สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นามเดิม นิยม จันทนินทร ฉายา านิสฺสโร (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2554) เป็นอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม านิสฺสโร) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 (88 ปี) |
มรณภาพ | 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 9 ประโยค นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 10 มีนาคม พ.ศ. 2487 |
พรรษา | 67 |
ตำแหน่ง | อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร |
ประวัติ
แก้ชาติภูมิ
แก้สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มีนามเดิมว่า นิยม จันทนินทร เกิดวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน ณ บ้านท่าหิน ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1] บิดามารดาชื่อนายโหร่ง-นางฮิ่ม จันทนินทร
บรรพชาและอุปสมบท
แก้บรรพชาสามเณร ณ วัดกะสังข์ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2479 โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูโบราณคณิสสร) วัดตองปุ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ อายุได้ 14 ปี
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2487 โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระโบราณคณิสสร) วัดพนัญเชิง ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาธุกิจการี (ขม) วัดประดู่ทรงธรรม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานิสฺสโร”
การศึกษา
แก้เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เรียนหนังสือวัด ประถม ก กา และมูลบทบรรพกิจ ในสำนักเจ้าอธิการอุ่น วัดหันตรา ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
อายุ 13 ปี เรียนนักธรรมบาลี ณ สำนักเรียนวัดตองปุ ต.บ้านเกาะ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2480 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวันตองปุ
- พ.ศ. 2482 สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวันตองปุ
- พ.ศ. 2485 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดราชบุรณะ
- พ.ศ. 2486 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดราชบุรณะ
- พ.ศ. 2487 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักเรียนวัดราชบุรณะ
- พ.ศ. 2489 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค สำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
- พ.ศ. 2492 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค สำนักเรียนวัดสระเกศ
- พ.ศ. 2495 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค สำนักเรียนวัดสระเกศ
- พ.ศ. 2498 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดสระเกศ
งานการศึกษา และงานปกครองคณะสงฆ์
แก้- พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรม-บาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2500-2502 เป็นครูสอนนักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดสามพระยา
- พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าคณะภาค 13, เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม และพระอุปัชฌาย์วิสามัญ
- พ.ศ. 2509 เป็นเจ้าสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดชนะสงคราม
- พ.ศ. 2529 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. 2534 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนใต้
- พ.ศ. 2539 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
- พ.ศ. 2547 เป็นผู้ช่วยผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[2]
- พ.ศ. 2547 เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[3]
ลำดับสมณศักดิ์
แก้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรด พระราชทานแต่งตั้ง เลื่อน และสถาปนาสมณศักดิ์โดยลำดับ ดังนี้
- พ.ศ. 2505 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติโสภณ[4]
- พ.ศ. 2507 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชโมลี ศรีปาวจนาภรณ์ สุนทรธรรมพาที ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- พ.ศ. 2511 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโสภณ วิมลคัมภีรญาณ ศาสนกิจวิธานเมธี ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- พ.ศ. 2515 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายกปริยัติธาดา พุทธศาสนกิจคณาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุล สุนทรวรนายก ดิลกกิจจานุกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- พ.ศ. 2535 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ พรหมวิหารวราธิมุต วิสุทธศีลาจารนิวิฐ พิพิธกิจจานุกิจโกศล วิมลหิตานุหิตดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[9]
มรณภาพ
แก้สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งตับ ณ กุฎิ คณะ 1 วัดชนะสงคราม เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 01.00 น.[10] ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ ภายหลังได้เลื่อนชั้นเป็นโกศมณฑปตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 179-180. ISBN 974-417-530-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอนพิเศษ 3 ง, 14 มกราคม 2547, หน้า 28-32
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๔๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 121, ตอนพิเศษ 79 ง, 20 กรกฎาคม 2547, หน้า 1-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอน 3 ง ฉบับพิเศษ, 4 มกราคม 2505, หน้า 9
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 81, ตอน 118 ง ฉบับพิเศษ, 17 ธันวาคม 2507, หน้า 3-4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 85, ตอน 122 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2511, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 89, ตอน 202 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2515, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอน 35 ก ฉบับพิเศษ, 4 มีนาคม 2531, หน้า 5-7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 110, ตอน 19 ก ฉบับพิเศษ, 19 กุมภาพันธ์ 2536, หน้า 1-3
- ↑ "สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ถึงมรณภาพ" (PDF). มหาเถรสมาคม. 21 มีนาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ สมุดภาพสมเด็จพระมหาธีราจารย์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2554.
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) |
เจ้าคณะใหญ่หนกลาง (พ.ศ. 2539 – 2554) |
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) |