สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม โสม ศุภเทศ ฉายา ฉนฺโน เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดราชบุรณราชวรวิหาร เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และประธานคณะวินัยธร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2417 (88 ปี 215 วัน ปี) |
มรณภาพ | 18 กันยายน พ.ศ. 2505 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 5 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 22 เมษายน พ.ศ. 2439 |
พรรษา | 67 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ประธานคณะวินัยธร |
ประวัติ
แก้สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า โสม ศุภเทศ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2417 เป็นบุตรของนายเทศ-นางภุม ศุภเทศ ภูมิลำเนาอยู่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ศึกษาในสำนักพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชาลังกาแก้ว (ทองอยู่) วัดโพธาราม จนอายุได้ 15 ปีจึงบรรพชาเป็นสามเณรแล้วเดินทางมาอาศัยกับพระราชมุนี (ปุ่น ปุณณโก) ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ศึกษาภาษาบาลีกับอาจารย์หลายท่าน เช่น พระราชมุนี (ปุ่น) พระยาธรรมปรีชา (บุญ) อาจารย์เอื้อม เป็นต้น ถึงปี พ.ศ. 2439 พระราชมุนีจึงพาไปอุปสมบทเป็น ณ วัดชีปะขาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระโพธิวงศาจารย์ (วิญญู รตนโชติ) ขณะยังเป็นพระปริยัติวงศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์แย้ม วัดสามกุฎี และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) ขณะเป็นพระศรีสมโพธิ์ เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่าฉนฺโน บวชแล้วกลับมาอยู่วัดอรุณฯ ดังเดิม
พ.ศ. 2445 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค[1]
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2449 ได้รับแต่งตั้งจากพระเทพมุนี (อิ่ม จนฺทสิริ) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูปลัด
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2457 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิเชียรธรรมคุณาธาร[2]
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที ตรีปิฎกภูษิต ธรรมบัณฑิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ พระเทพเวที ตรีปิฎกคุณ สุนทรธรรมภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 1 มีนาคม พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมดิลก ศากยบุตตินายก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2490 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยาปริณายก ตรีปิฎกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์ สาธุการีธรรมากร สุนทรศีลาทิขันธ์ อรัณยวาสี[6]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนธรพรตจาริก อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[7]
มรณภาพ
แก้สมเด็จพระพุฒาจารย์ มรณภาพด้วยความชรา เมื่อวันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505[8] สิริอายุ 88 ปี 215 วัน พรรษา 67 ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2506 เวลา 17.00 น.[9]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง พระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (4): 50. 26 เมษายน 2446. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณะศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 2340. 26 พฤศจิกายน 2469. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2457.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ง): 3047–3048. 26 พฤศจิกายน 2469. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ง): 2908. 9 พฤศจิกายน 2473. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 3533. 4 มีนาคม 2484. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (27 ก): 434–436. 17 มิถุนายน 2490. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ปพระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ก): 1564–1566. 17 ธันวาคม 2500. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศาสนวงศ์, หน้า (16)
- ↑ ศาสนวงศ์, หน้า ช
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 140-141. ISBN 974-417-530-3
- ศาสนวงศ์ หรือ ประวัติศาสนา. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506. 514 หน้า. หน้า (๑)-(๑๘). [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน) ]