วัดราชบุรณราชวรวิหาร
13°44′32.4018″N 100°29′56.8998″E / 13.742333833°N 100.499138833°E
วัดราชบุรณราชวรวิหาร | |
---|---|
พระอุโบสถและพระปรางค์วัดราชบุรณราชวรวิหาร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | |
ชื่อสามัญ | วัดเลียบ |
ที่ตั้ง | แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
ประเภท | พระอารามหลวง ชั้นโท |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | พระพุทธมหาราช |
เจ้าอาวาส | พระธรรมวชิรนายก (ปรีชา อภิวณฺโณ) |
หมายเหตุ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดราชบุรณราชวรวิหาร |
ขึ้นเมื่อ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000043 |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดเลียบ" ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ และวัดราชประดิษฐาน
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณะ"
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และโรงไฟฟ้าวัดเลียบ (ปัจจุบันคือการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ) สถานที่สำคัญต่าง ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด เหลือแต่พระปรางค์องค์ใหญ่หน้าพระอุโบสถเพียงองค์เดียว[1] จนต้องประกาศยุบวัดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488
ต่อมาใน พ.ศ. 2491 ผู้มีศรัทธาได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์จนตั้งเป็นวัดได้ตามเดิมในปีเดียวกัน ก่อนจะได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513[2]
-
พระพุทธมหาราช (พระประธานในพระอุโบสถ)
-
พระพุทธมหาราช (พระประธานในพระอุโบสถ)
-
พระพุทธปรางค์ซึ่งเหลือรอดมาจากสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
-
พระอุโบสถจตุรมุข
ทำเนียบเจ้าอาวาส
แก้ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดราชบุรณราชวรวิหาร อดีตถึงปัจจุบัน เท่าที่พบข้อมูล[3][4][5]
ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | พระพรหมมุนี | - | - | เจ้าอาวาส, เดิมเป็นพระญาณไตรโลก สมัยกรุงธนบุรี |
2 | สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) | พ.ศ. 2334 | พ.ศ. 2359 | เจ้าอาวาส, ย้ายไปประทับ ณ วัดมหาธาตุฯ |
3 | สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) | พ.ศ. 2359 | พ.ศ. 2392 | เจ้าอาวาส, สิ้นพระชนม์ |
4 | พระธรรมวโรดม (สมบุญ, สมบูรณ์) ป.ธ.4 | พ.ศ. 2397 | พ.ศ. 2415 | เจ้าอาวาส, ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ |
5 | พระธรรมภาณพิลาศ (ผ่อง) ป.ธ.8 | พ.ศ. 2415 | พ.ศ. 2421 | เจ้าอาวาส, ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส |
6 | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป) ป.ธ.7 | พ.ศ. 2421 | พ.ศ. 2446 | เจ้าอาวาส, มรณภาพ |
7 | พระราชโมลี (แจ่ม โกวิทญาโณ) ป.ธ.6 | พ.ศ. 2446 | พ.ศ. 2448 | เจ้าอาวาส, ภายหลังลาสิกขา |
8 | พระธรรมดิลก (อิ่ม จนฺทสิริ) ป.ธ.4 | พ.ศ. 2448 | พ.ศ. 2466 | เจ้าอาวาส, มรณภาพ |
9 | พระราชโมลี (ช้อน โสณุตฺตโร) ป.ธ.6 | พ.ศ. 2466 | พ.ศ. 2468 | เจ้าอาวาส, ถูกถอดสมณศักดิ์, ลาสิกขา |
10 | พระธรรมดิลก (โสม ฉนฺโน) ป.ธ.5 | พ.ศ. 2469 | พ.ศ. 2488 | เจ้าอาวาส, ยุบเลิกวัด, ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม |
11 | พระราชพฤฒาจารย์ (เชียง อินฺทโชโต) | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2499 | รักษาการ |
พ.ศ. 2499 | พ.ศ. 2535 | เจ้าอาวาส, มรณภาพ | ||
12 | พระศรีวิสุทธิโมลี (ชุบ มหาวีโร) ป.ธ.9 | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2539 | รักษาการ |
13 | พระธรรมวชิรนายก (ปรีชา อภิวณฺโณ) ป.ธ.9 | พ.ศ. 2540 | - | เจ้าอาวาส, ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ "สุดยอดงานศิลปะในวัดหลวง 11 แห่งใจกลางพระนครที่เป็นเหมือน Art Gallery ชั้นดี". เดอะคลาวด์.
- ↑ "วัดราชบุรณะ". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ คณะศิษย์. (2522). ความเป็นมาของวัดราชบุรณะราชวรวิหาร คณะศิษยานุศิษย์จัดพิมพ์ถวายพระคุณาจารวัตร. กรุงเทพฯ: ทวีพิมพ์ดี.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ, วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ เคยเป็นที่ประทับสังฆราชถึง 2 พระองค์, 20 เมษายน 2567
- ↑ พระครูสิริวรรณวิวัฒน์. (2535). ประวัติการพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.