การควบคุมฝูงชน
การควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: crowd control) เป็นแนวปฏิบัติด้านความมั่นคงสาธารณะในการจัดการฝูงชนขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันการเหตุการณ์วุ่นวายสับสนจากการเหยียบกัน, วิวาทกัน, การต่อสู้ที่เกิดมาจากผู้คนที่เมาสุราและไร้ระเบียบหรือการจลาจล โดยเฉพาะการเหยียบกันของฝูงชนซึ่งอาจจะทำให้เกิดผู้เสียชีวิตมากถึงหลายร้อยคน[1] การจัดการฝูงชนอย่างมีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับการจัดการฝูงชนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อยู่ในการคาดการณ์และเหนือจากความคาดคิด การควบคุมฝูงชนอาจจะเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอกชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ การควบคุมฝูงชนมักจะถูกใช้งานในการชุมนุมสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น งานสตรีทแฟร์, เทศกาลดนตรี, สนามกีฬา และการเดินขบวนในที่สาธารณะ ในบางเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและตำรวจจะใช้เครื่องตรวจจับโลหะและสุนัขตรวจจับเพื่อป้องกันการนำอาวุธและยาเสพติดเข้าไปในสถานที่จัดงาน[2][3][4]
ยุทโธปกรณ์
แก้วัสดุต่าง ๆ เช่น เสากั้นทางเดิน (stanchion)[5], แผงกั้นควบคุมฝูงชน (crowd control barrier)[6], รั้ว และรูปลอกกำหนดเขตติดไว้บนพื้น สามารถใช้ในการควบคุมฝูงชนได้ วิธีทั่วไปที่ใช้ในการควบคุมฝูงชนคือการใช้รั้วที่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล เพื่อเปลี่ยนเส้นทางและควบคุมการสัญจรของคนเดินเท้าเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดอันตราย[7] การทำให้ฝูงชนรู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลายก็ถือเป็นอีกสิ่งสำคัญ ทำให้บางครั้งมีการใช้งานผ้าใบบังแดด (awning), พัดลมระบายความร้อน (ในสภาพอากาศร้อน) และความบันเทิงเช่นกันในบางครั้ง ดังนั้น การใช้มาตรการที่เข้มงวดและการใช้กำลังอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อฝูงชนมากยิ่งขึ้น เช่น ในช่วงภัยพิบัติฮิลส์โบโร[8] สำหรับการปราบจลาจลและการเดินขบวน ดูเพิ่มได้ที่การปราบจลาจล
ผลิตภัณฑ์เฉพาะทางที่ใช้ในการจัดการแถวและช่วยนำทางในที่สาธารณะในพื้นที่ที่มีการสัญจรหนาแน่น ได้แก่ เสากั้นทางเดินระบบเทปยืดหดได้ (รวมไปถึงเสากั้นทางเดิน และเทปยืดหดได้) และระบบยึดติดกับผนัง (รวมถึงเทปยืดหดได้แบบติดติดกับพื้นผิว) ระบบเสาและเชือก (post and rope system) ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน โดยเฉพาะในธนาคารและภาพยนตร์[9]
ประวัติ
แก้ความเป็นมาของการควบคุมฝูงชนเริ่มต้นขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ซึ่งขณะนั้นยังไม่เกิดหน่วยควบคุมฝูงชนขึ้นอย่างเป็นทางการ จะมีเพียงเจ้าหน้าที่ 20 นายตั้งแถว ด้านหลังแถวแรกจะมีอีกแถวหนึ่งห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต เจ้าหน้าที่จะติดอาวุธคือกระบองและด้ามขวาน หน้าที่ของพวกเขาคือการควบคุมให้ฝูงชนถอยกลับไปในแนวที่กำหนด ซึ่งท้ายที่สุดไม่สามารถควบคุมฝูงชนได้ และทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายคน[10]
ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้เกิดชุดปราบจลาจลขึ้นเป็นชุดแรกที่มีโล่ปราบจลาจลและกระบอง โดยให้เจ้าหน้าที่ตั้งโล่ปราบจลาจลเรียงกันเป็นแถว เมื่อพวกเขาต้องปะทะกับฝูงชน เจ้าหน้าที่ที่มีกระบองจะช่วยสนับสนุนเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้กำลังถึงชีวิตในการต่อต้านพวกเขา พวกเขาจะต้องดูแลตัวเอง เนื่องจากไม่มีการฝึกหรือขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจนในการตอบโต้ต่อสถานการณ์เหล่านี้[10]
คริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 มีการประดิษฐสร้างและใช้แก๊สน้ำตากันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม จากนวัตกรรมใหม่นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่คุ้นเคยกับการปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่มีทัศนวิศัยที่จำกัด เนื่องจากชุดเกราะที่เจ้าหน้าที่สวมใส่ขณะนั้นทำให้ไม่คล่องตัว ส่งผลให้ชุดเกราะประเภทนี้ไม่ค่อยนิยมใช้งาน[10]
เครื่องควบคุมฝูงชน (crowd controller) เป็นอีกชื่อหนึ่งของเบาน์เซอร์ (bouncer)[11] หรือดอร์แมน (doorman)[12]
ดูเพิ่ม
แก้- แผงกั้นควบคุมฝูงชน – เครื่องกีดขวางที่ใช้กันทั่วไปในงานสาธารณะ
- เคตลิ่ง (ยุทธวิธีควบคุมฝูงชน)
- การเบียดหรือเหยียบกันจนเสียชีวิตในฝูงชน – type of disaster that occurs due to overcrowding
- รั้ว
- การปราบจลาจล – measures used by police, military, or other security forces during a riot
อ้างอิง
แก้- ↑ Benedictus, Leo (October 3, 2015). "Hajj crush: how crowd disasters happen, and how they can be avoided". The Guardian. สืบค้นเมื่อ October 4, 2015.
- ↑ "Three injured, 60 found with drugs at Future Music". The Sydney Morning Herald. 28 February 2015. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
- ↑ Sanders, Bill (2005). "In the Club: Ecstasy Use and Supply in a London Nightclub". Sociology. 39 (2): 241–258. doi:10.1177/0038038505050537. ISSN 0038-0385. S2CID 145212892.
- ↑ "Jenni Ward: Researching Drug Sellers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-02-15.
- ↑ Berka, Justin (2007-06-21). "AT&T's terrible secret of
spacecrowd control". Ars Technica. - ↑ Aschoff, Susan (2005-07-15). "Barricades at BayWalk make protesters wary". St. Petersburg Times.
- ↑ "Portable Pedestrian Barriers: 15 Uses for the Roll-Up-Fence". Omega Industrial Products (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
- ↑ Turner, Richard (2016-04-28). "Five Hillsborough myths rejected by jury". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-08-14.
- ↑ Abughosh, Suha. "Crowd Control Management Solving Queue problems in Banking Industry". LinkedIn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-04. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "The History of Crowd Management". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ Burgess, Matthew (2008-06-02). "Police probe bouncer attack". The Age.
- ↑ Crosse, Mark (1992-04-05). "NIGHTCLUB BOUNCERS OF THE 90S IT'S NO LONGER THE GOON BY THE DOOR". Fresno Bee.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Managing a crowd - บทความภาพประกอบพร้อมเคล็ดลับและเทคนิคการจัดการฝูงชน
- uCrowds: ตัวอย่างแพ็คเกจซอฟต์แวร์จำลองฝูงชน