กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: Protection and Crowds Control Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญตามแต่ละโอกาส มีหน่วยงานอยู่ในสังกัด 3 กองกำกับการ กองบังคับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ผู้บังคับการกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจตรี ธนันท์ธร รัตนสิทธิภาคย์

กองบังคับการอารักขา
และควบคุมฝูงชน
ตรากองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
อักษรย่อบก.อคฝ.
คำขวัญเกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง7 กันยายน, พ.ศ. 2552 (14 ปี 225 วัน)
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
แผนที่เขตอำนาจของ กองบังคับการอารักขา
และควบคุมฝูงชน
เขตอำนาจเฉพาะด้าน
สำนักงานใหญ่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พลตำรวจตรี ชัยกฤต โพธิ์อ๊ะ, ผู้บังคับการ
หน่วยงานปกครอง กองบัญชาการตำรวจนครบาล
บทบาทการควบคุมฝูงชน
การปราบจลาจล
การอารักขา
 • พระมหากษัตริย์ และพระราชินี
 • พระบรมวงศานุวงศ์
 • บุคคลสำคัญ
การรักษาความมั่นคง
เขตอำนาจปกครอง • 4 กองกำกับการ
เว็บไซต์
pccd.metro.police.go.th

ประวัติ แก้

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน เป็นกองบังคับการในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีภารกิจควบคุมฝูงชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญ[1]

ปฏิบัติการ แก้

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ในส่วนของกองกำกับควบคุมฝูงชน 1 และ 2 ได้ปฏิบัติภารกิจในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งการใช้กำลังของหน่วยเอง และสนับสนุนกองร้อยควบคุมฝูงชนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ร้องขอกำลังจากตำรวจภูธร[2] และตำรวจตระเวนชายแดน[3] ในด้านการบังคับบัญชา และการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 แก้

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 มีการจัดกำลังเพื่อควบคุมฝูงชนทั่วกรุงเทพมหานคร ในการชุมนุมที่แยกผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีการใช้อาวุธปืน และลูกระเบิดเอ็ม 79 ส่งผลให้ตำรวจที่เข้ามาเพื่อควบคุมพื้นที่ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงในครั้งนั้น[4][5]

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 แก้

 
ตำรวจควบคุมฝูงชน สังกัดกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ขณะเข้าควบคุมการชุมนุมกลุ่มผู้ประท้วงชาวพม่า ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยจากคณะรัฐประหารและเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจี

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 มีการตรึงกำลังเป็นรายวันทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ได้เกิดการสลายการชุมนุมขึ้น ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 6 คน และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 100 คน จากการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารแก๊สน้ำตา[6]

ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2564 มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการยกระดับการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน ซึ่งมีตำรวจสังกัดกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนเป็นกำลังหลักในการใช้อาวุธ คือกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการปฏิบัติหน้าที่[7]

ในการชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ส.ต.ต.เดชวิทย์ เล็ทเทนสัน ผบ.หมู่ กองกำกับการอารักขา 1 กองบังคับการหน่วยอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) ถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบขนาด ทะลุหมวกกันน็อคได้รับบาดเจ็บสาหัส[8]ภายในซอยดินแดง 1 ขณะปฏิบัติงานบริเวณแยกดินแดงโดยกล่าวหาว่ากระสุนมาจากฝั่งผู้ชุมนุม ในขณะที่ผู้ชุมนุมถูกจับกุมทั้งสิ้น 73 คน เป็นเยาวชน 21 คน และผู้ใหญ่ 52 คน[8] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าจะออกหมายจับผู้ก่อเหตุการยิงเจ้าหน้าที่ดังกล่าว[9]

ในขณะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลออกประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างซ่อมแซมรถฉีดน้ำแรงดันสูง จำนวน 5 คัน ซึ่งถูกทำลายได้รับความเสียหายจากการชุมนุมในระหว่างปี 2563 - 2564 ความเสียหายมูลค่าสูงกว่า 30 ล้านบาท[10]

