ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งรักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และใช้อำนาจในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก บัญชาการคณะสงฆ์ คณะสงฆ์อื่นโดยมหาเถรสมาคมคัดเลือกสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามามรถปฏิบัติหน้าที่ได้แต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[2] และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละออธุลีพระบาท ในระหว่างที่ยังไม่ได้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ใหม่ หรือสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างทรงประชวร รักษาพระอาการประชวร ออกบัญชาการคณะสงฆ์ คณะสงฆ์อื่นไม่ได้ หรืออยู่ในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปฏิบัติศาสนากิจในราชกิจในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช | |
---|---|
การเรียกขาน | เจ้าพระคุณสมเด็จ |
จวน | วัดพระอารามหลวง,วัดราษฎร์ |
ผู้แต่งตั้ง | พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 |
เงินตอบแทน | 30,800 บาท[1] |
การปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
แก้เมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช
แก้ถ้าไม่มีสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์จะปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จนกว่าจะมีสมเด็จพระสังฆราช ถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจทำหน้าที่ได้ กรรมการมหาเถรสมาคมจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน[3]
เมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
แก้เมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่อยู่ในประเทศ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระสังฆราชจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งรูปใดให้ปฏิบัติหน้าที่แทน[4]
ถ้าไม่ได้แต่งตั้ง หรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์จะปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชแทน และถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจทำหน้าที่ได้ กรรมการมหาเถรสมาคมจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน[5]
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในกรณีข้างต้นนี้ อาจเป็นสมเด็จพระราชาคณะกลุ่มหนึ่งก็ได้ แล้วแต่สมเด็จพระสังฆราช หรือกรรมการมหาเถรสมาคมจะเห็นสมควร คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจะดำเนินกิจกรรมตามวิธีการที่ตนเองกำหนด และอาจมีผู้ช่วยหรือที่ปรึกษาด้วย[6]
สมัยสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
แก้ระหว่างดำรงพระชนม์
แก้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ประชวรและประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545[7] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2547[8] เพื่อเปิดให้มีการแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ประชวรและประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะ 7 รูป จากพระอาราม 7 แห่ง ทั้งมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ครั้งนั้น มอบหมายให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นประธาน[9][10]
ยุคคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2547
แก้ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
แก้ชื่อ | วัด | นิกาย | วาระ | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่ม | สิ้นสุด | สาเหตุของการสิ้นสุด | |||
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) | วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร | มหานิกาย | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2556 | มรณภาพ |
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) | วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ | พ.ศ. 2556 | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์[11] |
สมาชิกคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
แก้ชื่อ | วัด | นิกาย | วาระ | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่ม | สิ้นสุด | สาเหตุของการสิ้นสุด | |||
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร) | วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร | ธรรมยุติกนิกาย | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2550 | มรณภาพ |
สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) | วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร | พ.ศ. 2552 | |||
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) | วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร | มหานิกาย | พ.ศ. 2553 | ||
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) | วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร | พ.ศ. 2554 | |||
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) | วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร | ธรรมยุติกนิกาย | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์[11] | |
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร | พ.ศ. 2556 | |||
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | ||||
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) | วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร | ||||
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) | วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร | มหานิกาย | |||
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) | วัดพิชยญาติการามวรวิหาร |
หลังสิ้นพระชนม์
แก้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจึงสิ้นสุดลงในวันรุ่งขึ้น[11] ระหว่างที่ยังไม่มีการตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ได้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557[11]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม". ssc.onab.go.th.
- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคสาม
- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคสี่
- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคห้า
- ↑ แถลงการณ์ ฉ.1 สมเด็จพระสังฆราช อาการประชวรดีขึ้น หลังผ่าตัดลำไส้, 14 ตุลาคม 2556, ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2547, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 121 ตอนพิเศษ 34 ก หน้า 1, 17 กรกฎาคม 2547.
- ↑ ประกาศมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 20/2547 เรื่อง การแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79 ง หน้า 1, 20 กรกฎาคม 2547.
- ↑ สำนักนายกฯ แถลง “สมเด็จญาณฯ” ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชแต่เพียงพระองค์เดียว เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์, 3 พฤศจิกายน 2548.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "สมเด็จวัดปากน้ำรับตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช". Nation Channel. 2014-01-03. สืบค้นเมื่อ 2014-01-03.[ลิงก์เสีย]
- รายการอ้างอิง
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2552-05-19). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505.[ลิงก์เสีย] [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556-11-11).