พจมาน ณ ป้อมเพชร

อดีตภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตร

คุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (เกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499) เป็นอดีตภรรยาของดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 อดีตกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์[1] ผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง บริษัท โรงพยาบาลพระราม 9 จำกัด (มหาชน) โดยถือหุ้นร้อยละ 37.44 %[2] และเป็นมารดาของแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 31[3]

พจมาน ณ ป้อมเพชร
พจมาน ใน พ.ศ. 2562
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(5 ปี 222 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าภักดิพร สุจริตกุล
ถัดไปจิตรวดี จุลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังธรรม (2531–2541)
ไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสทักษิณ ชินวัตร (2523–2551)
บุตรพานทองแท้ ชินวัตร
พินทองทา คุณากรวงศ์
แพทองธาร ชินวัตร
บุพการี
  • พลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์ (บิดา)
  • คุณหญิงพจนีย์ ณ ป้อมเพชร (มารดา)

ประวัติ

แก้

คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มีชื่อเล่นว่าอ้อ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 4 คนของ พลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กับคุณหญิงพจนีย์ ณ ป้อมเพชร เธอมีพี่ชายสามคนคือ พงษ์เพชร ดามาพงศ์, พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ และ พลตำรวจโท นายแพทย์ พีระพงศ์ ดามาพงศ์ นอกจากนี้ยังมีพี่ชายบุญธรรมคือ บรรณพจน์ ดามาพงศ์

เมื่อแรกเกิด พจนีย์ตั้งชื่อให้ว่า "สร้อยเพชรพจมาน"[4] ต่อมาจึงลดลงเหลือเพียงพจมาน ในปี พ.ศ. 2513 บิดาและมารดาได้หย่ากัน โดยมารดากลับไปใช้นามสกุลก่อนสมรสคือ ณ ป้อมเพชร[5] พจมานมีอุปนิสัยเรียบร้อย พูดน้อย มีความเป็นระเบียบเช่นบิดา และมีใจเอื้ออารีเช่นมารดา[6]

บรรพชนทางฝ่ายบิดาของคุณหญิงพจมานอพยพมาจากจังหวัดหนองคาย เป็นทวดชื่อ ดา ดามาพงศ์ ต่อมาได้มาตั้งรกรากอยู่ในตำบลหนองโดน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ สมรสกับนางบุญมา มีบุตรชายชื่อสมิง (ที่ต่อมาคือ ร้อยตำรวจเอก จำปา) ซึ่งเป็นปู่ของคุณหญิงพจมาน[7] ส่วนบุรพชนฝ่ายมารดา ผู้จัดการออนไลน์ (2557) และ ข่าวสด (2557) ระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค) มีบุตรชายกับภริยานางหนึ่ง คือ พันตำรวจเอก พร้อม ณ ป้อมเพชร ซึ่งเป็นตาของคุณหญิงพจมาน[8][9] ขณะที่เว็บไซต์ The101.World (2562) ให้ข้อมูลว่า พร้อม ณ ป้อมเพชร มีบิดาชื่อหลวงคลัง (ต่วน) มีปู่ย่าชื่อ มาและโหมด ซึ่งมาเป็นบุตรชายของคุ้ม ซึ่งเป็นบุตรสาวของเหลียง แซ่อึ้ง กับทองกาวเลอ ชาวจีนและชาวมอญผู้เป็นบรรพชนของสกุล ณ ป้อมเพชร์[10]

อนึ่งคุณหญิงพจมาน เป็นเครือญาติกับสุชน ชาลีเครือทางฝ่ายบิดา[7] และเป็นญาติกับท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ และพิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะทางฝ่ายมารดา[8][9]

คุณหญิงพจมานศึกษาชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ หลังจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 พลตำรวจโทเสมอส่งคุณหญิงพจมานไปศึกษาต่อจบสำเร็จการศึกษาอนุปริญญาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สหรัฐอเมริกา[6] ซึ่งการเดินทางไปศึกษาต่อของเธอนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้ทักษิณสอบได้เป็นที่หนึ่งของรุ่น ได้รับทุนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไปศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สหรัฐอเมริกา[ต้องการอ้างอิง]

