โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง (อังกฤษ: Prachinratsadornamroong School ; อักษรย่อ : ป.ร.อ. / P.R.A.) รู้จักกันทั่วไปว่า ป.ร.อ. เป็นโรงเรียนรัฐบาล ประเภทสหศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสหวิทยาเขตทวารวดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก (ชื่อเดิม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 880 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง
Prachinratsadornamroong School
"ตราสุริยะ" หรือ "ตราอรุโณทัย"
เป็นรูปพระอาทิตย์โผล่พ้นน้ำ เบื้องหลังเป็นพระเจดีย์เปล่งรัศมี
ตราสัญลักษณ์
โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง
ที่ตั้ง
เลขที่ 880 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.จ.๑
(พ.ศ.2456 - 2506)
ป.ร.อ. / P.R.A.
(พ.ศ.2506 - ปัจจุบัน)
ชื่อเดิมโรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี “ปราจิณราษฎรอำรุง”
(1 พฤศจิกายน 2456 - 2506)
โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง
(พ.ศ.2506 - ปัจจุบัน)
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนรัฐบาล ขนาดใหญ่พิเศษ
- ชายล้วน
(ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา)
(1 พฤศจิกายน 2456 - 2460)
- สหศึกษา
(ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา)
(2460 - 2478)
- สหศึกษา
(มัธยมศึกษา)
(2478 - ปัจจุบัน)
คำขวัญนตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี)
สถาปนา1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 (111 ปี)
รหัส25012001
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายอภิเชษฐ์ ชมภู
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ม.1 - 6)
จำนวนนักเรียน3,344 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565)
สี  น้ำเงิน   ขาว
เพลงเทิดเกียรติ ป.ร.อ.
สังกัดสหวิทยาเขตทวารวดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
(เดิม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ศิษย์เก่าสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง (ส.ศ.ป.ร.อ.)
พระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร
เว็บไซต์www.pra.ac.th

ประวัติ [1]

แก้

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ในระดับชั้นเรียนประถมศึกษาเป็นลำดับแรก ต่อมามีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างอาคารเรียนถาวรไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2460 และเปิดเรียนถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 ได้เริ่มเป็นสหศึกษาโดยการรับ มัธยมตอนปลายก่อน แล้วจึงเริ่มเต็มรูปแบบ

ต่อมามีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงได้สร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2460  เข้าใจว่าใช้งบประมาณแผ่นดิน เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง มี 6 ห้องเรียน มีห้องประชุมจุนักเรียนได้ประมาณ 200 คน มีห้องครูใหญ่ 1 ห้อง เปิดเรียนถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งนับว่าเป็นชั้นเรียนสูงสุด เมื่อวันที่ 11  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ต่อ จากนั้นนักเรียนก็เพิ่มมากขึ้นทุกปี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 กระทรวงกลาโหมได้ยกที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการ และได้ก่อสร้างอาคารเรียนมีใต้ถุนสูงขนาด 6 ห้องเรียน เพิ่มเติม และย้ายนักเรียนมัธยมศึกษามาเรียนที่อาคารหลังใหม่นี้ ส่วนโรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณเดิมได้ใช้เป็นที่เรียนชั้นประถมศึกษาต่อไป ซึ่งต่อมาภายหลังได้ตั้งเป็นโรงเรียนปราจีนกัลยาณีซึ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน

อาคารหลังนี้สร้างด้วยวัสดุอุปกรณ์ของเก่าจึงไม่มั่นคงถาวร กอร์ป ทั้งจำนวนนักเรียนมากขึ้น ทางราชการจึงได้สร้างอาคารเรียนใหม่ด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น มี 16 ห้องเรียน ณ สถานที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2484 ในบริเวณพื้นที่ดินครั้งแรกประมาณ 33 ไร่ 1 งาน 94 ตารางวา ในปี พ.ศ. 2534 ได้รื้ออาคารหลังนี้เพราะได้สร้างมา 80 ปี ต่อมาได้สร้างอาคารอนุรักษ์ขึ้นแทนปี พ.ศ. 2534 ได้รับที่ดินเพิ่มจากราชพัสดุบริเวณสถานีอนามัยของเทศบาลเมืองปราจีนบุรีเดิม จำนวน 2 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา

ด้านการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง มีการเรียนการสอนการสอนทั้งสิ้น 84 ห้องเรียน จำแนกเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 39 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 45 ห้องเรียน โดยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 2 แผนการเรียน คือ แผนการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และแผนการเรียนคณิตศาสตร์และภาษา อนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุงได้จัดให้มีห้องเรียนพิเศษโครงการต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

