นกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Struthio camelus)[4] จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง สกุล Struthio เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา
นกกระจอกเทศ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 15–0Ma สมัยไมโอซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน | |||||
---|---|---|---|---|---|
สายพันธ์ุแอฟริกาใต้ (S. c. australis) เพศผู้ (ซ้าย) และเพศเมีย | |||||
สถานะการอนุรักษ์ | |||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota | ||||
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia | ||||
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata | ||||
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves | ||||
ชั้นฐาน: | Palaeognathae Palaeognathae | ||||
อันดับ: | Struthioniformes Struthioniformes | ||||
วงศ์: | วงศ์นกกระจอกเทศ Struthionidae | ||||
สกุล: | Struthio Struthio Linnaeus, 1758[3] | ||||
สปีชีส์: | Struthio camelus | ||||
ชื่อทวินาม | |||||
Struthio camelus Linnaeus, 1758[3] | |||||
ชนิดย่อย[3] | |||||
| |||||
การแพร่กระจายในปัจจุบันของนกกระจอกเทศ
|
ลักษณะ
แก้นกตัวผู้มีขนาดโตกว่าตัวเมียมาก ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยขนตามลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก สำหรับตัวเมียจะมีขนตามตัวสีน้ำตาลเทาอ่อน ปากมีลักษณะแบนและกว้างมาก ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศีรษะล้าน มีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อนคล้ายสีครีมหรือผลมะอึก คอยาวและมีขนอ่อนเช่นเดียวกับหัว ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาวพอสมควรแต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับการบิน ซึ่งขนปีกมีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน นกตัวผู้มีลำคอหย่อนยานกว่าตัวเมีย จึงโป่งคอและทำเสียงร้องเลียนแบบสิงโตได้ นกตัวผู้ 1ตัวจะคุมนกตัวเมียหลายตัว
ลักษณะเท้าของนกกระจอกเทศจะพบว่ามีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ ปลายนิ้วทู่ ๆ ใหญ่ ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและนิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มากคือนิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็วของฝีเท้าจะมีนิ้วครบชุดมือ – เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้าเพื่อวิ่งหนีศัตรู ธรรมชาติก็จะวิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่นเท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 160 กิโลกรัม มีอายุยืนได้ถึง 65 – 75 ปี หัวเล็ก คอยาว ตาโต ขนตายาว มีขาใหญ่แข็งแรง บินไม่ได้แต่วิ่งได้เร็ว ลูกนกอายุเพียง 2-3 วันก็จะวิ่งได้แล้ว หากินในทุ่งกว้างเป็นฝูงใหญ่ อยู่ร่วมฝูงกับม้าลายและยีราฟ การต่อสู้ป้องกันตัวของนกกระจอกเทศจะกระโดดเตะได้ ระวังตัวสูง จึงหลบหลีกสัตว์กินเนื้อได้ดี ไข่ของนกกระจอกเทศเป็นไข่นกที่ใหญ่ที่สุดในโลก กินพืช, เมล็ดพืช, ผลไม้สุกและสัตว์ตัวเล็ก ๆ โดยใช้ปากงับแล้วกระดกเข้าลำคอ จากนั้นยืดคอให้ตรง ให้อาหารไหลลงไปตามหลอดอาหารในลำคอ นอกจากนั้น ยังชอบกินของแปลกปลอม โดยเฉพาะสิ่งที่สะท้อนแสงได้ เช่น นาฬิกา, ขวดพลาสติก
ในประเทศไทย ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเหมือนในหลายประเทศ นกกระจอกเทศถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในปลายสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ ตามบันทึกในพงศาวดารคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า ราชทูตชาวอังกฤษนำนกกระจอกเทศพร้อมสิงโตและม้าเทศจากแอฟริกาเข้ามาถวายเป็นบรรณาการ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลี้ยงไว้ในพระราชวัง[5] [6]