สมรส

แก้

คุณหญิงพจมานพบกับทักษิณ เป็นครั้งแรกขณะเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นพี่ของพงษ์เพชร ผู้เป็นพี่ชาย และพบกันอีกครั้งที่สหรัฐอเมริกาขณะที่พจมานไปศึกษาต่อ ก่อนเดินทางกลับมาประกอบพิธีมงคลสมรสที่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2519 และเดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง เมื่อทักษิณ ได้รับทุนศึกษาต่อปริญญาเอก ส่วนคุณหญิงพจมานสำเร็จปริญญาตรี Associate of Arts และสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี และให้กำเนิดบุตรชายคนโตคือ พานทองแท้ ขณะพักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา

หลังจากกลับมายังประเทศไทยพร้อมกับทักษิณ ก็ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ของสามีตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขายผ้าไหม เจ้าหน้าที่รับจองคอนโดมีเนียม รวมถึงคอยปรนนิบัติสามีและดูแลบุตร จนกระทั่งเมื่อ ทักษิณ ก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด ซึ่งประกอบกิจการให้เช่าคอมพิวเตอร์ และต่อมากลายเป็นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินกิจการโทรคมนาคม คุณหญิงพจมานก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ช่วยเหลือสามีดูแลกิจการตลอดมา [ต้องการอ้างอิง]

คุณหญิงพจมาน มีบุตร-ธิดากับทักษิณ รวม 3 คนคือ พานทองแท้, พินทองทา และแพทองธาร

คดีความ

แก้

วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกคุณหญิงพจมาน และบรรณพจน์ พี่ชายบุญธรรม คนละ 3 ปี ในคดีร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น บริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) มูลค่า 546 ล้านบาท

ในปลาย พ.ศ. 2551 คุณหญิงพจมานจดทะเบียนหย่ากับทักษิณ แล้วกลับมาใช้นามสกุลเดิม "ณ ป้อมเพชร" ของฝ่ายมารดา แต่ยังคงใช้คำนำหน้านามว่า "คุณหญิง" ตามเดิม เนื่องจากสตรีที่เคยสมรส แล้วต่อมาหย่าร้างกับสามี ยังสามารถใช้คำนำหน้านามนี้ได้[ต้องการอ้างอิง]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๗๒ ง วันที่ ๐๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
  2. ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์
  3. "ชีวิตใหม่ 2 พ่อลูก "ชินวัตร" แพทองธารขึ้นเป็นนายกฯ หญิง ทักษิณพ้นโทษ". BBC News ไทย. 2024-08-17.
  4. วัธยา. พจมาน ชินวัตร แม่ทัพหลังม่าน บทอวสานที่ก้นเหว?. กรุงเทพฯ : ร่วมด้วยช่วยกัน, 2548. 220 หน้า. ISBN 974-9785-94-0
  5. ""ณ ป้อมเพชร์" ของคุณหญิงพจมาน". ไทยโพสต์. 11 กุมภาพันธ์ 2553. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 "พจมาน ชินวัตร "หญิงผู้ทรงอิทธิพล"". Positioning Magazine. 5 กรกฎาคม 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 เซี่ยงเส้าหลง (20 กันยายน 2548). "สัมพันธ์ฉันญาติ "สุชน ชาลีเครือ – คุณหญิงพจมาน ชินวัตร"". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 "ณ ป้อมเพชร ตระกูล "First Lady" 3 รัฐบาล เรื่องชวนทอล์กในนิตยสาร TALK". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 8 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. 9.0 9.1 "3 สตรี ณ ป้อมเพชร ลมใต้ปีก 3 ผู้นำรัฐบาล". ข่าวสด. 9 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. กษิดิศ อนันทนาธร (7 สิงหาคม 2562). "ปรีดี ทักษิณ อภิสิทธิ์ ใครเป็นใครในตระกูล ณ ป้อมเพชร์". The101.World. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พจมาน ณ ป้อมเพชร ถัดไป
ภักดิพร สุจริตกุล   คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
  จิตรวดี จุลานนท์