สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะแก่พระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ | |
---|---|
การเรียกขาน | ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ |
จวน | พระอารามหลวงหรือวัดราษฎร์ |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ตลอดชีพ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | พระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) |
ประวัติ
แก้พระพุทธโฆสะเป็นพระคันถรจนาจารย์เถระชาวอินเดียใต้ ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ฝ่ายเถรวาท ได้ประพันธ์วรรณกรรมบาลีไว้หลายเล่ม เช่น วิสุทธิมรรค สมันตปาสาทิกา เป็นต้น ในสุวรรณภูมิจึงมีการใช้นามของท่านเป็นราชทินนามสำหรับพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดในด้านคันถธุระ[1]
ในพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเขารังแร้ง ว่าเป็นพระอรหันต์ผู้ห้ามทัพพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกรุงเชียงแสนไม่ให้ตีเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนสมัยอาณาจักรศรีอยุธยาก็มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดอโยธยา ได้แต่ง "ราโชวาทชาดก" ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[2] และสมัยสมเด็จพระเพทราชามีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อยู่วัดพุทไธศวรรย์
ในทำเนียบ "ตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงนอกกรุง ครั้งกรุงเก่า" ปรากฏชื่อพระพุทธโฆษา วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระราชาคณะในคณะคามวาสีฝ่ายขวา[3] ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ (บางรูปเป็นเจ้าคณะกลาง) ตอนแรกมีสมณศักดิ์ระหว่างชั้นธรรมกับเจ้าคณะรอง ต่อมายกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะจวบจนปัจจุบัน
ฐานานุกรม
แก้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 10 รูป ดังนี้
- พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ ญาณธาดามหาสังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต
|
|
ผู้ได้รับสมณศักดิ์
แก้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระเถระได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระพุทธโฆษาจารย์ ดังนี้
อ้างอิง
แก้- ↑ วิเชียร อากาศฤกษ์ และสุนทร สุภูตะโยธิน, ประวัติสมณศักดิ์และพัดยศ , กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศรีอนันต์, 2528, หน้า 29
- ↑ "วัดอโยธยา". สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 290. ISBN 974-417-530-3