การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557 หรือเรียก การปฏิวัติร่ม เริ่มเมื่อเดือนกันยายน 2557 เมื่อผู้สนับสนุนต่อต้านรัฐบาลในฮ่องกงประท้วงนอกสำนักงานใหญ่ของรัฐและยึดแยกสำคัญของนครหลายแยกหลังคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติประกาศคำวินิจฉัยต่อการปฏิรูปการเลือกตั้งเสนอ[12] คณะกรรมาธิการฯ ไม่อนุญาตการเสนอชื่อให้พลเมืองเลือก แต่ประกาศชัดว่า คณะกรรมการเลือกผู้สมัครจำนวน 1,200 คน ซึ่งยังมาจากการเสนอชื่อโดยกลุ่มแยกธุรกิจและถูกรัฐบาลจีนควบคุมอย่างเข้มงวด จะเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสองถึงสามคนโดยมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งก่อนให้สาธารณะออกเสียงลงคะแนนเลือกคนเหล่านั้น[13] ซึ่งถูกมองว่าคัดกรองผู้สมัครนิยมประชาธิปไตยออกอย่างชะงัด

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557; การปฏิวัติร่ม
ภาพผู้ชุมนุมบริเวณที่ทำการของรัฐบาลฮ่องกง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557
วันที่26 กันยายน – 15 ธันวาคม ค.ศ. 2014
สถานที่ฮ่องกง:
สาเหตุการตัดสินใจของStanding Committee of the National People's Congress ให้มีการปฏิรูปการเลือกตั้ง
เป้าหมาย
วิธีการOccupations, sit-ins, การดื้อแพ่ง, การเดินขบวน, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, hunger strikes, แฮกเกอร์
ผล
การยอมผ่อนปรนThe Hong Kong SAR government promises to submit a "New Occupy report" to the Chinese Central government,[6] but the content of the completed report has aroused public resentment again
คู่ขัดแย้ง

นักปฏิวัติร่ม

ผู้ประท้วงฝ่ายประชาธิปไตยนิยม
กลุ่มแฮกเกอร์
ผู้นำ
บาดเจ็บและถูกจับ
บาดเจ็บ470+ (ในวันที่ 29 พ.ย.)[10]
ถูกจับกุม955[11]
75 คนยอมถูกจับ
Sites of significant protests
การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557
การปฏิวัติร่ม
อักษรจีนตัวเต็ม雨傘革命
Umbrella Movement
อักษรจีนตัวเต็ม雨傘運動
Occupy Movement
อักษรจีนตัวเต็ม佔領行動

สหพันธ์นักศึกษาฮ่องกงและกลุ่มสะคอลาริซึม (Scholarism) เริ่มประท้วงนอกสำนักงานใหญ่ของรัฐเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 คัดค้านคำวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการฯ[14] เย็นวันที่ 26 กันยายน ผู้ประท้วงหลายร้อยคนฝ่าสิ่งกีดขวางความปลอดภัยแล้วเข้าลานหน้าศูนย์ราชการกลาง (Central Government Complex) อันเป็นพื้นที่สาธารณะที่ห้ามสาธารณะเข้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 เจ้าหน้าที่ล้อมผู้ประท้วงไว้ในลานหน้าอาคารนั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวข้ามคืน จนไล่ออกไปด้วยกำลังในวันรุ่งขึ้น ซึ่งรวมผู้นำนักศึกษา โจชัว หว่อง ซึ่งสุดท้ายถูกควบคุมตัวไว้นานกว่า 40 ชั่วโมง[15][16] ยึดเซ็นทรัลประกาศว่า พวกเขาจะเริ่มการรณรงค์ดื้อแพ่งทันที[17]

วันที่ 28 กันยายน ผู้ประท้วงสกัดกั้นทั้งเส้นทางสำคัญทั้งตะวันออก-ตะวันตกในตอนเหนือของเกาะฮ่องกงใกล้แอดมะรัลที (Admiralty) มีการใช้แก๊สน้ำตาต่อผู้ประท้วงที่ดูไม่มีอาวุธและสันติ ซึ่งเป็นชนวนให้มีพลเมืองเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้นและยึดอ่าวเคิสเวย์ เซ็นทรัลและมงก๊ก กลุ่มสมาชิกไทรแอด (triad) จัดระเบียบโจมตีผู้ประท้วงอย่างสันติในวันที่ 3 ตุลาคม หลังรัฐบาลยุติปฏิบัติการกวาดล้าง ขณะนี้สหพันธ์นักศึกษาฮ่องกงและรัฐบาล กำลังมุ่งเจรจาเกี่ยวกับการปฏิรูปการเลือกตั้ง

่วันที่ 15 ธันวาคม ตำรวจฮ่องกงได้สลายการชุมนุมในเขตคอสเวย์เบย์[18][19]

อ้างอิง

แก้
  1. Tai, Benny (4 December 2014). "What Next for Hong Kong?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  2. "Hong Kong protesters reach new heights with democracy banner on Lion Rock". Deutsche Welle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015.
  3. Sevastopulo, Demetri (27 September 2014). "Hong Kong group launches civil disobedience campaign". Financial Times. CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  4. "Beijing fears compromise with Hong Kong protesters: US scholar". Want China Times. 7 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015.
  5. "Young Hong Kongers seek new path in democracy battle". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2015.
  6. Lau, Kenneth; Cheng, Kevin (22 October 2014). "New Occupy report to Beijing promised". The Standard. Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  7. "Hong Kong cyber attacks spiked during Occupy Central, academic's study finds". 2015-02-26.
  8. Hong, Brendon (2014-06-18). "Hackers Attack Hong Kong Pro-Democracy Websites". The Daily Beast.
  9. Iyengar, Rishi (4 October 2014). "Hong Kong Government Accused of Using Triads to Attack Student Protesters". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015.
  10. "高永文:因佔領而求診逾470宗急症室有壓力". Apple Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
  11. "955 arrested for Occupy offences". Government of Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
  12. "全国人民代表大会常务委员会关于香港特别行政区行政长官普选问题和2016年立法会产生办法的决定". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-03. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  13. Cheung, Tony (31 August 2014). "Hong Kong's candidate nominating system out of balance, says Beijing scholar". South China Morning Post.
  14. "Thousands of Hong Kong students start week-long boycott". BBC News. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
  15. "Scholarism's Joshua Wong released at High Court judge's instruction". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
  16. "Hong Kong democracy protesters enter government complex". BBC News. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  17. "Hong Kong police clear pro-democracy protesters". BBC News. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  18. "Police clear final Hong Kong protest site at Causeway Bay". BBC News.
  19. Mia Lamar And Isabella Steger (15 December 2014). "Hong Kong Police Clear Last Protest Site". The Wall Street Journal.