นอกจากนี้แล้ว นกกระจอกเทศยังทำให้เกิดความเข้าใจผิดอีกว่า เมื่อเวลาตกใจหรือเกิดความหวาดกลัวขึ้นมาจะใช้หัวซุกหรือมุดลงในทราย จนเป็นที่มาของสำนวนในภาษาอังกฤษว่า "bury your head in the sand like an ostrich" (ซ่อนหัวของคุณในทรายเหมือนนกกระจอกเทศ) อันหมายถึง คนขี้ขลาดหรือคนที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความเป็นจริง แต่ความจริงแล้วนกกระจอกเทศมิได้มีพฤติกรรมเช่นนั้น เชื่อว่าคงจะเป็นการเข้าใจผิดจากการที่มองเห็นนกกระจอกเทศในระยะไกลมากกว่า แท้ที่จริงแล้วคงเป็นพฤติกรรมที่ก้มหัวลงใช้จะงอยปากพลิกไข่ในหลุมขนาดใหญ่วันละหลายครั้งมากกว่า [7]
กายวิภาคศาสตร์ของนกกระจอกเทศ
แก้นกกระจอกเทศมีแผ่นอกที่ใหญ่ ซึ่งปิดบริเวณทรวงอกไว้เพื่อป้องกันหัวใจและตับ มันไม่มีกระดูกทรวงอก ดังนั้นจึงไม่มีตำแหน่งให้กล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับยึดติด มีหัวใจ ปอด และตับอยู่ในช่องทรวงอก ทางเดินอาหารของนกกระจอกเทศนั้นยาวมาก นกกระจอกเทศโตเต็มที่จะมีทางเดินอาหารยาวประมาณ 26 ฟุต และมี caeca ขนาดใหญ่คู่หนึ่ง มีลำไส้ (colon) ยาวประมาณ 60%ของความยาวทั้งหมด
ระบบย่อยอาหาร
แก้นกกระจอกเทศเป็นสัตว์กินพืช (Herbivorous) กระเพาะของนกจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่ แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และส่วนที่สองเป็นกระเพาะแท้ (Proventriculus) เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) บางชนิดเช่น โคและกระบือ เป็นต้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้ดี อาหารของนกกระจอกเทศจึงเป็นพืช ผัก หญ้า และสัตว์ตัวเล็ก เช่น ลูกกบ จิ้งจก หรือแมลงต่าง ๆ นอกจากนี้ นกกระจอกเทศยังจิกกินก้อนหินเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการบดย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะบดด้วย เนื่องจากลำไส้ของนกกระจอกเทศมีความยาวมาก เวลาที่ใช้ในการย่อยจึงนานถึง 36 ชั่วโมง
ระบบทางเดินหายใจ
แก้ระบบทางเดินหายใจของนกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกับนกทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วยปอด และระบบถุงลมที่มีอยู่ในทรวงอกและขยายเข้าไปโพรงกระดูก กระดูกทุกซี่ไม่ได้เป็นโพรงทั้งหมดบางซี่ซึ่งรวมถึงขาท่อนล่างจะมีเปลือกนอกที่หนา นกกระจอกเทศสามารถใช้ระบบถุงลม เพื่อลดความร้อนของร่างกายได้โดยการหอบ อัตราการหายใจปกติของนกอยู่ระหว่าง 7-12 ครั้ง/นาที
ระบบสืบพันธุ์
แก้อวัยวะสืบพันธุ์ของนกกระจอกเทศเพศผู้ประกอบด้วย 2 อัณฑะ อยู่ใน ventral cloaca แต่ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นกกระจอกเทศไม่มีท่อปัสสาวะ
อวัยวะสืบพันธ์เพศเมียประกอบด้วยรังไข่ 1 อัน และมีปุ่มคลิตอริส (Clitoris) เล็ก ๆ อยู่บน ventral cloaca
ในเชิงเศรษฐกิจ
แก้มนุษย์รู้จักและใช้ประโยชน์จากนกกระจอกเทศมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีแล้ว โดยใช้เนื้อและไข่ในการบริโภคส่วนขนในการทำเครื่องประดับและเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ได้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง[7]
สายพันธุ์นกกระจอกเทศ
แก้นกกระจอกเทศมีหลายสี แต่ละสีแสดงพันธุ์ที่แตกต่างกัน แบ่งได้3 ชนิด ตามสีขน ดังนี้
1. นกกระจอกเทศพันธุ์คอดำ (African black domestic หรือ Black Neck) พัฒนามาจากพันธุ์ S.camcius เป็นนกกระจอกเทศที่คนทั่วไปคุ้นเคย อาศัยอยู่ในมอรอคโคและซูดาน ลักษณะผิวหนังจะมีสีเทาดำ ขนสั้นและสีเข้มกว่าพันธุ์อื่นๆ มีนิสัยที่เชื่องมากที่สุดในบรรดานกกระจอกเทศทั้งหมด พันธุ์คอดำ เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดเนื่องจากสามารถให้ไข่ได้ถึง 80 ฟอง/ปี อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ที่มีราคาสูงมาก
2. นกกระจอกเทศพันธุ์คอแดง (Red Neck) มาจากแอฟริกาตะวันออก (แทสมาเนียและเคนยา) เป็นนกกระจอกเทศป่าที่พัฒนามาจากพันธุ์ S.Camssaicus นกกระจอกเทศพันธุ์นี้จะมีผิวสีชมพูเข้ม ตัวผู้มีผิวหนังสีขาวครีมที่ต้นขาและคอ ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ผิวหนังที่ขาและคอจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มค่อนข้างสดใส ตัวผู้มีขนสีดำตลอดลำตัวยกเว้นปลายหางและปลายปีกจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลเทา มีขนาดลำตัวใหญ่มาก สูงประมาณ 2-2.5 เมตร น้ำหนัก 105-165 kg ให้ผลผลิตเนื้อมากแต่ให้ไข่น้อย ตัวผู้ค่อนข้างดุ โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์
