การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563
วันที่ 16 ตุลาคม 2563 ตำรวจสลายการชุมนุมของกลุ่มราษฎรในการประท้วงขับไล่รัฐบาลอย่างสงบด้วยกำลัง ได้แก่ ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารเคมี และแก๊สน้ำตา ที่แยกปทุมวันไปจนถึงแยกราชเทวี ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.50–23.15 น. เบื้องต้นมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 6 คน และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 100 คน
การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563 | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 | |
การใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงที่แยกปทุมวัน | |
สถานที่ | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
วันที่ | 16 ตุลาคม 2563 |
ประเภท | การสลายการชุมนุม |
เจ็บ | อย่างน้อย 6 คน |
ผู้ก่อเหตุ | ตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยควบคุมฝูงชน ตำรวจนครบาล |
ตำรวจยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามหลักสากลเรื่องการควบคุมฝูงชน แต่องค์การและปัจเจกหลายแห่งและคนทั้งในและต่างประเทศประณามการสลายการชุมนุมดังกล่าว ส่วนทางด้านนายกรัฐมนตรีนำคลิปวิดีโอที่ผู้ชุมนุมใช้คีมตัดเหล็กฟาดใส่ตำรวจในชุดเกราะมาโจมตีขบวนการนักศึกษา
ลำดับเหตุการณ์
แก้ผู้ชุมนุมเริ่มชุมนุมที่แยกปทุมวันตั้งแต่เวลาประมาณ 17.40 น. ซึ่งเปลี่ยนจากแยกราชประสงค์ตามที่ได้กำหนดล่วงหน้าเนื่องจากมีการวางกำลังตำรวจอย่างแน่นหนา นอกจากนี้ กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) ยังมีคำสั่งปิดระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่โดยรอบ[1]
ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.50 น.[2] เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูงและใช้น้ำผสมสารเคมีสีน้ำเงิน[3] และแก๊สน้ำตา[4] ตำรวจยังมีการใช้อุปกรณ์ส่งเคลื่อนรบกวนระยะไกล[1]
เวลา 19.20 น. พบเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนคนหนึ่งล้มลงกับพื้นหลังเริ่มฉีดน้ำ และมีรถพยาบาลเข้ามารับตัว[1] ผู้ชุมนุมเข้าไปหลบอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนทางมหาวิทยาลัยปิดประตูใหญ่ให้เข้าเฉพาะนิสิตที่แสดงบัตรนักศึกษา ให้เข้าเฉพาะทางประตูเล็ก ผู้ชุมนุมบริเวณถนนพญาไทประกาศยุติการชุมนุมในเวลาประมาณ 20.55 น. โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจักษ์ ก้องกีรติ[5]และอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางคนช่วยจัดระเบียบให้เดินทางกลับ[1] ฝ่ายตำรวจตามสลายการชุมนุมด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูงตั้งแต่แยกปทุมวันไปทางถนนพระราม 1 จนถึงเวลาประมาณ 21.10 น.[1][2] ในช่วงเวลานั้น ยังคงเหลือผู้ชุมนุมบริเวณถนนพญาไท ฝั่งราชเทวี และหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร[6] พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลพยายามเจรจากับตำรวจขอให้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากที่ชุมนุม แต่ไร้ผล[7]
เวลาประมาณ 21.10 น. ตำรวจฉีดน้ำสลายการชุมนุมกลับมารวมตัวกันที่ฝั่งเอ็มบีเคเซ็นเตอร์[6] ตำรวจติดตามผู้ชุมนุมไปจนถึงสะพานเฉลิมหล้า 56 และแยกราชเทวี และมีการฉีดน้ำขับไล่จนยึดคืนและเปิดการจราจรได้เมื่อเวลาประมาณ 23.15 น.[6]
ผู้บาดเจ็บและผู้ถูกจับกุม
แก้ศูนย์การแพทย์เอราวัณเปิดเผยในคืนนั้นว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน เป็นเจ้าหน้าที่ 4 นายและประชาชน 2 คน[6]
ด้าน พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเปิดเผยว่ามีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 100 คน รวมทั้งทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี แกนนำกลุ่มเยาวชนปลดแอก, ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน ผู้ร่วมก่อตั้ง Spaceth.co[6] (ซึ่งได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 17 ตุลาคม) วันเดียวกัน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนโพสต์ว่าศาลแขวงปทุมวันยกคำร้องขอฝากขังผู้ถูกจับกุมจำนวน 8 คน[8] สื่อมวลชนจากหนังสือพิมพ์ ประชาไท ถูกยึดโทรศัพท์มือถือระหว่างรายงานสด[6] และถูกจับกุมตัวไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 ก่อนได้รับการปล่อยตัวในเช้ามืดวันที่ 17 ตุลาคม[9]
