โจชัว หว่อง
หฺวัง จือเฟิง (จีน: 黃之鋒; พินอิน: Huáng Zhīfēng; เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2539)[1] หรือสำเนียงกวางตุ้งว่า หว่อง จี๊ฟ้ง (เยฺว่พิน: Wong4 Ji1 Fung1) หรือ โจชัว หว่อง (อักษรโรมัน: Joshua Wong) เป็นนักเรียนผู้ปฏิบัติการเชิงรุก (student activist) และนักการเมืองชาวฮ่องกง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเดโมซิสโต (Demosistō) ซึ่งหนุนประชาธิปไตย และเดิมเป็นผู้นำการประชุม (convenor) และผู้ก่อตั้งกลุ่มสกอลาริซึม (Scholarism) ของนักเรียนผู้ปฏิบัติการเชิงรุก[1][2] เขาเริ่มเป็นที่รู้จักของนานาชาติในช่วงการประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557 และการที่เขามีบทบาทสำคัญในขบวนการร่ม (Umbrella Movement) ทำให้นิตยสาร ไทม์ (Time) นับเขาเป็นหนึ่งในวัยรุ่นที่ทรงอิทธิพลที่สุด (Most Influential Teens) แห่ง พ.ศ. 2557 ทั้งเสนอชื่อเขาเป็นบุคคลแห่งปีของไทม์ (Time Person of the Year) ประจำ พ.ศ. 2557 ด้วย[3] นอกจากนี้ ใน พ.ศ. 2558 นิตยสาร ฟอร์จูน (Fortune) เรียกขานเขาว่า เป็นหนึ่งใน "ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก" (world's greatest leaders)[4][5] และเขายังได้รับเสนอชื่อให้ได้รางวัลโนเบลสันติภาพใน พ.ศ. 2560
หฺวัง จือเฟิง (มาตรฐาน) หว่อง จี๊ฟ้ง (กวางตุ้ง) 黃之鋒 | |
---|---|
![]() | |
หว่องที่หน่วยงานขอาคารรัฐสภาสหรัฐ 18 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
เลขาธิการเดโมซิสโต | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 เมษายน พ.ศ. 2559 | |
รอง | โจว ถิง (Agnes Chow) Kwok Hei-yiu Chan Kok-hin |
ผู้นำ | หลัว กวั้นชง (Nathan Law) หลิน หล่างย่าน (Ivan Lam) |
ก่อนหน้า | เพิ่งก่อตั้งตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | หฺวัง จือเฟิง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (24 ปี) ฮ่องกงของบริเตน |
พลเมือง | ฮ่องกง |
สัญชาติ | ฮ่องกง |
พรรคการเมือง | เดโมซิสโต |
ที่อยู่ | ฮ่องกง |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยรวมคริสเตียน (เกาลูนตะวันออก) |
อาชีพ | นักปฏิบัติการเชิงรุกทางการเมือง, นักการเมือง |
เว็บไซต์ | wongchifung |
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 เขาและเพื่อนนักกิจกรรมเชิงรุกสายประชาธิปไตยถูกจำคุกเพราะมีส่วนร่วมในการยึดจัตุรัสพลเมือง (Civic Square) ในการประท้วงเมื่อ พ.ศ. 2557 ครั้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 เขาถูกจำคุกในอีกคดีหนึ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้คืนพื้นที่วั่งเจี่ยว (Mong Kok) ในการประท้วงเดียวกัน
การถูกกักตัวในประเทศไทยแก้ไข
เขาเดินทางถึงประเทศไทยในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เพื่อเข้าร่วมปาฐกถาหัวข้อ "การเมืองของคนรุ่นใหม่" ในวาระครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองกักตัวไว้ 12 ชั่วโมง แล้วถูกส่งกลับฮ่องกง[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Lai, Alexis (30 July 2012). "'National education' raises furor in Hong Kong". Hong Kong: CNN. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
- ↑ Hsieh, Steven (8 October 2012). "Hong Kong Students Fight for the Integrity of their Education". The Nation. Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
- ↑ "Hong Kong Student Leader Joshua Wong Charged With Obstruction". Time. 27 November 2014. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
- ↑ Yik Fei, Lam . World's Greatest Leaders: 10: Joshua Wong. Fortune.
- ↑ AFP. H.K.'s Joshua Wong among 'world's greatest leaders': Fortune. 27 March 2015. Daily Mail.
- ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (2559-10-05). "โจชัว หว่อง กลับถึงฮ่องกง เผยถูก ตม.ไทยตัดขาดจากโลกภายนอก 12 ชม". ไทยรัฐ. กรุงเทพฯ: วัชรพล. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19. Check date values in:
|date=
(help)