อำเภอเขื่องใน

อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย

เขื่องใน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอำเภอเขื่องในเป็นจุดกำเนิดของสมญานามเมืองนักปราชญ์ ในสมัยพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลคณาภิบาล สังฆปาโมกข์(สุ้ย ป.ธ.๓)เจ้าคุณรูปแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา และอำเภอเขื่องในยังเป็นที่ตั้งชุมชนชาวกุลา (ไทยใหญ่) ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโนนใหญ่ ต.ก่อเอ้ จนเกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่สุดของชาวกุลาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อำเภอเขื่องใน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khuang Nai
คำขวัญ: 
เขื่องในหนองธรรมชาติ ธรรมาสน์สิงห์งามเด่น สุขสงบเย็นบึงเขาหลวง เลอสรวงลำน้ำชี ไหมมัดหมี่ภูมิปัญญา ปวงประชาพาใฝ่ธรรม งามล้ำพระใหญ่ พุทธสถานศูนย์รวมใจเทิดไท้องราชันย์
หรือ
มะพร้าวเผารสดี ฝั่งชีงามล้ำ หัตถกรรมหมอนขิต กระชับมิตรไก่ย่าง น้องนางข้าวหอมมะลิ วิเวกวัดป่าบึงเขาหลวง ประทับทรวงรำมองเซิง[1]
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอเขื่องใน
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอเขื่องใน
พิกัด: 15°23′24″N 104°33′6″E / 15.39000°N 104.55167°E / 15.39000; 104.55167
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด772.8 ตร.กม. (298.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด107,090 คน
 • ความหนาแน่น138.57 คน/ตร.กม. (358.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 34150, 34320 (เฉพาะตำบลกลางใหญ่ โนนรัง บ้านไทย และบ้านกอก)
รหัสภูมิศาสตร์3404
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเขื่องใน ถนนแจ้งสนิท ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 34150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอเขื่องในมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเขื่องในแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 18 ตำบล 183 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เขื่องใน (Khueang Nai) 14 หมู่บ้าน 10. ธาตุน้อย (That Noi) 10 หมู่บ้าน
2. สร้างถ่อ (Sang Tho) 16 หมู่บ้าน 11. บ้านไทย (Ban Thai) 12 หมู่บ้าน
3. ค้อทอง (Kho Thong) 11 หมู่บ้าน 12. บ้านกอก (Ban Kok) 6 หมู่บ้าน
4. ก่อเอ้ (Ko Ae) 12 หมู่บ้าน 13. กลางใหญ่ (Klang Yai) 11 หมู่บ้าน
5. หัวดอน (Hua Don) 11 หมู่บ้าน 14. โนนรัง (Non Rang) 7 หมู่บ้าน
6. ชีทวน (Chi Thuan) 11 หมู่บ้าน 15. ยางขี้นก (Yang Khi Nok) 10 หมู่บ้าน
7. ท่าไห (Tha Hai) 13 หมู่บ้าน 16. ศรีสุข (Si Suk) 8 หมู่บ้าน
8. นาคำใหญ่ (Na Kham Yai) 8 หมู่บ้าน 17. สหธาตุ (Saha-that) 7 หมู่บ้าน
9. แดงหม้อ (Daeng Mo) 6 หมู่บ้าน 18. หนองเหล่า (Nong Lao) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเขื่องในประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเขื่องใน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขื่องใน
  • เทศบาลตำบลบ้านกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกอกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลห้วยเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขื่องใน (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่องในเดิม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างถ่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค้อทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก่อเอ้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชีทวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชีทวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไหทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแดงหม้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไทยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลางใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนรังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางขี้นกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสุขทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสหธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสหธาตุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหล่าทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • ธรรมาสสิงห์เทินบุษบก
  • ขัวน้อย
  • วัดทุ่งศรีวิไล
  • พุทธสถานครองราชย์ 60ปี พระใหญ่เขื่องใน
  • วัดป่าบึงเขาหลวง
  • ต้นยางนาใหญ่รางวัลชนะเลิศอัน1และ2 ชุมชนผักแว่น
  • วัฒนธรรมชาวกุลาดำ บ้านโนนใหญ่
  • หมู่บ้านนวัตวิถี ตำบลยางขี้นก
  • ทะเลหนองใหญ่
  • สวนสาธารณะหนองเขื่อง

