การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรไทย เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ของนายสมัครนั้น มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี
| ||||||||||||||
|
โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดสภาเพื่อลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่เนื่องจากเลื่อนมาจากเมื่อวันที่ 12 กันยายน
โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้เสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนายกรัฐมนตรี
ผลสำรวจก่อนการลงมติ
แก้เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,809 ตัวอย่าง เกี่ยวกับวาระแห่งชาติในสายตาประชาชน ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข ผลปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจต่อประวัติและผลงานของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีแตกต่างกัน ดังนี้
อันดับ | รายนาม | ผลสำรวจ |
1 | นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | 58.6 |
2 | นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ | 51.2 |
3 | นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | 48.3 |
4 | ไม่สนใจใครเลย | 41.5 |
การลงมติ
แก้ระหว่างการขานชื่อลงคะแนนเมื่อถึงชื่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ของดออกเสียงให้เห็นผลว่าต้องวางตัวเป็นกลาง ส่วนนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยก็ลงคะแนนให้นายสมชาย เช่นเดียวกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ขณะที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็งดออกเสียงให้กับตัวเอง สำหรับการประชุมครั้งนี้นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้เดินทางมาลงคะแนนแต่อย่างใด ซึ่งมี ส.ส.คนหนึ่งแจ้งว่าอยู่ในระหว่างการเดินทางมาสภา
ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี
แก้ผู้ได้รับการเสนอชื่อในสภาผู้แทนราษฎร | |
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
---|---|
พลังประชาชน | ประชาธิปัตย์ |
รองนายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ 6 กุมภาพันธ์ 2551) |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (14 พฤศจิกายน 2540 – 17 กุมภาพันธ์ 2544) |
ผลการลงมติ
แก้ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 298 คะแนน ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความเห็นชอบ 163 คะแนน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 5 คะแนน (คือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายชัย ชิดชอบ, นายสามารถ แก้วมีชัย และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งและคนที่สอง) จึงถือได้ว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่านายสมชายได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จากนั้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ว่าที่นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนที่ได้มาลงคะแนนโดยพร้อมเพรียงกัน และขอบคุณสมาชิกที่กรุณาไว้วางใจให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะรับทำหน้าที่อย่างดีที่สุด หลังปิดการประชุมสภาเวลา 10.45 น. นายสมชายรีบเข้าไปสัมผัสมือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรว่าจะร่วมมือกันทำงานตามหน้าที่แต่ละฝ่าย จากนั้นได้เข้าไปกราบขอบคุณนายบรรหาร และ ส.ส.ที่ให้การสนับสนุน
พรรคการเมือง | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | งดออกเสียง | รวม |
พรรคพลังประชาชน | 226 | - | 4 | 230 |
พรรคประชาธิปัตย์ | - | 163 | 1 | 164 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 21 | - | - | 21 |
พรรคชาติไทย | 30 | - | - | 30 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 7 | - | - | 7 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 9 | - | - | 9 |
พรรคประชาราช | 5 | - | - | 5 |
รวม | 298 | 163 | 5 | 466 |
อ้างอิง
แก้- ผลเอแบคโพลล์ สมพงษ์ เหมาะนายกฯ 58.6% เก็บถาวร 2009-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สมชายสมหวังนายกฯครม.ใหม่จบสัปดาห์นี้[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551 | การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 |