การทิ้งระเบิดจังหวัดพระนครในสงครามโลกครั้งที่สอง

เมืองหลวงของประเทศไทย กรุงเทพมหานครได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2488 ซึ่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2487 ได้เริ่มใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด โบอิง บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส

การทิ้งระเบิดกรุงเทพมหานคร
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก

ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดสะพานพระราม 6
วันที่7 มกราคม พ.ศ. 2485 – 14 เมษายน พ.ศ. 2488
สถานที่
คู่สงคราม

ภูมิหลัง

แก้
 
โบอิง บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส

โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เข้าเป็นพันธมิตรทางทหารกับจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ในระยะแรกญี่ปุ่นได้อาศัยไทยเป็นแหล่งเสบียงและขนส่งกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อทำสงครามในพม่าและอินเดีย จนกระทั่งเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มได้เปรียบในการรบที่พม่าและได้เริ่มผลักดันให้ญี่ปุ่นถอยไป ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรอาจทำการโจมตีประเทศไทยจากทางฝั่งพม่า ดังนั้นญี่ปุ่นจึงได้จัดตั้ง ”กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” ขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 เพื่อให้เป็นกองกำลังสำหรับการสู้รบ โดยการป้องกันรักษากรุงเทพและประเทศไทยจากการรุกรานของสัมพันธมิตร โดยญี่ปุ่นได้ตั้งฐานทัพในไทยอย่างเป็นทางการ

ในภารกิจการทิ้งระเบิดในไทยครั้งแรก ฝ่ายสหรัฐได้เริ่มใช้เครื่องบินโบอิง บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส เพื่อโจมตีเป้าหมายในกรุงเทพฯ เป็นการทดลอง ก่อนที่มันจะถูกส่งไปยังปฎิบัติการทิ้งระเบิดในหมู่เกาะบ้านเกิดญี่ปุ่น[1] การตัดสินใจใช้เครื่องบิน บี-29 เพื่อทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ ย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ. 2486 และได้มีการกล่าวถึงในแถลงการณ์ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ซึ่งรูสเวลต์แนะนำว่าพวกเขาควรใช้ระเบิดโจมตีท่าเรือและทางรถไฟ[2]

การระเบิดของอังกฤษและอเมริกายังได้รับความช่วยเหลือจากขบวนการเสรีไทยซึ่งเป็นขบวนการกองโจรทางพลเรือนต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งสนับสนุนพันธมิตร ตัวแทนของขบวนการเสรีไทยมีส่วนสำคัญในการกำหนดเป้าหมายสำหรับเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรและที่ตั้งของตำแหน่งญี่ปุ่นและรายงานสภาพอากาศเหนือเป้าหมาย

เป้าหมาย

แก้

สะพานพระราม 6

แก้
 
เครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดที่สะพานพระราม 6

ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2488 สะพานพระราม 6 ได้ตกเป็นเป้าหมายในการถูกฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดยสหรัฐฯ และอังกฤษ โดยทางสหรัฐได้ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-24 ของสหรัฐฯ ทิ้งระเบิด 4 ลูกลงทั้งสองฝั่งของสะพานที่เชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

การทิ้งระเบิดสะพานพระราม 6 มีเป้าหมายเพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์ที่ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่านสำคัญในการสู้รบ ซึ่งนอกจากสะพานแห่งนี้แล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรยังโจมตีพื้นที่ยุทธศาสตร์อื่นๆ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย โรงไฟฟ้าวัดเลียบ เป็นต้น ขณะเดียวกันยังเป็นการกดดันรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามให้ยุติการเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่นอีกด้วย

โรงไฟฟ้าวัดเลียบ

แก้
 
โรงไฟฟ้าวัดเลียบเสียหายจากการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินอังกฤษ
 
