เจ้าคณะใหญ่ (เดิม: มหาสังฆนายก) เป็นตำแหน่งทางปกครองของคณะสงฆ์ไทยโดยพระสังฆาธิการระดับสูง รองจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยแบ่งการปกครอง ดังนี้

เจ้าคณะใหญ่
จวนวัดราษฎร์, วัดพระอารามหลวง
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ โดยพระราชดำริ
สมเด็จพระสังฆราช โดยพระบัญชาแต่งตั้ง
สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่
มหาเถรสมาคม โดยมีมติเห็นชอบ
วาระตลอดชีวิต
เงินตอบแทน23,900 บาท[1]

การแบ่งการปกครอง

แก้

มี 4 ตำแหน่ง ปกครองคณะสงฆ์มหานิกายทั่วประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย

แก้

มีตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ 1 ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายทั่วประเทศ

คณะสงฆ์จีนนิกาย

แก้

เป็นคณะสงฆ์นิกายมหายานของชาวไทยเชื้อสายจีน ถือกำเนิดมาจากชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนผืนแผ่นดินไทย มีตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ 1 ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ปกครองคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย

คณะสงฆ์อนัมนิกาย

แก้

เป็นคณะสงฆ์นิกายมหายาน ซึ่งสืบมาจากประเทศเวียดนาม (พระญวน) ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนผืนแผ่นดินไทย มีตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ 1 ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย ปกครองคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย

คุณสมบัติ

แก้

ตามกฎมหาเถรสมาคม ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ กำหนดคุณสมบัติไว้ดังนี้

(1) มีพรรษาสมควรแก่ตำแหน่ง

(2) มีความรู้สมควรแก่ตำแหน่ง

(3) มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย

(4) เป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองคณะสงฆ์

(5) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคเรื้อน หรือเป็นวัณโรคในระยะอันตรายจนเป็นที่น่ารังเกียจ

(6) ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน

(7) ไม่เคยถูกถอดถอนหรือถูกปลดจากตำแหน่งใด เพราะความผิดมาก่อน

คุณสมบัติโดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง (เฉพาะคณะสงฆ์ 2 นิกายหลักของไทย)

ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ในปัจจุบัน

แก้
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
เจ้าคณะใหญ่หนใต้
เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย

อ้างอิง

แก้
  1. "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)