ศุภชัย ใจสมุทร
ศุภชัย ใจสมุทร (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2501) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] สังกัดพรรคภูมิใจไทย อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตโฆษกพรรคภูมิใจไทยและอดีตนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย
ศุภชัย ใจสมุทร | |
---|---|
นายศุภชัย ในปี พ.ศ. 2554 | |
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[1] | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 กันยายน พ.ศ. 2501 อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2522–2524) ชาติไทย (2524–2528) มวลชน (2528–2541) ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้นายศุภชัย ใจสมุทร เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2501อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นบุตรของนายบำรุง นางเจะหวา ใจสมุทร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2524[3] ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเศรษฐกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ตำบลท่าข้ามการทำงาน
แก้นายศุภชัย ใจสมุทร เคยสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดตรัง สังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[4] และรองโฆษกพรรคพลังประชาชน เป็นที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร (ชัย ชิดชอบ) ต่อมาในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายศุภชัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
ในปี 2555 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีกสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้รับเลือกเป็นนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย
ต่อมาในปี พ.ศ.2566 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นาย อนุทิน ชาญวีรกุล)[6]ในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
และในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2567 ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศุภมาส อิศรภักดี)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่งราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๙๐ ง หน้า ๓๕ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒ ราย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ และนายศุภชัย ใจสมุทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 7/2552 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 25ง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552
- ↑ รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