วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นวิทยาลัยดนตรีแห่งที่สามของประเทศไทย ต่อจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหิดล) และ คณะดุริยางคศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2545 โดย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยดนตรี
มหาวิทยาลัยรังสิต
The Conservatory of Music
Rangsit University
คติพจน์Making the impossible possible
(ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้)
สถาปนาพ.ศ. 2545
คณบดีผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ
ที่อยู่
อาคารวิทยาลัยดนตรี (อาคาร 17) มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
วารสารวารสารดนตรีรังสิต (TCI Tier 1)
สี███ สีส้ม
เว็บไซต์rsu.ac.th/music

ประวัติ

แก้

เดิมก่อนมีวิทยาลัยดนตรี นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตเรียนวิชาดนตรีซึ่งเป็นวิชาเลือกภายใต้การสอนของหน่วยงานศูนย์วัฒนธรรมของมหาลัย โดยมีอาจารย์ธเนศ ศรีวงษ์ และอาจารย์สุวิวัฒน์ ธินิวัฒนารักษ์(สมเกียรติ หอมยก) โดย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยรังสิตมีสถาบันการเรียนดนตรีเฉพาะให้มหาวิทยาลัยรังสิตมีหลักสูตรการเรียนการสอนรอบด้าน

วิทยาลัยดนตรีถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยเชิญ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ มาเป็นคณบดีแก้ขัดไปก่อนโดยที่ ดร.อาทิตย์ ได้ติดต่อกับอาจารย์เด่น อยู่ประเสริฐ ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโดเหนือ มาเป็นคณบดีไว้แล้ว

วิทยาลัยดนตรีเริ่มแรกได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสี่แขนงคือ การประพันธ์เพลง, ดนตรีแจ๊สศึกษา, การแสดงดนตรี, และการผลิตดนตรี ซึ่งในปี พ.ศ. 2547 ดร.เด่น ได้เพิ่มแขนงการแสดงดนตรีและการสอนเพิ่ม, ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีโครงการที่จะเปิดสอนแขนงดนตรีบำบัด แต่ไม่มีนักศึกษาเข้าเรียน, และปี พ.ศ. 2552 อาจารย์บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ ได้เสนอให้มีแขนงการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์และมัลติมีเดียขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีที่เดียวในเมืองไทยที่มีการสอนแขนงวิชานี้

วิทยาลัยดนตรี มีความแตกต่างเป็นพิเศษจากสถาบันดนตรีแห่งอื่นคือ ที่นี่นักศึกษาปริญญาตรีทุกคนจะต้องสอบวิชาเหมือนกัน(ยกเว้นเครื่องดนตรี) โดยเมื่อเข้าไปศึกษาแล้ว นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งจะต้องเรียนรวมโดยจะเลือกแขนงที่จะเข้าในชั้นปีที่สองนั้น ต้องได้ระดับผลการเรียนเป็น B+ หรือ A ตามวิชาต่างๆ

ทำเนียบคณบดี

แก้
  • พ.ศ. 2545-2546 ดร.ภาธร ศรีกรานนท์
  • พ.ศ. 2546-2560 ผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ
  • พ.ศ. 2560-2561 รศ.ดร.วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น (รักษาการ)
  • พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน ผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ

หลักสูตร

แก้
ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรี
ปริญญาโท

ระดับเตรียมอุดมดนตรี ม.4-ม.6

ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Music)

  • แขนงการผลิตดนตรี (Music Production)
  • แขนงเทคโนโลยีวิศวกรรมดนตรี (Music Engineering Technology)
  • แขนงการออกแบบเสียงและการประพันธ์เพลงประกอบสื่อ (Sound and Media Composition)
  • แขนงการประพันธ์เพลงร่วมสมัย (Composition)
  • แขนงการประพันธ์เพลงสมัยนิยม (Songwriting)
  • แขนงการแสดงดนตรีคลาสสิก (Instrumental Performance)
  • แขนงการแสดงเปียโน (Piano Performance)
  • แขนงการแสดงกีตาร์คลาสสิก (Guitar Performance)
  • แขนงการแสดงขับร้อง (Voice Performance)
  • แขนงดนตรีแจ๊สและการแสดงเชิงปฏิภาณ (Jazz and Contemporary Improvised Music)

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Music)

  • แขนงการแสดงและการสอนดนตรี (Performance and Pedagogy)
  • แขนงการประพันธ์เพลงร่วมสมัย (Composition)
  • แขนงดนตรีแจ๊สศึกษา (Jazz Studies)
  • แขนงทฤษฎีดนตรี (Music Theory)