  1. ห้องเรียนสองภาษา (Bilingual Program : BP) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2545 – 2546
  2. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งในปี พ.ศ. 2548-2549
  3. ห้องเรียน Mini English Program : MEP จัดตั้งในปี พ.ศ. 2551
  4. ห้องเรียน International Programme : IP จัดตั้งในปี พ.ศ. 2560
  5. ห้องเรียนพิเศษเพชร ป.ร.อ. จัดตั้งในปี พ.ศ. 2563

ซึ่งโครงการห้องเรียนพิเศษต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ มีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยในปี 2563 โครงการห้องเรียนพิเศษ International Programme กำหนดเปิดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ [2]

ปัจจุบันโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุงเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี และได้รับงบประมาณเพื่อพัฒนาโรงเรียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  โรงเรียนจึงมีอาคารเรียนต่าง ๆ  ดังนี้

  1. อาคารเรียน 1 (จิตรลดา) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  2. อาคารเรียน 2 (ศิวาลัย) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  3. อาคารเรียน 3 (อมรินทร์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และ MEP
  4. อาคารเรียน 4 (อาคารศิลปกรรม) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  5. อาคารเรียน 5 (บรมพิมาน) International Programme
  6. อาคารเรียน 6 (จักรี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  7. อาคารเรียน 7 (ดุสิต) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ ICT [2]

นอกจากนี้ยังมีอาคารประกอบต่าง ๆ ได้แก่ อาคารอนุรักษ์, อาคารศูนย์กีฬา, อาคาร MEP, อาคารโดม 95 ปี, อาคารโดม 98 ปี, หอสมุด 99 ปี, หอพระ 100 ปี, อาคาร 101 ปี  (โรงอาหาร), หอประชุมอเนกสัมพันธ์, อาคารวิทยบริการ (สมาคมครูอาวุโสปราจิณราษฎรอำรุง, สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง และสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง), อาคารสวนธรรมมะ, อาคารธรณีวิทยา, อาคารดนตรีสากล, อาคารเกษตรกรรม, อาคารสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน, อาคารพยาบาล, อาคารสวัสดิการร้านค้า, อาคารธนาคารโรงเรียน สถานที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในโรงเรียน ได้แก่ ศาลพระภูมิโรงเรียน หอพระโรงเรียน (หลวงพ่อเพ็ชร) ศาลเจ้าพ่อขุนทอง พระพิฆเนศ [2]

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีนักเรียนมากกว่า 3,400 คนส่งผลให้เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงในการสอบเข้าเพื่อศึกษาต่อทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยความเข้มข้นของวิชาการ การสอบทักษะชีวิต ตลอดจนการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีและเก่ง โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุงจึงเป็นโรงเรียน 1 ใน 100 โรงเรียนที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยอยู่ในอันดับที่ 63 ในปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน [2]

ตราสัญลักษณ์

แก้
 

"ตราสุริยะ" หรือ "ตราอรุโณทัย" (อรุโณทัย หมายถึง เวลาเช้าตรู่, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น) เป็นรูปดวงพระอาทิตย์แรกอรุณโผล่พ้นพื้นน้ำ เบื้องหลังเป็นพระเจดีย์รูปแบบศิลปะทวารวดีประกอบลวดลายวิจิตรงดงามเปล่งรัศมีแผ่ออก เบื้องล่างมีแถบข้อความ 2 แถบ โดยแถบล่างสุด ระบุนามโรงเรียนว่า "ปราจิณราษฎรอำรุง" และแถบข้อความด้านบนระบุอักษรนามโรงเรียนว่า "ป.ร.อ."

"ตราสุริยะ" หรือ "ตราอรุโณทัย" หมายถึง สติปัญญาอันแผ่ไพศาล กล้าแกร่ง มีความเจริญงอกงามเจิดจรัสอยู่ตลอดเวลา ดุจพระอาทิตย์โผล่แรกอรุณทุกเช้าของทุกวัน ที่เปล่งแสงเจิดจรัสในโลกอยู่ตลอดเวลา

หรืออีกความหมายนึง อาจมาจากนามเมืองปราจิณบุรี หรือ ปราจีนบุรี โดยคำว่า "ปราจิณ" หรือ "ปราจีน" หมายถึง ทิศตะวันออก ส่วนคำว่า "บุรี" หมายความว่า "เมือง" รวมแล้วคำว่า "ปราจีนบุรี" จึงเป็นามเมือง หมายถึง "เมืองตะวันออก"

"พระเจดีย์รูปแบบศิลปะทวารวดี" หมายถึง พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน นับย้อนไปได้ถึงสมัยอาณาจักรทวารวดีอันรุ่งเรือง โดยมีการพบหลักฐานทางโบราณคดีหลายแห่งที่สำคัญคือ เมืองโบราณศรีมโหสถและเมืองโบราณสระมรกต ที่มีอายุกว่า 2,500 ปี ดั่งปรากฎได้จากคำขวัญประจำจังหวัดปราจีนบุรี "ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี" โดยศิลปะแบบทวารวดีในประเทศไทยที่เห็นชัด คือ "พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม" ดั่งที่เห็นได้จากพระเจดีย์รูปแบบศิลปะทวารวดีที่ปรากฏอยู่ในตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์พระปฐมเจดีย์

