สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ นามเดิม สมศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์ ฉายา อุปสโม เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จังหวัดนครปฐม

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์

(สมศักดิ์ อุปสโม)
ส่วนบุคคล
เกิด2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 (78 ปี)
มรณภาพ28 มิถุนายน พ.ศ. 2562
นิกายมหานิกาย
การศึกษาป.ธ.9, น.ธ.เอก, MA, Ph.D
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพิชยญาติการามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท5 เมษายน พ.ศ. 2504
พรรษา58
ตำแหน่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
อดีตเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร
และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จังหวัดนครปฐม

ประวัติ

แก้

ชาติภูมิ

แก้

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีนามเดิมว่า สมศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 บิดา-มารดาชื่อนายเหลี่ยมและนางสำลี ชูมาลัยวงศ์ ชาติภูมิอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 2 ต.ปากจั่น อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อุปสมบท

แก้

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2504 ณ พัทธสีมาวัดละมุด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูนครวิหารคุณ (ฟัก) วัดบันได เป็นพระอุปัชฌาย์ ,พระอธิการเมี้ยน วัดละมุด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า อุปสโม มีความหมายว่า ผู้มีจิตใจสงบในธรรมอันลึกซึ้ง

วิทยฐานะ

แก้
แผนกนักธรรม-บาลี
แผนกสามัญ
  • พ.ศ. 2494 สำเร็จประถมศึกษาปีที่ 4
  • พ.ศ. 2519 สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์เอเชียโบราณ) จากมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย
  • พ.ศ. 2519 สำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ประวัติศาสตร์เอเชียโบราณ) จากมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

ตำแหน่ง

แก้

การปกครอง

แก้

การศึกษา

แก้

ลำดับสมณศักดิ์

แก้

สมณศักดิ์ไทย

แก้
  • พ.ศ. 2516 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระศรีสุทธิพงศ์[2]
  • พ.ศ. 2531 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติโมลี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2536 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติโมลี ศรีปาพจนานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2541 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโมลี ศรีปริยัตโยดม วิกรมธรรมธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี[5]
  • พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏที่ พระพรหมโมลี ศรีสังฆโสภณ วิมลสีลาจารนิวิฐ พิพิธคัมภีร์ปริวรรตธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม[6]
  • พ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ พรหมวิหารธำรงวราธิมุต วิสุทธิศีลาจารนิวิฐ ภาวนากิจสุวิธาน ไพศาลหิตานุหิตดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[7]

สมณศักดิ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ, เล่ม 126, ตอนพิเศษ 2 ง, 7 มกราคม 2552, หน้า 40
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 105, ตอนที่ 177 ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม 2516, หน้า 7
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอนที่ 207 ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม 2531, หน้า 3
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 110, ตอนที่ 202 ฉบับพิเศษ, 6 ธันวาคม 2536, หน้า 2
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 115, ตอนที่ 24 ข, 9 ธันวาคม 2541, หน้า 5
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 10 ข, 28 เมษายน 2549, หน้า 1-4
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 129, ตอนที่ 8 ข, 5 มีนาคม 2555, หน้า 1-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) ถัดไป
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)    
เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
(พ.ศ. 2554 - 2562)
  พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนกลาง