พระสังฆาธิการ
พระสังฆาธิการ หมายถึง พระภิกษุผู้มีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ไทย นับตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปจนถึงเจ้าคณะภาค[1]
ตำแหน่งแก้ไข
ตาม "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ" คือพระภิกษุที่ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้[2]
- เจ้าคณะใหญ่
- เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค
- เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด
- เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ
- เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล
- เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
การแต่งตั้งพระสังฆาธิการแก้ไข
พระภิกษุที่จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้[2]
- มีพรรษาสมควรแก่ตำแหน่ง
- มีความรู้สมควรแก่ตำแหน่ง
- มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย
- เป็นผู้มีความสามารถในการปกครองคณะสงฆ์
- ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน
- ไม่เคยถูกถอดถอน หรือถูกปลดจากตำแหน่งใด เพราะความผิดมาก่อน
การพ้นจากตำแหน่งพระสังฆาธิการแก้ไข
พระสังฆาธิการจะพ้นจากตำแหน่งก็ต่อเมื่อ[2]
- มรณภาพ
- พ้นจากความเป็นภิกษุ
- ลาออก
- ย้ายออกไปนอกเขตที่ตนมีสำนักอยู่
- ยกเป็นกิตติมศักดิ์
- รับตำแหน่งหน้าที่อื่น
- ให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่
- ถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่
- ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหน้าที่
ตำแหน่งที่ไม่ใช่พระสังฆาธิการแก้ไข
- สมเด็จพระสังฆราช
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- แม่กองบาลีสนามหลวง
- แม่กองธรรมสนามหลวง
- แม่กองพระธรรมทูต
- พระอุปัชฌาย์
ที่ปรึกษาเจ้าคณะแก้ไข
พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะขึ้นไปที่ทำหน้าที่จนอายุ 80 ปีบริบูรณ์จะได้รับการยกย่องเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ หรือในกรณีที่ยังหาผู้ดำรงตำแหน่งแทนไม่ได้ ทางมหาเถรสมาคมจะพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งเดิมต่อไปอีกไม่เกิน 3 ปี แล้วแต่กรณี[2]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 1,200. ISBN 978-616-7073-56-9
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ". วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help)