ประภัสร์ จงสงวน
ประภัสร์ จงสงวน เป็นกรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ อดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ประภัสร์ จงสงวน | |
---|---|
ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน 2555 – 10 กรกฎาคม 2557 | |
ก่อนหน้า | ยุทธนา ทัพเจริญ |
ถัดไป | ประเสริฐ อัตตะนันทน์ (รักษาการ) |
ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ตุลาคม 2540 – 1 กันยายน 2551 | |
ผู้ว่าการแทน | เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว (รักษาการ) |
ก่อนหน้า | ธีระพงษ์ อรรถจารุสิทธิ์ |
ถัดไป | ชูเกียรติ โพธยานุวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 (65 ปี) กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน เพื่อไทย ไทยรักษาชาติ |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
ประภัสร์ จงสงวน จบการศึกษาจากระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2521 จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอาชญวิทยา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท[1] (California State University) สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2524
การทำงานแก้ไข
เดิมทีเขาต้องการเป็นตำรวจสหรัฐอเมริกา[1] แต่เนื่องจากมารดาเรียกตัวกลับไทย ประภัสร์ตระหนักดีถึงชีวิตราชการตำรวจไทย เขาจึงหันไปทำงานด้านกฎหมาย โดยการทำงานที่สำนักงานกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน[1] ซึ่งส่วนใหญ่ได้ทำคดีเกี่ยวกับภาครัฐ โดยเฉพาะกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จนได้รู้จักกับ เจ้าพนักงานอัยการ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ประภัสร์ได้เข้ามาทำงานที่การทางพิเศษฯ ตามคำชวนของอัยการจุลสิงห์ ในตำแหน่งนิติกร 7[1] และได้ขึ้นเป็นผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการการทางพิเศษคนที่5สุขวิช รังสิตพล และ รองนายกรัฐมนตรีสุขวิช รังสิตพลได้ยืมตัวประภัสร์เป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี สุขวิช รังสิตพลซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานองค์การรถไฟฟ้ามหานคร คนที่3 ในด้านระบบขนส่งมวลชน สมัยรัฐบาลชวน 1 [1]
เขาทำงานที่การทางพิเศษฯ จนได้ขึ้นเป็น รองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นตำแหน่งสุดท้าย จนถึง ปี พ.ศ. 2540 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) รับผิดชอบงานโครงการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน
ประภัสร์ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของรฟม. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - 2551
ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแก้ไข
พ.ศ. 2551 ประภัสร์ที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการฯ รฟม.อยู่ ได้รับการทาบทามจากพรรคพลังประชาชน ให้ลงสมัครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 ในนามของตัวแทนจากพรรคพลังประชาชน ซึ่งทำให้เขาต้องลาออกจากการเป็นผู้ว่าการฯรฟม. ในการเลือกตั้งครั้งนั้น ประภัสร์ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียง 543,488 คะแนน มากเป็นลำดับสองรองจากอภิรักษ์ โกษะโยธิน จากพรรคประชาธิปัตย์
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยแก้ไข
หลังจากการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล ประภัสร์เข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี และลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประภัสร์ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2555[2]
ในตำแหน่งนี้ เขาเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของรัฐบาลในการผลักดันโครงการปฏิรูประบบราง เช่นโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย, รถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟทางคู่ โดยเป็นกรรมาธิการพิจารณา พรบ. โครงสร้างพื้นฐานสองล้านล้านบาท ในช่วงการดำรงตำแหน่งผู้ว่ารฟท.ของเขา มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อาทิ การรื้อและทำทางรถไฟใหม่ทั้งหมดในเขตภาคเหนือตอนบน, แก้แบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จาก 3 เป็น 4 ทาง, แก้แบบให้สถานีกลางบางซื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง, จัดซื้อขบวนรถด่วนพิเศษจำนวน 8 ขบวน (115 ตู้) เพื่อให้บริการในสี่เส้นทาง (อุตราวิถี, อีสานวัฒนา, อีสานมรรคา, ทักษิณารัถย์)
ในเดือนกรกฎาคม 2557 มีกระแสกดดันจากประชาชนส่วนหนึ่งอย่างรุนแรงให้ประภัสร์ลาออกหลังเกิดเหตุพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อเหตุฆ่าข่มขืนผู้โดยสารในรถไฟแต่เขายืนยันว่าจะไม่ลาออก [3] คณะรัฐประหารจึงมีคำสั่งปลดประภัสร์ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 การปลดเป็นไปในลักษณะเป็นไปเพื่อต้องการความนิยมจากประชาชน เห็นได้จากการที่มีคำสั่งปลดอย่างเร่งรีบและสั้นๆเพียง 3 บรรทัด ผิดจากคำสั่งปลด-โยกย้ายข้าราชการอื่นๆ ที่จะระบุไว้ชัดเจนถึงอำนาจหน้าที่และบุคคลที่มาแทนอย่างชัดเจน ศาลปกครองกลางพิพากษาว่านายประภัสร์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยชดใช้นายประภัสร์เป็นจำนวนเงิน 3.1 ล้านบาท[4]
ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 26 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- - ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- - ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ประภัสร์ จงสงวน แห่ง รฟม.ผอ.รัฐวิสาหกิจปลอดการเมือง? นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2540.
- ↑ ครม. มีมติเห็นชอบ 'ประภัสร์ จงสงวน' นั่งผู้ว่าการ รฟท. 12 พฤศจิกายน 2555. ไทยรัฐ.
- ↑ ประยุทธ์ปลดประภัสร์พ้นผู้ว่าฯรฟท., โพสต์ทูเดย์, 10 กรกฎาคม 2557
- ↑ ศาลปกครองสั่ง รฟท. จ่าย 3.1 ล้าน ชดเชยเลิกจ้าง “ประภัสร์ จงสงวน” ประชาชาติธุรกิจ. 5 กันยายน 2561
- ↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- ข้อมูลจากเว็บไซต์ของรถไฟฟ้ามหานคร
- ข้อมูลจากเว็บไซต์ของพรรคพลังประชาชน
- 10 นโยบายกรุงเทพฯ อยู่สบาย จากเว็บไซต์ของพรรคพลังประชาชน
- ว่าที่ผู้ว่าฯประภัสร์ จงสงวน ฝันให้คนกรุงคิดถึง"บ้าน"
ก่อนหน้า | ประภัสร์ จงสงวน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยุทธนา ทัพเจริญ | ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557) |
ประเสริฐ อัตตะนันทน์ (รักษาการ) | ||
ธีระพงษ์ อรรถจารุสิทธิ์ ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการรถไฟฟ้ามหานคร |
ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (17 ตุลาคม พ.ศ 2540 - 1 กันยายน พ.ศ. 2551) |
เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว (รักษาการ) |