เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก คือเจ้าคณะใหญ่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออกคือภาค8 ภาค9 ภาค10 ภาค11 ภาค12
เจ้าคณะใหญ่ หนตะวันออก | |
---|---|
ที่พำนัก | วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ โดยพระบรมราชโองการ |
วาระ | ไม่ได้กำหนด |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | พระธีรปัญญาวิมล (ช่วง อาสโภ) |
เงินเดือน | 23,900 บาท[1] |
ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม[2]
มหาเถรสมาคมจึงตรา "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์" กำหนดให้เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 8 ภาค 9 ภาค 10 ภาค 11 และภาค 12[3]
ขอบเขตการปกครองในหนตะวันออกแก้ไข
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก มีเขตปกครองคณะสงฆ์ระดับภาค 5 ภาค ได้แก่ ดังต่อไปนี้
- ภาค 8 มี 6 จังหวัดในเขตการปกครอง ได้แก่ อุดรธานี, หนองคาย,เลย,สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ
- ภาค 9 มี 5 จังหวัดในเขตการปกครอง ได้แก่ ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด
- ภาค 10 มี 6 จังหวัดในเขตการปกครอง ได้แก่ อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครพนม, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ
- ภาค 11 มี 4 จังหวัดในเขตการปกครอง ได้แก่ นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์
- ภาค 12 มี 4 จังหวัดในเขตการปกครอง ได้แก่ ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว
รวมทั้งหมด มีจังหวัดที่อยู่ในขอบเขตการปกครองดูแลของเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกทั้งสิ้น 25 จังหวัด
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกรูปปัจจุบันคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
อำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกแก้ไข
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก มีอำนาจหน้าที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดต่างๆ ในเขตภาคการปกครองของตนตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้
- ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
- ควบคุมและส่งเสริมการรักษาความเรียบร้อยดีงาม การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ให้ดำเนินไปด้วยดี
- วินิจฉัยการลงนิคหกรรม วินิจฉัยข้ออุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชั้นจังหวัด
- แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะจังหวัดให้เป็นไปโดยชอบ
- ตรวจการและประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครอง ของตนเอง
ทำเนียบเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535, หน้า 8
- ↑ กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์