วิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์
วิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
วิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | วิวัฒนไชย ณ กาฬสินธุ์ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติประชาธิปไตย
(2525–2527) กิจสังคม (2527–2537) นำไทย (2537–2540) ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) แทนคุณแผ่นดิน (2551–2553) เพื่อไทย (2553–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วรัญญา ณ กาฬสินธุ์ (หย่า) |
ประวัติ
แก้วิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ มีชื่อเล่นว่า "ลีโอ" เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายประพิศ กับนางบุญไล้ ณ กาฬสินธุ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[1] สมรสและหย่ากับนางวรัญญา ณ กาฬสินธุ์
วิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ สืบเชื้อสายเจ้านายหัวเมืองอิสานตั้งแต่สมัยตอนต้นรัตนโกสินทร์ ท้าวโสมพะมิตร หรือ เจ้าโสมพะมิตร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต้นตระกูล ณ กาฬสินธุ์[2]
การทำงาน
แก้รับราชการ
แก้วิวรรธนไชย เคยรับราชการครูและเคยดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนหนองแสงวิทยาเสริม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เคยเป็นประธานชมรมครูประถมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประธานชมรมสมาพันธ์สมาคมครูประถมศึกษาแห่งประเทศไทย และเป็นกรรมการองค์การครูโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้โอนมารับราชการในตำแหน่งนักประชาสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย และเป็นหัวหน้าชุด ปจว.กอ.รมน.จังหวัดกาฬสินธุ์
งานการเมือง
แก้วิวรรธนไชย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกตั้งหลายสมัย ซึ่งในปี พ.ศ. 2535 เขาได้ปฏิเสธข้อเสนอของพรรคกิจสังคมให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ย้ายออกจากพรรคพลังประชาชน เพื่อไปก่อตั้งพรรคแทนคุณแผ่นดินอีสาน[3] เนื่องจากนายวิวรรธนไชยอ้างว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เคยพูดจาดูถูกคนอีสานไว้ในอดีต จึงไม่อาจยอมรับได้[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นามสกุลพระราชทาน อักษร ณ". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ล้วงลึก "วิวรรธนไชย" กับภารกิจตีท้ายครัวอดีต ทรท.[ลิงก์เสีย]
- ↑ วิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ ตั้งกลุ่มดับเครื่องชนหมัก-พปช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