3. นกกระจอกเทศพันธุ์คอน้ำเงิน (Blue Neck) มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือ ตะวันตก หรือทางตอนใต้ของแอฟริกาและเป็นนกกระจอกเทศป่า พัฒนามาจากพันธุ์ S. molybdophanes และ S.australis นกกระจอกเทศพันธุ์นี้จะมีผิวหนังสีฟ้าอมเทา ในตัวผู้จะมีผิวหนังสีฟ้าอมเทาบนคอ ขา และต้นขา มีเพียงหน้าแข้งเท่านั้นที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศตัวเมียที่โตเต็มที่จะมีสีฟ้าอมเทา ขนของตัวผู้ที่โตเต็มที่จะเป็นสีดำแซมขาว ในขณะที่ขนของตัวเมียจะมีสีเทาจางๆถึงน้ำตาลเทา ให้เนื้อน้อยกว่าพันธุ์คอแดง แต่ให้ไข่มากกว่า
การเลือกทำเลในการเลี้ยงนกกระจอกเทศ
แก้นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่ป่าโปร่งแบบทุ่งหญ้า พื้นที่ราบแบบทะเลทรายที่มีพืชอาหารที่อุดมสมบูรณ์ นกชนิดนี้มีพฤติกรรมที่วิ่งเร็วมาก ชอบใช้ชีวิตแบบอิสระ และเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย ดังนั้นพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงนกกระจอกเทศ คือ
- พื้นที่เป็นที่ดอน ไม่มีน้ำท่วมขัง สามารถปลูกพืชอาหารสัตว์ได้
- ควรเป็นดินร่วนปนทราย สามารถดูดซับน้ำลงสู่ดินอย่างรวดเร็ว
- ลักษณะอากาศค่อนข้างแห้งแล้งปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1000 มิลลิลิตร/ปี จะเหมาะมาก เพราะนกกระจอกเทศไม่ชอบอากาศชื้นแฉะ
- ห่างไกลจากแหล่งชุมชนพอสมควร ควรเลี้ยงแบบอิสระเพื่อไม่ให้นกเครียด
- มีแหล่งน้ำที่สะอาดสามารถให้นกกินได้ตลอดปี
การผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศ
แก้นกกระจอกเทศถ้าปล่อยเลี้ยงธรรมชาติจะถึงอายุผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้อายุราว 3-4 ปีขึ้นไปส่วนเพศเมียอายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ขึ้นไป แต่นกกระจอกเทศที่เลี้ยงเป็นฟาร์ม จะผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้มีอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป เพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและการจัดการเป็นหลัก อัตราส่วนการผสมพันธุ์คือ เพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1-3 ตัว นกกระจอกเทศจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็นและแห้ง ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม
วิธีการผสมพันธุ์
แก้นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาการเป็นสัด โดยการนั่งลงบนพื้นด้วยข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไปตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการเป็นสัด โดยกางปีกออกสั่น แต่ไม่เหมือนตัวผู้ เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวไปตามพื้น แต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้ง แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมีย เพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัวเมีย ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 3 นาทีเท่านั้น แต่ถ้าหากเลี้ยงนกกระจอกเทศเพศผู้และเพศเมียรวมกัน ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ ควรแยกตัวผู้ออกจากฝูงตัวเมีย โดยไม่ให้ตัวผู้เห็นตัวเมียเลย เพราะจะทำให้ฮอร์โมนเพศผู้สูงขึ้น ทำให้การผสมพันธุ์ติดดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
- อาหารมีคุณภาพดีและเหมาะสม
- ความสมบูรณ์ของก้น
- อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม
ส่วนข้อพิจารณาความเหมาะสมของคู่พันธุ์ ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
- ปริมาณไข่ต่อปี
- อัตราของไข่มีเชื้อ
- อัตราการฟักออกเป็นตัว
- อัตราการตายของลูกนก
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงนกกระจอกเทศ
แก้ปัญหาที่พบในการเลี้ยงนกกระจอกเทศมีดังนี้
- ลูกนกมีมาตรฐานอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ ปัญหานี้อาจมีผลมาจากภาวะโภชนาการไม่ดี ไข่ถูกเก็บไว้นานเกินไป กระบวนการฟักไม่ถูกต้อง หรือห้องฟักไม่ถูกสุขอนามัย
