เจ้าคณะใหญ่หนใต้
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เป็นตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ ภาคใต้ของประเทศไทย
เจ้าคณะใหญ่หนใต้ | |
---|---|
จวน | วัดพระอารามหลวง,วัดราษฎร์ |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ โดยพระราชดำริ สมเด็จพระสังฆราช โดยมีพระบัญชาแต่งตั้ง มหาเถรสมาคม โดยมีมติเห็นชอบ |
วาระ | ตลอดชีวิต |
เงินตอบแทน | 23,900 บาท[1] |
ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม[2]
มหาเถรสมาคมจึงตรา "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์" กำหนดให้เจ้าคณะใหญ่หนใต้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 16 ภาค 17 ภาค 18[3]
ขอบเขตการปกครองในหนใต้
แก้เจ้าคณะใหญ่หนใต้ มีเขตปกครองคณะสงฆ์ระดับภาค 3 ภาค ได้แก่ ดังต่อไปนี้
- ภาค 16 ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฏร์ธานี
- ภาค 17 ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดตรัง, จังหวัดกระบี่, จังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง
- ภาค 18 ได้แก่ จังหวัดสงขลา, จังหวัดพัทลุง, จังหวัดสตูล, จังหวัดปัตตานี, จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส
รวมทั้งหมด มีจังหวัดที่อยู่ในขอบเขตการปกครองดูแลของเจ้าคณะใหญ่หนใต้ทั้งสิ้น 14 จังหวัด
เจ้าคณะใหญ่หนใต้รูปปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง[4]
อำนาจหน้าที่
แก้เจ้าคณะใหญ่หนใต้ มีอำนาจหน้าที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดต่าง ๆ ในเขตภาคการปกครองของตนตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้
- ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
- ควบคุมและส่งเสริมการรักษาความเรียบร้อยดีงาม การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ให้ดำเนินไปด้วยดี
- วินิจฉัยการลงนิคหกรรม วินิจฉัยข้ออุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชั้นจังหวัด
- แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะจังหวัดให้เป็นไปโดยชอบ
- ตรวจการและประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครอง ของตนเอง
ทำเนียบเจ้าคณะใหญ่หนใต้
แก้ลำดับ | รูป | รายนาม/สมณศักดิ์ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | วัด |
1 | พระวิสุทธิวงศาจารย์ (สุง ธญฺญาโภ) | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2534 | วัดพิชยญาติการามวรวิหาร | |
2 | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2539 | วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร | |
3 | พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ) | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2549 | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร | |
4 | สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) | พ.ศ. 2550 | ปัจจุบัน | วัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง |
อ้างอิง
แก้- ↑ "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535, หน้า 8
- ↑ กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
- ↑ https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1428837221