ทำเนียบผู้บริหาร [2]

แก้

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 27 ท่าน (ไม่นับรวมตำแหน่ง "รักษาราชการแทน") ดังนี้

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 รองอำมาตย์ตรี ถม วันประสาท ครูใหญ่ 23 พฤษภาคม 2465 - 31 พฤษภาคม 2468
2 รองอำมาตย์ตรี บุญสิง บุญค้ำ ครูใหญ่ 1 มิถุนายน 2468 - 22 กรกฎาคม 2472
3 รองอำมาตย์ตรี ขาว โกมลมิศร์ ครูใหญ่ 23 กรกฎาคม 2472 - 11 กรกฎาคม 2478
4 นายสนั่น ศุขสมาน ครูใหญ่ 12 กรกฎาคม 2478 - 4 มีนาคม 2482
5 นายชุบ แก้วเสมา ครูใหญ่ 5 มีนาคม 2482 - 4 กรกฎาคม 2489
6 นายเทพ สมใจ ครูใหญ่ 5 กรกฎาคม 2489 - 7 พฤษภาคม 2492
7 นายเขียว มัณฑรมย์ ครูใหญ่ 8 พฤษภาคม 2492 - 6 พฤษภาคม 2496
8 นายเทพ เวชพงษ์ ครูใหญ่ 7 พฤษภาคม 2496 - 6 พฤษภาคม 2499
9 นายทวี แตงน้อย อาจารย์ใหญ่ 27 มิถุนายน 2499 - 30 กันยายน 2508
10 นายสุชาติ สุขากันยา อาจารย์ใหญ่ 1 สิงหาคม 2508 - 30 กันยายน 2511
11 นายสงบ นันทกิจ อาจารย์ใหญ่ 1 ตุลาคม 2511 - 15 พฤษภาคม 2514
12 นายพัลลภ พัฒนโสภณ ผู้อำนวยการ 16 พฤษภาคม 2514 - 5 พฤศจิกายน 2522
13 นายปจิต สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ 7 พฤศจิกายน 2524 - 24 มิถุนายน 2526
14 นายดำรง อโนภาส ผู้อำนวยการ 4 กรกฎาคม 2526 - 2 กรกฎาคม 2530
15 นายอำนวย ทั่วทิพย์ ผู้อำนวยการ 11 กรกฎาคม 2530 - 16 ตุลาคม 2532
16 นายเจริญ สุขเกษม ผู้อำนวยการ 17 ตุลาคม 2532 - 22 ตุลาคม 2535
17 นายชุมพล บัวคำศรี ผู้อำนวยการ 22 ตุลาคม 2535 - 2 ธันวาคม 2536
18 นายประพันธ์ ไพลดำ ผู้อำนวยการ 2 ธันวาคม 2536 - 4 กรกฎาคม 2537
19 นายไล้ เดชอนันทวิทยา ผู้อำนวยการ 4 กรกฎาคม 2537 - 16 มีนาคม 2542
20 นายทองหล่อ ซุ้ยวงค์ษา ผู้อำนวยการ 17 มีนาคม 2542 - 30 พฤศจิกายน 2542
21 นายอุทัย รัตนพงศ์ ผู้อำนวยการ 20 มกราคม 2543 - 28 ตุลาคม 2544
22 นายสุนันทวิทย์ พลอยขาว ผู้อำนวยการ 30 พฤศจิกายน 2544 - 13 พฤศจิกายน 2546
23 นายสมพงษ์ มะใบ ผู้อำนวยการ 14 พฤศจิกายน 2546 - 30 กันยายน 2554
- นายณรงค์ คงสุข รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน 1 ตุลาคม 2554 – 14 พฤศจิกายน 2555
24 นายมนตรี ชิณศรี ผู้อำนวยการ 14 พฤศจิกายน 2555 – 30 กันยายน 2556
ว่าที่ ร.ต.เมฆิน ลิ้มเจริญ รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน 1 ตุลาคม 2556 – 6 กุมภาพันธ์ 2557
25 นายธนิต บุญกิตติเจริญ ผู้อำนวยการ 7 กุมภาพันธ์ 2557 – 30 กันยายน 2558
26 นายธณัฏฐ์ยศ ถกลประจักษ์ ผู้อำนวยการ 9 พฤศจิกายน 2558 – 30 กันยายน 2560
- นายณัฐวัฒน์ บุญชัยเกียรติ ครูปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาการในตำแหน่ง