- ขาดอาหาร ถ้าลูกนกไม่เรียนรู้การกินอาหารใน 2-3 วันแรก ในไม่ช้าพวกมันจะเริ่มไม่มีสี ดังนั้นควรดูแลว่าลูกนกชอบอาหารที่ให้ไปหรือไม่
- ความเครียด สาเหตุเกิดจากการถูกจับมากเกินไป หรือการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เป็นต้น
- พฤติกรรมที่ผิดปกติ เกิดจากความเครียดทำให้ลูกนกแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติออกมา
- ปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ส่วนมากเป็นเรื่องของการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี มีลูกนกมากเกินไป หรือการให้ความอบอุ่นไม่เป็นผล
- ปรสิตทั้งภายในและภายนอกและโรคต่าง ๆ ควรกำจัดปรสิตเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ควรกำจัดหมัดขนนกและเห็บด้วยสเปรย์กำจัดปรสิตภายนอก และย้ายลูกนกออกไปเพื่อทำความสะอาดคอกอย่างสม่ำเสมอ
- ปัญหาการซื้อ ถ้าหากนกกระจอกเทศถูกเปลี่ยนเจ้าของบ่อย ๆ ลูกนกอาจปรับสภาพไม่ทันทำให้ตายได้
- นำไปไว้ในฝูงเร็วเกินไป นกกระจอกเทศจะไม่ได้รับการออกกำลังกายที่เพียงพอในพื้นที่ที่ล้อมรั้วไว้ ก็อาจเป็นสาเหตุของความเครียดได้เช่นกัน
- มีลูกนกมากเกินไปในพื้นที่จำกัด ปัญหานี้อาจทำให้ลูกนกเกิดความเครียด การกินขน และการได้รับอาหารน้อย
- นกป่า ปัญหาที่มีนกป่ามาก่อกวนทำให้ลูกนกตื่นกลัวและไม่มีสมาธิในการกินอาหาร
- การจัดสรรอาหารและน้ำ สามารถให้อาหารเสริมที่ทำมาจากหญ้าผสมข้าวโพด เพื่อเป็นการลดรายจ่ายในการซื้ออาหารเสริมที่แพง ๆ ได้ และควรมีน้ำดื่มที่เพียงพอตลอดเวลา
- การเก็บขน ลูกนกอายุ 6 เดือนควรเล็มก้านขนนก, อายุ7 เดือน ควรถอนขนร่างกายที่เจริญเต็มที่, อายุ 8 เดือนถอนขนนก
โรคที่พบในนกกระจอกเทศ
แก้สาเหตุของโรคส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้และโภชนาการด้านอาหารที่ไม่เหมาะสม โรคที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ โรคดังต่อไปนี้
- โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม (Nematoda) เป็นสาเหตุของการระคายตาและเป็นขี้ตา
- โรคที่เกิดจากโพรโทซัว (Protozoa) ทำให้นกสูญเสียขน
- โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) เกิดโรคฝีดาษ
- โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial Diseases) เป็นสาเหตุของโรคตาแดง
- โรคที่เกิดจากเชื้อรา (Fungal infection) ทำให้เกิดโรคขาดสารอาหาร
การรักษา
แก้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดในนกกระจอกเทศสามารถทำได้ดังนี้
- อาจใช้ยาปฏิชีวนะ
- ถ่ายพยาธิเป็นประจำ
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ
รูปภาพ
แก้-
การจับคู่
-
ไข่นกกระจอกเทศ
-
เท้า
หมายเหตุ
แก้- ↑ เฉพาะประชากรในแอลจีเรีย บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด มาลี มอริเตเนีย โมร็อกโก ไนเจอร์ ไนจีเรีย เซเนกัล และซูดาน ประชากรบริเวณอื่นไม่ได้นับรวมใน CITES Appendices
อ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2018). "Struthio camelus". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T45020636A132189458. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T45020636A132189458.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 14 January 2022.
- ↑ 3.0 3.1 Brands, Sheila (14 August 2008). "Systema Naturae 2000 / Classification, Genus Struthio". Project: The Taxonomicon. สืบค้นเมื่อ 4 February 2009.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานสัตว์ อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2540.
- ↑ หน้า 151, คำให้การชาวกรุงเก่า โดย สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ (พ.ศ. 2544) ISBN 974-87895-7-8
- ↑ "การเลี้ยงนกกระจอกเทศ". กรมปศุสัตว์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-08-19.
- ↑ 7.0 7.1 หน้า 8 ทัศนะ, นกกระจอกเทศ ก้อนเมฆ และปัญหา. "กรุงเทพธุรกิจ อาหารสมอง" โดย วรากรณ์ สามโกเศศ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 31 ฉบับที่ 10645: วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560