ศาลอาญา (ประเทศไทย)
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ศาลอาญา เป็นหน่วยราชการอิสระ โดยเป็นหนึ่งในองค์กรของศาลยุติธรรมชั้นต้นแห่งประเทศไทย รับผิดชอบการใช้กฎหมายอาญาในบางเขตของกรุงเทพมหานคร[1] ศาลนี้ตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก จึงมักเรียกกันว่า "ศาลอาญารัชดาฯ"
ศาลอาญา | |
---|---|
Criminal Court | |
ที่ตั้ง | อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร |
พิกัด | 13°43′29″N 100°37′59″E / 13.7245995°N 100.6331106°E |
ยื่นอุทธรณ์ต่อ | ศาลอุทธรณ์ |
อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา | |
ปัจจุบัน | นายศักดิ์ชัย รังษีวงศ์ |
ตั้งแต่ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 |
ประวัติ
แก้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงระบบศาลครั้งใหญ่รวบรวมศาลต่าง ๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายถึง 16 ศาลยุบรวมกันเป็นศาลในส่วนของความอาญาได้รวมศาลนครบาลกับศาลอาญานอกเข้าด้วยกันเรียกว่า "ศาลพระราชอาญา" ตั้งอยู่ที่ "หอสัสดี" บริเวณท่าช้างวังหน้า ต่อมา พ.ศ. 2478 ได้มีประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จึงเปลี่ยนชื่อจากเดิมมาเป็น "ศาลอาญา" และต่อมา พ.ศ. 2484 ได้มีการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นที่บริเวณกองตราลหุโทษเดิมด้านถนนราชินีให้เป็นที่ตั้งของกระทรวงยุติธรรม ศาลอุทธรณ์ และศาลอาญา ส่วนด้านถนนราชดำเนินก่อสร้างเป็นอาคารศาลฎีกาและศาลแพ่ง ต่อมาวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2515 ศาลอาญาได้ย้ายทำการเดิมมาตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ ณ อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารสูง 13 ชั้น[2]
โครงสร้างและแผนผัง
แก้ศาลอาญามีเขตอำนาจศาลครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้[3]
อำนาจหน้าที่
แก้ศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง โดยเมื่อการกระทำผิดเกิดขึ้นได้ถูกอ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้น หรือจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับกุมหรือเมื่อมีเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลและคดีที่เกิดขึ้นต้องมีอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปีขึ้นไปหรือปรับเกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่คดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลอาญา โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของศาลอาญาที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องดังกล่าวหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจของศาลที่รับโอนคดี นอกจากนี้ศาลอาญา ยังมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทยอีกด้วย
ภารกิจ
แก้- การคุ้มครองเสรีภาพแก่ประชาชน
- การพัฒนาการให้บริการเพื่อความยุติธรรมแก่ประชาชน
ผู้บริหาร
แก้- อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
- ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญา
อ้างอิง
แก้- ↑ Information and Public Relations Division, Office of the Courts of Justice. "ศาลยุติธรรม" (PDF). Bangkok: Office of the Court of Justice. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-30.
- ↑ "ประวัติศาลอาญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.