อำเภอกันทรารมย์
กันทรารมย์ [กัน-ทะ-รา-รม][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่บนเส้นทางหลักเชื่อมระหว่างจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งการขนส่งทางบก และการขนส่งทางรางรถไฟ
อำเภอกันทรารมย์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kanthararom |
คำขวัญ: กันทรารมย์อุดมพริกหอมกระเทียม ยอดเยี่ยมกลองตุ้ม ปลาชุมมูลชี หม้อดินดีโพนทราย มีฝายหัวนา งามสง่าพระมงคลมิ่งเมือง | |
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอกันทรารมย์ | |
พิกัด: 15°6′24″N 104°34′12″E / 15.10667°N 104.57000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 664.21 ตร.กม. (256.45 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 99,389 คน |
• ความหนาแน่น | 149.64 คน/ตร.กม. (387.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 33130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3303 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกันทรารมย์ หมู่ที่ 5 ถนนประชารังสฤษดิ์ ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 33130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อนึ่ง ในอำเภอกันทรารมย์ไม่มีตำบลที่ชื่อ "กันทรารมย์" ส่วนตำบลกันทรารมย์นั้นตั้งอยู่ในเขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอกันทรารมย์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเขื่องใน (จังหวัดอุบลราชธานี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ และอำเภอสำโรง (จังหวัดอุบลราชธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโนนคูณและอำเภอน้ำเกลี้ยง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองศรีสะเกษและอำเภอยางชุมน้อย
ประวัติ
แก้อำเภอกันทรารมย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2443 ชื่อว่าอำเภออุไทยศีร์ษะเกษ ตั้งอยู่ที่บ้านพันทา ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ มีหลวงพิศาลบรมศักดิ์ ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองของท้องถิ่นนี้เป็นนายอำเภอคนแรก และได้ขึ้นการปกครองอยู่กับมณฑลอุบลราชธานี ต่อมาได้ยุบมณฑลอุบลราชธานี ตั้งเป็นจังหวัด อำเภอกลางศีร์ษะเกษ อำเภอปัจจิมศีร์ษะเกษ และอำเภออุไทยศีร์ษะเกษ จึงได้แยกย้ายกันไปตั้งอยู่แห่งใหม่
เมื่อปี พ.ศ. 2449 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภออุไทยศีร์ษะเกษ จากบ้านพันทา ไปตั้งอยู่ที่บ้านท่าช้าง ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ ในปัจจุบันทางฝั่งขวาริมแม่น้ำมูล เพื่ออาศัยแม่น้ำมูลเป็นเส้นทางคมนาคมสัญจรไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ตลอดทั้งการไปติดต่อราชการ จังหวัดจะได้สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัยกว่าเดิมมาก ขณะที่กำลังก่อสร้างอาคารที่ว่าการยังไม่แล้วเสร็จ ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงานจึงได้ไปอาศัยศาลา วัดบ้านหนองกก ตำบลยาง ในปัจจุบันเป็น ที่ทำการชั่วคราว จนถึง พ.ศ. 2451 จึงได้ย้ายที่ทำการจากศาลาวัดบ้านหนองกก ไปปฏิบัติราชการอยู่ที่ที่ว่าการอำเภอที่ตำบลหนองบัว
เมื่อ พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยศีร์ษะเกษ เป็นอำเภอกันทรารมย์ โดยเอาชื่อเมืองกันทรารมย์ ที่ถูกยุบลงเป็นตำบลกันทรารมย์ บ้านลุมพุก ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน มาเป็นชื่อของอำเภอเพราะต้องการรักษาชื่อเมืองและอนุรักษ์ชื่อ เมืองกันทรารมย์เดิม อันปรากฏในประวัติศาสตร์ไว้ คำว่า อำเภอกันทรารมย์มาจาก 2 คำรวม กันทรา และ รมย์ คำว่า กันทรา หมายความว่า ถ้ำ ซอกเขา ลำน้ำ คำว่า รมย์ หมายความว่าความร่มรื่นหรือความรื่นรมย์ กันทรารมย์จึงหมายความว่า ลำน้ำแห่งความรื่นรมย์ ซึ่งหมายถึงลำน้ำมูลหรือห้วยสำราญ
- วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยศีร์ษะเกษ จังหวัดขุขันธ์ มณฑลอุบลราชธานี เป็น อำเภอกันทรารมย์[2]
- วันที่ 26 ตุลาคม 2467 โอนพื้นที่ตำบลบัวน้อย และตำบลอีปาด อำเภอคง (อำเภอราษีไศล) มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์[3]
- วันที่ 19 พฤษภาคม 2472 โอนพื้นที่ตำบลโนนค้อ (11 หมู่บ้าน) จากอำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และโอนพื้นที่ 2 หมู่บ้าน (ที่เหลือ) ของตำบลโนนค้อ อำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ และโอนพื้นที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลละทาย จากอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์[4]
- วันที่ 3 กันยายน 2476 โอนพื้นที่ตำบลตูม ของอำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับอำเภอน้ำอ้อม (อำเภอกันทรลักษ์)[5]
- วันที่ 14 มีนาคม 2479 โอนพื้นที่หมู่ 12,13,16 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองน้อย ไปขึ้นกับตำบลบัวน้อย[6]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 โอนพื้นที่ตำบลทาม ตำบลหนองแวง และตำบลหนองแก้ว ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และโอนพื้นที่ตำบลโนนค้อ หมู่ 1,2,3,4,5,6 (ในขณะนั้น) กับหมู่ 22,23 ตำบลหนองไฮ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์[7]
- วันที่ 2 มกราคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลยาง ไปขึ้นกับตำบลโนนสัง[8]
- วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 โอนพื้นที่ตำบลตำแย (ยกเว้นหมู่บ้านบัวระรมย์) ของอำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ และโอนพื้นที่หมู่บ้านเขวาทะนัง ของตำบลบก อำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับตำบลเสียว อำเภอกันทรลักษ์[9]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลตองปิด แยกออกจากตำบลละเอาะ และตำบลจาน ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลดู่ และตำบลยาง ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลหนองแก้ว ตั้งตำบลเมืองน้อย แยกออกจากตำบลละทาย และตำบลบัวน้อย ตั้งตำบลอีปาด แยกออกจากตำบลบัวน้อย ตั้งตำบลทาม แยกออกจากตำบลละทาย[10]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกันทรารมย์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลดูน[11]
- วันที่ 30 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลโพธิ์ แยกออกจากตำบลบก และตั้งตำบลโนนผึ้ง แยกออกจากตำบลโนนสัง[12]
- วันที่ 29 ตุลาคม 2511 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโนนผึ้ง เป็นตำบลโนนสัง และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโนนสัง เป็นตำบลหนองหัวช้าง[13]
- วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลหนองกุง แยกออกจากตำบลโนนค้อ[14]