กิจกรรมการแสดงและวงดนตรี

แก้
  • Rangsit University Symphony Orchestra
  • RSU Chorus
  • RSU Piano Trio
  • RSU Chamber Orchestra
  • RSU String Quartet
  • RSU Wind Ensemble
  • RSU Brass Choir
  • RSU Percussion Ensemble
  • RSU Jazz Ensemble
  • RSU Guitar Ensemble
  • RSU Opera and Musical Theatre

ศูนย์บริการทางวิชาการดนตรี

แก้
  • RSU Music Academy สถาบันดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป
  • RSU Music Production Center ศูนย์การผลิตดนตรี ประพันธ์เพลง บันทึกเสียง ผสมเสียง
  • RSU Artist Management ศูนย์การบริหารจัดการศิลปิน

การสอบปฏิบัติ (Audition)

แก้

หลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต และดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต

  • เล่น และ/หรือ ร้อง บันไดเสียง เมเจอร์และไมเนอร์ (Major/Minor Scales) รวมถึงอาร์เปจิโอ (Arpeggio)
  • ทดสอบทักษะการอ่านและการร้องโน้ต (Sight Reading/Sight Singing)
  • ทดสอบโสตทักษะ (Aural Skills)
  • บรรเลงบทเพลงที่แตกต่างยุคสมัย 2-3 บทเพลง ซึ่งสามารถเลือกได้จาก เพลงเดี่ยว (solo repertoire) เช่น โซนาตา (sonata) หรือ คอนแชร์โต (concerto), แบบฝึกหัด (études), หรือท่อนเด่นจากบทเพลงออร์เคสตรา (orchestral excerpts) เป็นต้น

การสอบข้อเขียน

แก้
  • ทฤษฎีดนตรี (Music Theory)
  • โสตทักษะ (Aural Skills)
  • ประวัติดนตรี (Music History)
  • ความรู้เบื้องต้นทางดนตรีคอมพิวเตอร์ (Basic Knowledge in Computer Music) สำหรับแขนงวิชาการผลิตดนตรีและดนตรีประกอบภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
  • ภาษาอังกฤษ (English for Graduate Studies) เฉพาะหลักสูตรมหาบัณฑิต
  • เสนอผลงานการประพันธ์เพลง (Composition Portfolio Evaluation) สำหรับแขนงวิชาการประพันธ์เพลง

ทุนการศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยรังสิต มอบทุนความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี ซึ่งเป็นทุนการศึกษาพระราชทาน ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเป็นทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรจำนวนปีละ 10 ทุน

ผลงานดีเด่นของนักศึกษา

แก้
  • นายโสภณ สุวรรณกิจ ศิษย์เก่าแขนงดนตรีแจ๊สศึกษา มีผลงานแสดงดนตรีหลายแห่ง ออกอากาศช่องไทยพีบีเอสบ่อยครั้ง
  • นายเก่งฉกาจ เก่งการค้า ศิษย์เก่าแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท Individual Performance การประกวด Thailand Jazz Competition ครั้งที่ 6 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554
  • นางสาวบัณฑิตา ประชามอญ ศิษย์เก่าแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทขับร้อง การประกวด Thailand Jazz Competition ครั้งที่ 6 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554
  • นายเอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ ศิษย์เก่าแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รางวัลชนะเลิศรางวัลนักร้องยอดเยี่ยม การประกวด KPN AWARD 2010 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 และรางวัลชนะเลิศ The Voice Thailand All Stars
  • นายสุระศักดิ์ อุตสาห์ ศิษย์เก่าแขนงการประพันธุ์และอาจารย์ประจำแขนงวิชาการประพันธ์เพลง ได้รับรางวัล Young Thai Artist Award 2006 และ 2008 สาขาดุริยวรรณกรรม จัดโดยมูลนิธิปูนซิเมนต์ไทย
  • วง RSCM ของนักศึกษาแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรีแจ๊ส 98.5 Breeze FM UBC True Jazz Challenge 2006
  • นักศึกษาวิทยาลัยดนตรีร่วมแสดงและร่วมประพันธ์เพลง ในพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ครั้งที่ 24
  • ตำรา "หลักการประพันธ์เพลง" (Principles of Music Composition) โดย นายลัญฉนะวัต นิมมานรตนกุล ศิษย์เก่า แขนงวิชาการประพันธ์เพลง วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วง neXt GENeration ของนักศึกษาแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรี University Academy Contest เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2551

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้