บทวิเคราะห์
แก้สารเคมี
แก้สีของน้ำนั้นคาดการณ์ว่าเป็นเมทิลลีนบลู, แอเซอร์เอ, หรือไทโอนีน และใช้ติดตามตัวบุคคลเป็นเวลาหลายวัน[10] ด้านตำรวจไม่สามารถยืนยันประเภทของสารเคมีได้แน่ชัด ทำให้ถูกวิจารณ์ว่าดูไม่ได้ศึกษาสารเคมีที่จัดซื้อมา[11] มีผู้โพสต์ในสื่อสังคมว่า ตนได้รับบาดเจ็บถึงขั้นอวัยวะภายในช้ำ[12]
ตำรวจแถลงว่า สารเคมีนั้นไม่เป็นอันตราย และว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานนานาชาติสำหรับการควบคุมฝูงชน[13][14] อย่างไรก็ดี แนวทางของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่าควรใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงเฉพาะกับผู้ประท้วงรุนแรงเท่านั้น และห้ามฉีดใส่บุคคลโดยตรง[15]
คีมตัดเหล็ก
แก้วรงค์ เดชกิจวิกรม และอัษฎางค์ ยมนาค หยิบยกคลิปโดยสำนักข่าวเอเอฟพีที่มีผู้ประท้วงใช้คีมตัดเหล็กฟาดใส่ตำรวจในชุดเกราะมาตั้งคำถามว่าผู้ชุมนุมมือเปล่าจริงหรือไม่[16][17] ในแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ในวันที่ 21 ตุลาคม ประยุทธ์ระบุว่าผู้ประท้วงใช้คีมตัดเหล็กทำร้ายตำรวจ และว่ามี "พฤติกรรมรุนแรงอีกหลายอย่างต่อเจ้าหน้าที่"[18]
ปฏิกิริยา
แก้ฝ่ายผู้ประท้วงตอบโต้โดยมีการจัดแฟลชม็อบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และมหาวิทยาลัยขอนแก่นในคืนเดียวกัน[19][20][21] หลังจากนั้นผู้ประท้วงชุมนุมติด ๆ กันหลายวัน โดยรัฐบาลสั่งปิดระบบรถไฟฟ้าซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบหลายแสนคน[22] แต่ไม่มีการสลายการชุมนุมอีก
พรรคร่วมฝ่ายค้านประณามการสลายการชุมนุมโดยสงบ เป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ และให้เปิดสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาโดยเร็ว[23]
ดาราหลายคนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการสลายการชุมนุม เช่น สมิทธิ์ อารยะสกุล, ปาณิสรา อารยะสกุล, แพรวา สุธรรมพงษ์ สมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต, เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ, คชาภา ตันเจริญ, พิมพ์ผกา เสียงสมบุญ, เจษฎาภรณ์ ผลดี โดยเฉพาะโฟกัส จีระกุล ที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าขอเลือกข้างประชาธิปไตย[24] หนังสือพิมพ์ ข่าวสด และ บางกอกโพสต์ เขียนบทบรรณาธิการเรียกร้องให้ประยุทธ์ลาออกเพื่อลดความขัดแย้ง[25][26]
สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและองค์การนิรโทษกรรมสากลรับรองสภาพสงบของการชุมนุม และประณามการสลายการชุมนุม[27][28] ผู้อำนวยการฮิวแมนไรต์วอชเอเชียกล่าวว่า การทำให้การชุมนุมโดยสงบเป็นความผิดเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองระบอบเผด็จการ ทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติและรัฐบาลนานาประเทศประณามด้วย และให้ปล่อยตัวนักโทษ[3] นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง โจชัว หว่อง โพสต์ทวิตเตอร์แสดงความเป็นอันหนึ่งเดียวกับผู้ประท้วง และขอให้ทั่วโลกสนใจการประท้วงในประเทศไทย[29] กลุ่มประชาสังคมในเกาหลีใต้เรียกร้องให้รัฐบาลเลิกส่งออกรถติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูงแก่ทางการไทย[30]
วันที่ 22 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร[31][32] และคณะรัฐมนตรีออกพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสมัยวิสามัญในวันที่ 21 ตุลาคม
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "#16ตุลาไปแยกปทุมวัน ตำรวจสลายการชุมนุม ฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ 2.0 2.1 "ตำรวจสลายการชุมนุม ม็อบแยกปทุมวัน". ประชาชาติธุรกิจ. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ 3.0 3.1 "Water cannon used on protesters". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "Thai police resort to teargas, arrest warrants against protesters". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ ลั่นตัดสินใจถูก เปิดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ พื้นที่ปลอดภัย รับม็อบถูกสลายชุมนุม