ภารกิจ แก้

  • ถวายอารักขา สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ
  • รักษาความปลอดภัยผู้แทนพระองค์ บุคคลสำคัญ
  • รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชนต่าง ๆ
  • สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด[11] แก้

  •  
    ตำรวจควบคุมฝูงชนหญิง กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนในปี พ.ศ. 2565
    กองกำกับการอำนวยการและสนับสนุน
  • กองกำกับการอารักขา 1
  • กองกำกับการอารักขา 2
  • กองกำกับการควบคุมฝูงชน 1
  • กองกำกับการควบคุมฝูงชน 2

ยุทโธปกรณ์ แก้

อาวุธปืน แก้

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ อ้างอิง
เอฟเอ็น 303   ปืนปราบจลาจล   เบลเยียม พบใช้งานครั้งแรกช่วงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2564[12] [13]

รถยนต์ แก้

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ อ้างอิง
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส350ดี   รถยนต์นั่งขนาดใหญ่   เยอรมนี
บีเอ็มดับเบิ้ลยู 5 ซีรีส์ เอฟ10   รถยนต์นั่งขนาดกลาง   เยอรมนี
บีเอ็มดับเบิ้ลยู 5 ซีรีส์ เอฟ10   รถยนต์นั่งขนาดกลาง   เยอรมนี
อีซูซุ เอ็นพีอาร์ 150   รถบรรทุก   ญี่ปุ่น
ฮีโน่   รถบัส   ญี่ปุ่น
แดวู โนวัส เจอาร์ซี-10000   รถฉีดน้ำแรงดันสูง   เกาหลีใต้ [14]
จีโน่ มอเตอส์ ไททัน - รถฉีดน้ำแรงดันสูง   เกาหลีใต้ [14]
ไซโนทรัก   รถฉีดน้ำแรงดันสูง   จีน [14]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เกี่ยวกับกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  2. matichon (2021-02-17). "ตร.เตรียมกำลัง 81 กองร้อย รับมือม็อบ 18-22 ก.พ.64". มติชนออนไลน์.
  3. "ระดมกำลังตำรวจ 95 กองร้อย เข้ากรุง เสริมทัพนครบาลคุมม็อบ 14 ตุลา". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-10.
  4. สรุปยอดปะทะตาย 4 เจ็บ 64 แฉนาทีเอ็ม 79 ตกใส่ตร.
  5. เก็บตกเสียงตำรวจชั้นผู้น้อยบนเตียงโรงพยาบาล เหตุการณ์ ‘ผ่านฟ้า’
  6. ตำรวจยอมรับใช้น้ำผสมก๊าซน้ำตา สลายชุมนุมแยกปทุมวัน
  7. โลกออนไลน์วิจารณ์หนัก ชาวดินแดงเผยคลิป คฝ.รุมกระทืบประชาชน
  8. 8.0 8.1 "ลำดับเหตุการณ์ ตำรวจ คฝ. ถูกยิงศีรษะ ระหว่างควบคุมพื้นที่ดินแดง". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
  9. "จ่อออกหมายจับแก๊งยิงหัวตำรวจ คฝ". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  10. "เปิดราคา บช.น. ส่งซ่อมรถจีโน่ 5 คัน 47 ล้านบาท เสียหายจากการชุมนุม". www.sanook.com/news.
  11. "หน่วยงานในสังกัด". pccd.metro.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  12. "ชาวแฟลตดินแดงร้องผู้ชุมนุมงดเสียงดังหลังเคอร์ฟิวส์ คนแก่-เด็กอ่อนได้ผลกระทบ ยันไม่ใช่ 'สลิ่ม'". prachatai.com.
  13. "ตำรวจบอสตันยกเลิกใช้ แต่ คฝ. ไทยเริ่มใช้กับม็อบ". Twitter.
  14. 14.0 14.1 14.2 รู้จัก รถปราบจลาจลของตำรวจไทย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้