรีรางคาร และ ศาลาพระราชศรัทธา
กิจกรรมปฏิบัติธรรม บริเวณ สวนป่าพระราชศรัทธา
การถ่ายภาพอนุญาตให้ถ่ายภาพได้
เว็บไซต์วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร มีชื่อเสียงจากป่ากลางเมือง หรือที่เรียกว่า "สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา" ที่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น จนแทบไม่เห็นอาคารสูงโดยรอบ เสมือนอยู่ในป่า จึงเป็นสถานที่สำหรับการเจริญธรรมวิปัสสนา นั่งสมาธิ และฟังธรรม[2] วัดแห่งนี้ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2556 อีกด้วย[3]

พระวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระเสริม และ พระแสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่แบบศิลปะล้านช้างเวียงจันทน์ ส่วนพระอุโบสถประดิษฐาน พระไส หรือ พระสายน์ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว พระพุทธรูปทั้งสองต่างล้วนนำมาประดิษฐานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[4]

ประวัติ

แก้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 เพื่ออุทิศถวายสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี โดยโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กอง และพระยาสามภพพ่าย (หนู หงสกุล) เป็นนายงานควบคุมการก่อสร้าง และได้นิมนต์พระสง์คณะลาวจากวัดบวรนิเวศวิหารมาเป็นเจ้าอาวาส แล้วพระราชทานสมณศักดิ์เจ้าอธิการ (ก่ำ) เป็นพระครูปทุมธรรมธาดา[5]

การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2404 แต่ไม่สามารถจัดงานสมโภชได้เพราะพระนางเธอพระองค์นั้นเสด็จสวรรคต การสมโภชจึงเลื่อนไปเป็นวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2410 เป็นระยะเวลา 5 คืน[5]

ระหว่างการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 วัดปทุมวนารามถูกใช้เป็น "เขตอภัยทาน" เพื่อรับผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ามาหลบภัย ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม 6 ราย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ศาลอาญากรุงเทพใต้ระบุว่าตามประจักษ์พยานและผลชันสูตรการเสียชีวิต ทั้ง 6 รายถึงแก่ความตายเพราะถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงจากทหารซึ่งประจำการอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณระหว่างถนนพระราม 1 และหน้าวัดปทุมฯ[6][7]

ความสำคัญ

แก้

วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ยังเป็นตั้งของพระเจดีย์ ที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ พระราชสรีรางคาร และพระอัฐิของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ในราชสกุลมหิดลหลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[8]

ลำดับเจ้าอาวาส

แก้
ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระครูปทุมธรรมธาดา (ก่ำ) พ.ศ. 2400 ?
2 พระครูปทุมธรรมธาดา (สิงห์ อคฺคธมฺโม) พ.ศ. 2437 ?
3 พระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) พ.ศ. 2444 ?
4 พระวิสุทธิสารเถร (ผิว) ? ?
5 พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ? ?
6 พระธรรมปาโมกข์ (บุญมั่น มนฺตาสโย) พ.ศ. 2488 ?
7 พระราชวรคุณ (สายหยุด ปญฺญาสาโร) พ.ศ. 2522 ?
8 พระพรหมวชิรเวที (อมร ญาโณทโย) พ.ศ. 2536 ปัจจุบัน

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๙๑
  2. ป่ากลางเมือง แหล่งสงบกลางกรุง วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เก็บถาวร 2017-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซด์:www.aswinbkk.com .สืบค้นเมื่อ 22/05/2561
  3. วัดปทุมวนาราม, ASA Consevation Award .วันที่ 8 ก.ย. 2559
  4. หลวงพ่อสายน์ "พระสามเมือง..เวียงจันทน์-หนองคาย-กรุงเทพฯ", เว็บไซด์:http://www.madchima.org/ .สืบค้นเมื่อ 22/05/2561
  5. 5.0 5.1 โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปทุมวนาราม. ปทุมวนานุสรณ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2555. 155 หน้า. ISBN 978-974-8259-58-1, หน้า 18-21
  6. "ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ ช.5/2555". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-14. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.
  7. ไขปมคำสั่ง ศาล ชี้ 6ศพ'วัดปทุมฯ' ถูก'กระสุนปืน จนท.-ไม่มีชายชุดดำ'
  8. "พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-25. สืบค้นเมื่อ 2008-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′47″N 100°32′12″E / 13.74629°N 100.536742°E / 13.74629; 100.536742