โรงไฟฟ้าวัดเลียบได้รับความเสียหาย

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2488 ฝ่ายอังกฤษได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดบริเวณโรงไฟฟ้าวัดเลียบ หลังจากโรงไฟฟ้าวัดเลียบถูกทำลาย ทำให้พระนครไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้เป็นเวลานานถึงสองเดือน จนกว่าโรงไฟฟ้าจะซ่อมแล้วเสร็จ อีกทั้งการทิ้งระเบิดมีการทิ้งผิดเป้าหมายที่ต้องการเป็นจำนวนไม่น้อย ทำให้สถานที่ทางวัฒนธรรม เช่น วัดราชบุรณราชวรวิหาร ทำให้ภาพวาดของขรัวอินโข่งได้รับความเสียหาย

คลองภาษีเจริญ

แก้
 
ชุมชนใกล้ประตูน้ำคลองภาษีเจริญถูกทิ้งระเบิดโจมตี

เครื่องบินทิ้งระเบิด Consolidated B-24 Liberator ของฝูงบินหมายเลข 356 Squadron ได้ถูกส่งมาทำลายประตูน้ำของคลองภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2488 ซึ่งทางสหรัฐได้สืบทราบข้อมูลว่าเป็นเส้นทางน้ำที่ทหารญี่ปุ่นในไทยใช้ในการเดินทางและลำเลียงอุปกรณ์ทางทหารต่างๆต่างๆ จึงส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด 6 ลำ จากฝูงบินหมายเลข 356 ทำลายประตูน้ำคลองภาษีเจริญ และคลองดำเนินสะดวก ทั้งหมด 4 จุด ซึ่งบินจากแม่น้ำท่าจีนมุ่งมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา จากเอกสารระบุเพียงความเสียหายของสถานที่ ไม่มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ

การต่อต้าน

แก้

ฝ่ายไทย

แก้
 
เครื่องบินขับไล่ คิ-43 ของกองทัพอากาศไทย

ทางกองทัพอากาศไทยได้รับเครื่องบินขับไล่รุ่น นากาจิมะ คิ-43 ฮายาบูซะ สังกัดกองทัพบก ทั้งหมด 24 ลำ โดยโอนมาจากเกาะชวาตามคำสั่งของผู้นำจักรวรรดิญี่ปุ่น ฮิเดกิ โตโจได้นำส่งมอบให้กองทัพไทยโดยทางไทยต้องมารับเองที่เกาะโชนัน(สิงคโปร์)

ทางกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นต่อสู้สกัดกั้น แต่ไม่ได้ผลเพราะเครื่องบินที่มีสมรรถนะต่ำกว่า และต่อมาในระยะหลังที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี-29 ซึ่งจะบินมาเป็นหมู่ในระยะสูง ปืนต่อสู้อากาศยานยิงไม่ถึง จึงได้มีการมาทิ้งระเบิดเวลากลางวันอย่างเสรี อีกทั้งรัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการทิ้งระเบิด เมื่อมาถึงทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอเสียงดังเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น หลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด ตลอดจนลงไปอยู่ในหลุมที่ทางการจัดสร้างไว้ เป็นต้น ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือนขบวนคาราวาน โดยชานเมืองที่ผู้คนนิยมไปกันเป็นจำนวนมากคือ บริเวณถนนสุขุมวิท ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า บางกะปิ[ต้องการอ้างอิง]

ฝ่ายญี่ปุ่น

แก้
 
กองทัพญี่ปุ่นในไทย

กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยนั้นอยู่ภายใต้การบัญชาการของพลโทอาเกโตะ นากามูระ

นอกจากนี้ฝ่ายญี่ปุ่นได้เอาปืนต่อสู้อากาศยานขึ้นไปตั้งบนภูเขาทอง (พระบรมบรรพต)ยิงเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรที่มาทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพฯ ทำให้โครงสร้างภูเขาทองได้รับความเสียหายอย่างมาก

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Bombers Over Japan, Evening Post, Volume CXXXVII, Issue 142, 17 June 1944, Page 7
  2. R-418/9 memo, Churchill and Roosevelt - The Complete Correspondence - II Alliance Forged, Warren F. Kimball, Princeton University Press, New Jersey, 1984, page 617