1 ตุลาคม 2560 – 25 พฤษภาคม 2561
27 นายสุรศักดิ์ ศรณรินทร์ ผู้อำนวยการ 25 พฤษภาคม 2561 – 30 กันยายน 2566
28 นายอภิเชษฐ์  ชมภู ผู้อำนวยการ 1 ตุลาคม 2566 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ : ตัวเอน คือ ครูหรือรองผู้อำนวยการ ผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒ "อดุลศาสนกิจศึกษา" [3]

แก้
โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒
"อดุลศาสนกิจศึกษา"
Prachinratsadornamroong 2 "Adulsatsanakitsuksa" School
 
ตราสัญลักษณ์
โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒ "อดุลศาสนกิจศึกษา"
ที่ตั้ง
เลขที่ 47/2 หมู่ที่ 2 บ้านสามเรือน ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.ศ.
(พ.ศ.2498 - 2547)
ป.ร.อ.๒ / P.R.A.2
(พ.ศ.2547 - ปัจจุบัน)
ชื่อเดิมโรงเรียนอุดลศาสนกิจศึกษา
(พ.ศ.2498 - 2547)
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนรัฐบาล ขนาดเล็ก
สหศึกษา
คำขวัญนตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี)
สถาปนา14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
(โรงเรียนอุดลศาสนกิจศึกษา)
พ.ศ. 2547 (อายุ 20 ปี)
(โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒ "อดุลศาสนกิจศึกษา")
รหัส1025290267
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายนิรันดร์ กิจวิจารณ์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ม.1 - 6)
สี  น้ำเงิน   ขาว
เพลงมาร์ชเทิดเกียรติ ป.ร.อ.
สังกัดสหวิทยาเขตศรีบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
(เดิม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
จำนวนนักเรียน32 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565)
เว็บไซต์โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒ "อดุลศาสนกิจศึกษา"

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒ "อดุลศาสนกิจศึกษา" (อังกฤษ: Prachinratsadornamroong 2 "Adulsatsanakitsuksa" School ; อักษรย่อ : ป.ร.อ.๒ / P.R.A.2) เป็นโรงเรียนรัฐบาล ประเภทสหศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสหวิทยาเขตศรีบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก (ชื่อเดิม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 47/2 หมู่ที่ 2 บ้านสามเรือน ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2481 (ถนนสายบางน้ำเปรี้ยว - บ้านสร้าง - ปราจีนบุรี) ขาออกเมืองปราจีนบุรี ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 4 [3]

ประวัติ

แก้

โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒ "อดุลศาสนกิจศึกษา" เดิมชื่อว่า “โรงเรียนอดุลศาสนกิจศึกษา” สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 โดยมีท่านพระเดชพระคุณพระมงคลมุนี (ชั้น อตุโล ป.ธ.๔) หรือพระครูอดุลศาสนกิจ (ราชทินนามในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ร่วมกับพันตรีวิเชียร สีมันตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีในขณะนั้น เป็นผู้ดำเนินการขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในพื้นที่ของวัดโบสถ์ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนอดุลศาสนกิจศึกษา” โดยใช้ราชทินนามของพระเดชพระคุณพระมงคลมุนี (ชั้น อตุโล ป.ธ.๔) ณ ขณะนั้น

ปีการศึกษา 2517 มีประชาชนบริจาคที่ดินให้แก่โรงเรียน เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแห่งใหม่ ที่ตำบลบางเดชะ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำบางปะกง

นายทอง นางเชื่อม สุภาพุฒ บริจาคที่ดิน 29 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา และนายเซ้ง นางเฟื้อ คุณวิเศษ  บริจาคที่ดิน 5 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา รวมเป็นพื้นที่ของโรงเรียนทั้งหมด 35 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา

ปีการศึกษา 2518 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก ครึ่งหลัง 8 ห้องเรียน ในที่ดินแห่งใหม่ที่ได้รับบริจาคและได้ย้ายมาอยู่ที่แห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2546 มีการปฏิรูประบบราชการ มีการยุบเลิก กรมสามัญศึกษา เข้ากับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) และกรมวิชาการ กลายเป็น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ทำให้มีการโอนโรงเรียนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) อยู่ในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี

ปีการศึกษา 2547 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ๒ "อดุลศาสนกิจศึกษา" โรงเรียนสาขาของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง

ต่อมาปี พ.ศ. 2553 ย้ายมาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

และในปี พ.ศ. 2564 ย้ายมาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก (สพม.ปจนย) จนถึงปัจจุบัน [3]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


  1. "โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง". data.bopp-obec.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "ประวัติโรงเรียน". โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง.
  3. 3.0 3.1 3.2 "โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง๒". data.bopp-obec.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.