ยงยุทธ สุวภาพ (12 กันยายน พ.ศ. 2489) อดีตนายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย[1] อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ในจังหวัดเชียงใหม่[2] และเป็นอดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้[3] และอดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้[4]

ยงยุทธ สุวภาพ
นายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย
ดำรงตำแหน่ง
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 – 31 มกราคม พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าสามารถ ใจบุญ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2489 (77 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2512—ปัจจุบัน)

การศึกษา แก้

ยงยุทธ สุวภาพ จบการศึกษาประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ และระดับปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครอง สำหรับผู้บริหารระดับสูง จากสถาบันพระปกเกล้าอีกด้วย

การทำงาน แก้

ยงยุทธ สุวภาพ เริ่มทำงานเป็นพนักงานประจำธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จนกระทั่งได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ พนักงานบริหารสินเชื่อ 8 สำนักงาน ธกส.จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาจึงได้ลาออกมาทำงานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ยงยุทธเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่สามารถเอาชนะฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยได้ โดยเอาชนะนายทวีศักดิ์ สุภาศรี จากพรรคไทยรักไทย นายเจริญ เชาวน์ประยูร อดีต ส.ส. จากพรรคราษฎร นายณรงค์ นิยมไทย อดีต ส.ส. จากพรรคความหวังใหม่[2][5] แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ต้องพ่ายแพ้ให้กับจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคไทยรักไทย[6] บุตรชายของสมพงษ์ อมรวิวัฒน์

นอกจากนั้นแล้วยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (อำนวย ยศสุข) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (สุทัศน์ เงินหมื่น) และเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในปี พ.ศ. 2550-2554

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม[7]แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับคู่แข่งเดิม และส่งผลให้ไม่มี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2555 นายยงยุทธ จึงหันไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย และได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วย[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เดินหน้าจัดการหนอนกระทู้ลายจุดต่อเนื่อง เปิดเวทีกลางแปลงข้าวโพดแถลงสื่อแจงพื้นที่ระบาดลดไปแล้วกว่า 2 หมื่นไร่
  2. 2.0 2.1 "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  4. ทำเนียบนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  6. ""ยงยุทธ สุวภาพ" ยอมรับมติประชาชน ลงคะแนน เลือก "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
  7. “อภิรักษ์” นำทีม ส.ส.เชียงใหม่ ลงสมัคร-ลั่นสู้เต็มที่
  8. "อดีต ส.ส. ชนะเลือกตั้งนายก เทศบาลเมืองงาย อ.เชียงดาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2012-08-21.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