จุดกำเนิดอุบลราชธานีเมืองนักปราชญ์ แก้

ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๓๖๗ เป็นสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรีขึ้นเสวยราชสมบัติ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ในขณะนั้น ด้วยการที่ท่านเจ้าประคุณฯมีความรู้แตกฉานในการศึกษายิ่ง และสมณะวัตร การปฏิบัติอันงดงามของท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ฯ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ จึงได้โปรดเกล้าแต่งตั้งสมณะศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะ มีพระราชทินนามที่ พระอริวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ แล้วโปรดแต่งตั้งให้กลับมารับตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ชั้นปกครอง ณ เมืองอุบลราชธานี พร้อมทั้งทรงโปรดให้อัญเชิญรอยพระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศ พระพุทธรูป ตลอดจนเครื่องประกอบสมณศักดิ์ เช่น มีพัดยอด ปักทอง ขวางด้ามงา แต่ไม่มีแฉก และย่ามปักทองขวาง ฝาบาตรมุก และของพระราชทานอื่นๆ มาด้วย ท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ นับเป็น เจ้าคุณรูปแรกแห่ง ภาคอีสาน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ท่านได้กลับมาพำนัก ณ วัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) โดยทางส่วนบ้านเมืองได้สร้างกุฏิแดง เป็นกุฏิไม้ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยผสมล้านช้างที่งดงามและโดดเด่นยิ่ง เพื่อใช้เป็นที่จำพรรษาของท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ฯ หลังจากนั้นท่านได้ไปนั่งภาวนาจิต ปฏิธรรมกรรมฐานบริเวณชายดงอู่ผึ่ง เพราะมีสายน้ำไหลผ่านจึงได้สร้างวัดขึ้นคือวัดทุ่งศรีเมือง และ วัดสวนสวรรค์บริเวณทิศตะวันออกของวัดทุ่งศรีเมือง (ภายหลังวัดสวนสรรค์ยุบวัดสร้างเป็นที่พักข้าหลวงสมัยรัชกาลที่ ๕) ภายในวัดทุ่งศรีเมืองท่านได้สร้างหอพระพุทธบาท ภายในหอพระพุทธบาทยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับชาดกในพระพุทธศาสนา มีลักษณะงดงามตามศิลปะไทยอีกด้วย และหอไตร เป็นศิลปะสกุลช่างไทย ลาว พม่าที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวที่งดงามยิ่ง      ท่านได้นำรูปแบบ การศึกษาพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติพระกรรมฐาน การเรียนการสอนภาษาไทย จัดการการกระจายอำนาจบริหารโดยได้มอบหมายให้พระที่ทรงคุณวุฒิ มีความเป็นผู้นำ มีความรู้ทางพระปริยัติธรรมดี จัดการดูแลสำนักเรียนต่างๆ การกระทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการกระจายอำนาจปกครองแล้วยังเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เกิดแก่ชุมชนในที่ต่างๆของภาคอีสานด้วย นับว่ายุคนั้นหากใครที่ต้องการเล่าเรียนศึกษาต้องเดินทางมาที่เมืองอุบลดอกบัวแห่งนี้ นี่คือต้นเค้าแห่งความเจริญทางปริยัติธรรม หนังสือไทยศิลปวัฒนธรรมอย่างภาคกลาง ท่านได้นำไปแนะนำประสานให้เกิดความเข้าใจ เกิดความสงบเรียบร้อยเป็นปึกแผ่นในหัวเมืองอีสาน อันเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เมืองอุบลราชธานี เป็นศูนย์กลางการศึกษาทุก ๆ ด้าน จนมีผู้สนใจมาศึกษาเล่าเรียนจากทั่วสารทิศ นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผิดพ้องหมองใจกันของประชาชน และท่านยังเป็นที่ปรึกษาในการปกครองให้ฝ่ายบ้านเมืองให้มีความรักสามัคคีมีธรรมเป็นที่ตั้ง ประชาชนชาวอีสานต่างให้ความเคารพยำเกรงท่านมาก จึงมีคำกล่าวติดปากชาวเมืองอุบลราชธานี ว่า ...“ท่านเจ้า”.      ท่านได้กำกับดูแล แพร่เผยการศึกษา ในหัวเมืองอีสาน ได้แก่ “ขุขันธ์,สุรินทร์,สังขะ,ศรีสะเกษ,เดชอุดม,นครจำปาศักดิ์,สาระวัน,ทองคำใหญ่,สีทันดร,เชียงแตง,แสนปาง,อัตตะปือ,มุกดาหาร,เขมราช,โขงเจียม,สะเมีย,อุบลราชธานี,ยโสธร,นครพนม,ท่าอุเทน,สกลนคร,ไชยบุรี,กาฬสินธุ์,ร้อยเอ็ด,สุวรรณภูมิ,หนองคาย,หนองละหาน,ขอนแก่น,อุดร,ชนบท,ภูเวียง และปากเหือง”จนถึงสิ้นรัชกาลที่ ๓      พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ จึงเป็นพระสงฆ์ยุคแรกที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษาให้แก่เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทำให้เมืองอุบลราชธานี เป็นราชธานีแห่งอีสาน รุ่งเรืองด้วยศาสนาศิลปวัฒนธรรม ตลอดสกุลช่างเฉพาะเมืองอุบลสืบต่อมาถึงปัจจุบัน จนได้รับการขนานนามว่า “เมืองนักปราชญ์” เพราะการปฏิบัติงานได้เป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่งขึ้น ต่อมาจึงได้นำสมณศักดิ์ของท่าน มาเป็นพระนามในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช คือ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณพระมหาเถระผู้มีคุณูปการยิ่ง ต่อการนำพระศาสนามาประสานกับบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขแก่ผืนแผ่นดิน