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "เกาะติดเหตุสลายการชุมนุม "คณะราษฎร" ที่แยกปทุมวัน - บีบีซีไทย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ "พรรคก้าวไกล เจรจา ผบช.น. เข้าพื้นที่ชุมนุม พาคนเจ็บออกจากม็อบ". ประชาชาติธุรกิจ. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "ปล่อยตัว "เติ้ล ณัฐนนท์" หนุ่มวางโบขาว หลังถูกจับระหว่างสลายการชุมนุม". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ "ใช้กำลังสลายการชุมนุมต่อเนื่อง 5 ชั่วโมง จับกุมนักข่าว-ประชาชนกว่าร้อยคน". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ "ไขข้อสงสัย สลายม็อบ 'แยกปทุมวัน' ทำไมต้อง 'น้ำสีฟ้า' !?". ฺBangkokbiznews. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ "Police insist water cannons did not fire harmful chemicals". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ "ผู้ชุมนุมถูกฉีดน้ำแยกปทุมวัน เผยมีอวัยวะภายในช้ำ-มีสารพิษตกค้างในร่างกาย". ฝ่ายข่าว ช่อง 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ Neumann, Scott (16 October 2020). "Police In Bangkok Use Water Cannon To Break Up Anti-Government Protests". NPR.com. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
- ↑ Yuda, Masayuki (18 October 2020). "Thailand's crackdown on protests turns violent: Five things to know". Nikkei Asian Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-18.
- ↑ Human Rights Watch (17 October 2020). "Thailand: Water Cannon Used Against Peaceful Activists". Human Rights Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31.
- ↑ "'หมอวรงค์'งัดภาพม็อบทำร้ายจนท.ด้วยคีมตัดเหล็กขนาดใหญ่ แฉขบวนการบิดเบือน". สยามรัฐ. 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "อัษฎางค์ เปิดประเด็น ม็อบมือเปล่าจริงหรือ ด่าสถาบันฯ กลางราชประสงค์...เรียกชุมนุมสงบจริงหรือ". ทีนิวส์. 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "คำแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี "ถอยคนละก้าว เข้าสภา ใช้สติและปัญญา แก้ปัญหาร่วมกัน"". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ "นักศึกษาธรรมศาสตร์ จัดแฟลชม็อบ ประณามสลายการชุมนุม". ประชาชาติธุรกิจ. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "นศ.ลุกฮือประณามรัฐ ต่อต้านใช้ความรุนแรง". Bangkokbiznews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "นักศึกษา ม.ขอนแก่น รับไม่ได้ ลุกฮือจัดชุมนุม ประณามการกระทำจนท". ข่าวสด. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "Protesters pick 3 sites as mass transit shut down". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "พรรคร่วมฝ่ายค้านประณามสลายชุมนุมแยกปทุมวันชี้ทำเกินเหตุ". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ "คนบันเทิงประณามการใช้ความรุนแรง สลายการชุมนุมแยกปทุมวัน - ข่าวช่อง3 CH3 Thailand NEWS". ฝ่ายข่าว ช่อง 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ English, Khaosod (2020-10-16). "7 Arrested for Fresh Protest, Cops Threaten to Charge Everyone". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-19. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
- ↑ "Listen to the young". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Thailand: Bangkok shuts public transport as protests persist | DW | 17.10.2020". Deutshe Welle. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "Thailand: Police disperse pro-democracy protesters outside PM's office". Euro News (ภาษาอังกฤษ). 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
- ↑ "โจชัว หว่อง ฝากถึงชาวโลก ให้ช่วยยืนเคียงข้างชาวไทยหัวใจประชาธิปไตย". Khaosod. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "เกาหลีใต้ จี้ รบ.เลิกส่งออกรถฉีดน้ำสลายม็อบ". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
- ↑ "State of emergency ends in Bangkok". Bangkok Post. 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ Regan, Helen (22 October 2020). "Thailand's Prime Minister lifts state of emergency. Protesters give him three days to resign". CNN.com. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.