สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) (นามเดิม: พุฒ สุวัฒนกุล) (11 มีนาคม พ.ศ. 2451 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2553) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

(พุฒ สุวฑฺฒโน)
ชื่ออื่นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
ส่วนบุคคล
เกิด11 มีนาคม พ.ศ. 2451 (102 ปี)
มรณภาพ26 มีนาคม พ.ศ. 2553
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 7 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2471
พรรษา82 พรรษา พรรษา
ตำแหน่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร

ประวัติ แก้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่า พุฒ สุวัฒนกุล เกิดเมื่อวันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2451 (นับแบบเดิมจะเป็น พ.ศ. 2450) เป็นบุตรของนายเพ็ชร สุวัฒนกุล กับนางคำ สุวัฒนกุล ชาติภูมิเป็นชาวบ้านมะขามเรียง ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สมณศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2471 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ใช้ชื่อสมณศักดิ์ทางวิชาการด้านเปรียญธรรมเป็น พระมหาพุฒ สุวฑฺฒโน
  • พ.ศ. 2493 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระพุทธิญาณมุนี[1]
  • พ.ศ. 2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชพุทธิญาณ ปฏิภาณสุตคุณ วิบุลธรรมาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
  • พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพญาณสุธี ศรีธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมราชานุวัตร ประสิทธิธรรมปฏิบัติ สรรพอรรถโกศล วิมลญาณสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2521 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ญาณวิสุทธจริยาปริณายก ตรีปิฎกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์ สาธุการีธรรมากรสุนทรศีลาทิขันธ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกวราลังการ ไพศาลอรรถธรรมโกศล วิมลศีลคุณากร สาทรศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[6]

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 67, ตอน 67, วันที่ 12 ธันวาคม 2493, หน้า 6321
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์[ลิงก์เสีย], เล่ม 76, ตอนที่ 115, วันที่ 16 ธันวาคม 2502, ฉบับพิเศษ หน้า 8
  3. ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 89, ตอน 202, วันที่ 31 ธันวาคม 2515, ฉบับพิเศษ หน้า 2
  5. ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 113, ตอนที่ 13 ข, วันที่ 2 กรกฎาคม 2539, หน้า 7-8