พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระพรหมโมลี นามเดิม สุชาติ สอดสี ฉายา ธมฺมรตโน กรรมการมหาเถรสมาคม,ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ, เจ้าคณะภาค 5,เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ,แม่กองบาลีสนามหลวง,เลขานุการแม่กองงานพระธรรมทูต,รองประธานคณะพระธรรมจาริก,หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3,อดีตประธานคณะเลขานุการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช,อดีตเลขานุการประธานสมัชชามหาคณิสสร
พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) | |
---|---|
![]() | |
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ชื่ออื่น | ท่านเจ้าคุณพระมหาสุชาติ ป.ธ.9 |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก,ป.ธ.9,พธ.บ.,ศษ.บ. |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 |
พรรษา | 47 พรรษา |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม,ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ,เจ้าคณะภาค 5 เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ,แม่กองบาลีสนามหลวง |
ประวัติ แก้
ชาติกำเนิด แก้
พระพรหมโมลี มีนามเดิมว่า สุชาติ นามสกุล สอดสี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ปีมะเมีย ณ บ้านบางงาม ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
บรรพชา - อุปสมบท แก้
พระพรหมโมลี บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2508 ณ วัดเกาะ ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีพระครูวรนาถรังษี หรือหลวงพ่อปุย วัดเกาะ เป็นพระอุปัชฌาย์
บรรพชาศึกษาเล่าเรียนจวบจนสอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ต่อมาอุปสมบทเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า "ธมฺมรตโน"
วิทยฐานะ แก้
- พ.ศ. 2507 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดเกาะ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2510 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2519 สอบไล่ได้ปริญญาบัตร เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2527 จบการศึกษาปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2529 จบการศึกษาปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตำแหน่ง แก้
งานปกครอง แก้
- พ.ศ. 2530 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2538 - 2540 เป็นรองเจ้าคณะภาค 7 (จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน)
- พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
- พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน เป็นเจ้าคณะภาค 5 (จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก)
- พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- 30 กันยายน พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 รักษาการเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ[1] กรุงเทพมหานคร
งานการศึกษา แก้
- พ.ศ. 2519 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2519 เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2520 เป็นกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2537 - 2557 เป็นเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง
- เป็นกรรมการสภา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
งานเผยแผ่ แก้
- พ.ศ. 2531 เป็นเลขานุการแม่กองงานพระธรรมทูต
- พ.ศ. 2535 เป็นรองหัวหน้าฝึกอบรมพระธรรมทูต
- พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน เป็นหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 3
- พ.ศ. 2551- ปัจุบัน เป็นรองประธานคณะพระธรรมจาริก
งานพิเศษ แก้
- พ.ศ. 2548 เป็นคณะกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.)
- พ.ศ. 2557 ประธานคณะเลขานุการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
- พ.ศ. 2557 เลขานุการประธานสมัชชามหาคณิสสร
สมณศักดิ์,พัดยศ แก้
- พ.ศ. 2519 สอบไล่ได้ปริญญาบัตรเปรียญธรรม 9 ประโยค มีสมณศักดิ์พัดยศทางวิชาการเปรียญธรรม ที่ พระมหาสุชาติ ธมฺมรตโน
- พ.ศ. 2530 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ สัญญาบัตร พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีศาสนวงศ์,(สป.)[2]
- พ.ศ. 2535 รับพระราชทานเลื่อนสัญญาบัตรสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชพุทธิญาณวงศ์ ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- พ.ศ. 2542 รับพระราชทานเลื่อนสัญญาบัตรสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพมุนี ศรีปริยัติวรกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- พ.ศ. 2547 รับพระราชทานเลื่อนสัญญาบัตรสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปัญญาภรณ์ สุนทรธรรมปฏิบัติ ปริยัติวิธานวิศิษฐ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- พ.ศ. 2554 รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมโมลี ศรีสังฆโสภณ วิมลศีลาจารนิวิฐ ปริยัติกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
ก่อนหน้า | พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) | เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พ.ศ. 2565 — ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง | ||
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) | ไฟล์:ตราบาลี.gif แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง | ||
พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) | รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |
อ้างอิง แก้
- ↑ แต่งตั้ง "พระพรหมโมลี" รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯ แทน "สมเด็จช่วง"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 2530, เล่ม 104, ตอนที่ 253 ฉบับพิเศษ, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 12
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101 ฉบับพิเศษ, 12 สิงหาคม 2535, หน้า 8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอนที่ 17 ข, 15 กันยายน 2547, หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 129, ตอนที่ 8 ข, 5 มีนาคม 2555, หน้า 3-5