จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2518) ชื่อเล่น หนิม เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ติดต่อกัน 5 สมัย และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
จุลพันธ์ ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 95 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการเศรษฐา ทวีสิน
(2566–2567)
พิชัย ชุณหวชิร
(2567–ปัจจุบัน)
ก่อนหน้าสันติ พร้อมพัฒน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(19 ปี 303 วัน)
ก่อนหน้ายงยุทธ สุวภาพ
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 เมษายน พ.ศ. 2518 (49 ปี)
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ชาติพัฒนา (2539–2541)
ไทยรักไทย (2541–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)
คู่สมรสวิสาระดี เตชะธีราวัฒน์
(สมรส 2553)
บุตร1 คน
บุพการี
ความสัมพันธ์วิสาร เตชะธีราวัฒน์ (พ่อตา)
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพนักการเมือง
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นหนิม

ประวัติ

แก้

จุลพันธ์เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2518 เป็นบุตรชายของ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับนางเพ็ชรี (เตชะไพบูลย์) อมรวิวัฒน์

จุลพันธ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ (MBA.) จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐ

ชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทย บุตรสาวของนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 9 สมัย เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[1]

งานการเมือง

แก้

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาเป็นครั้งแรก ในนามพรรคไทยรักไทย โดยสามารถเอาชนะยงยุทธ สุวภาพ จากพรรคประชาธิปัตย์[2] (ส.ส.คนเดียวของประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่)

ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 เขาได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ [3]

ในปี พ.ศ. 2562 จุลพันธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 และเขาได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[4] มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายผลงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] ปีต่อมาเขาลงสมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ทั้งนี้ เขาเป็นหนึ่งในสอง ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้ (อีกคนคือ ศรีโสภา โกฏคำลือ)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[6] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท[7][8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. น้องยิ้มควงจุลพันธ์วิวาห์ชื่นมื่น
  2. ""ยงยุทธ สุวภาพ" ยอมรับมติประชาชน ลงคะแนน เลือก "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
  3. "เมื่อแกนนำ นปช.ขึ้นเหนือ แฉแผนกลโกงเลือกตั้ง-ยึดอำนาจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-05. สืบค้นเมื่อ 2018-12-24.
  4. “จุลพันธ์” อัดสภาล่มถี่ แต่นายกฯ ไม่ยุบสภา ยืนยันวิธีกดดันองค์ประชุมต่อ
  5. จุลพันธ์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ 8 ปี ประยุทธ์ หนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะ พุ่งกระฉูด
  6. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  7. ""เงินดิจิทัล 10,000 บาท" นายกฯสั่งเร่งศึกษาแนวทางกลับมาเสนอโดยเร็วที่สุด". ทีเอ็นเอ็น 16. 13 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "นายกฯ เคาะตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท". โพสต์ทูเดย์. 5 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
ก่อนหน้า จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ถัดไป
ตนเอง
เผ่าภูมิ โรจนสกุล
   
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(ครม. 64) สมัยที่ 2

(3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในวาระ
สันติ พร้อมพัฒน์    
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(ครม. 63) สมัยที่ 1

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567)
  ตนเอง
เผ่าภูมิ โรจนสกุล