- วันที่ 6 กันยายน 2520 แยกพื้นที่ตำบลโนนค้อ ตำบลโพธิ์ ตำบลบก และตำบลหนองกุง จากอำเภอกันทรารมย์ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอโนนคูณ และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกันทรารมย์[15]
- วันที่ 7 มกราคม 2529 แยกพื้นที่ตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลละเอาะ ตำบลตองปิด และตำบลเขิน จากอำเภอกันทรารมย์ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกันทรารมย์[16]
- วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลเขิน แยกออกจากตำบลน้ำเกลี้ยง[17]
- วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลเหล่ากวาง แยกออกจากตำบลโพธิ์[18]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอโนนคูณ อำเภอกันทรารมย์ เป็น อำเภอโนนคูณ[19]
- วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกันทรารมย์[20] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลคำเนียม แยกออกจากตำบลดูน[21]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลรุ่งระวี แยกออกจากตำบลละเอาะ และตำบลเขิน[22]
- วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ เป็น อำเภอน้ำเกลี้ยง[23]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกันทรารมย์ เป็นเทศบาลตำบลกันทรารมย์[24] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอกันทรารมย์แบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 16 ตำบล 175 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ดูน | (Dun) | 14 หมู่บ้าน | 9. | เมืองน้อย | (Mueang Noi) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | โนนสัง | (Non Sang) | 14 หมู่บ้าน | 10. | อีปาด | (I Pat) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||
3. | หนองหัวช้าง | (Nong Hua Chang) | 12 หมู่บ้าน | 11. | บัวน้อย | (Bua Noi) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||||
4. | ยาง | (Yang) | 12 หมู่บ้าน | 12. | หนองบัว | (Nong Bua) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||
5. | หนองแวง | (Nong Waeng) | 11 หมู่บ้าน | 13. | ดู่ | (Du) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
6. | หนองแก้ว | (Nong Kaeo) | 7 หมู่บ้าน | 14. | ผักแพว | (Phak Phaeo) | 18 หมู่บ้าน | ||||||||||||
7. | ทาม | (Tham) | 11 หมู่บ้าน | 15. | จาน | (Chan) | 15 หมู่บ้าน | ||||||||||||
8. | ละทาย | (Lathai) | 9 หมู่บ้าน | 16. | คำเนียม | (Kham Niam) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอกันทรารมย์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกันทรารมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดูน (เฉพาะหมู่ที่ 2, 5, 6, 9, 12, 13)
- องค์การบริหารส่วนตำบลดูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดูน (เฉพาะหมู่ที่ 1, 3, 4, 7, 8, 10, 11, 14)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหัวช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลละทาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละทายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอีปาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอีปาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบัวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลผักแพว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักแพวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำเนียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำเนียมทั้งตำบล
การขนส่ง
แก้อำเภอกันทรารมย์เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟกันทรารมย์ โดยเป็นสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการจำนวนมาก และมีขบวนรถไฟโดยสารจอดทุกขบวน อาทิ รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา (23), รถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 21 และรถด่วนดีเซลรางที่ 71
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1536–1537. October 12, 1913. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่อำเภอคง จังหวัดขุขันธ์ สำหรับตำบลลิ้นฟ้า ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอศรีสะเกษ และตำบลบัวน้อย กับตำบลอีปาด ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอกันทรารมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 185. October 26, 1924.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ง): 514–515. May 19, 1929.
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งได้ยุบโอนและตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 50 (0 ก): 521–522. September 3, 1933.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดขุขันธ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 4065. March 14, 1936.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3285–3286. January 2, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. February 18, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 71-72. November 28, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (112 ง): 3389–3391. December 30, 1958.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. October 29, 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (83 ง): 2446–2450. September 1, 1970.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโนนคูณ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (82 ง): 3665. September 6, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 157. January 7, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 56-81. October 10, 1986.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย และกิ่งอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (218 ง): 6103–6118. December 11, 1986.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): (ฉบับพิเศษ) 33-37. December 31, 1987.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกันทรารมย์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (125 ง): 4610–4611. July 2, 1987.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 45-53. October 18, 1989.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-83. August 17, 1990.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. June 3, 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.