อีกประการหนึ่งท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหารได้กล่าวในหนังสือ "กิ่งธรรม"เกี่ยวกับพระอริยวงศาจารย์ ไว้ว่า “ท่านเจ้าคณะ พระอริยวงศาจารย์ และมีสร้อยอยู่ ๒ ตอนว่าญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ ได้ขึ้นมาอยู่จังหวัดอุบลราชธานี และอยู่ที่วัดป่าน้อย เพราะเหตุที่ท่านเป็นพระที่สำคัญของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก็ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หาได้ยากมากในเมืองไทยในเวลานั้น ที่พระสงฆ์ในหัวเมืองจะเป็นชั้นพระราชาคณะ ไม่เหมือนปัจจุบันนี้ และเป็นคนอุบลราชธานีอีกด้วย หลังจากท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดป่าน้อยจนเป็นหลักฐานดีแล้ว ได้ไปสร้างวัดอีกวัดหนึ่ง คือ วัดทุ่งศรีเมือง ทราบว่าท่านไปนั่งกรรมฐานที่นั่น ต่อมาทราบว่าที่วัดทุ่งศรืเมือง ก็มีรอยพระพุทธบาทได้ทราบว่าเป็นรอยพระพุทธบาทจากวัดสระเกศฯ และได้ทราบจากฝรั่งคนหนึ่งก่อนว่า พระบาทที่วัดทุ่งศรีเมือง เป็นพระบาทที่มาจากวัดสระเกศฯ”

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงจากงาน ๑๐๑ ปี อำเภอเขื่องใน