สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฉายา ญาณฉนฺโท นามเดิม หม่อมราชวงศ์เจริญ ราชสกุล อิศรางกูร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และอดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร[1]
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 (70 ปี 45 วัน ปี) |
มรณภาพ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2470 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 5 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | พ.ศ. 2421 |
พรรษา | 49 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร |
ประวัติ
แก้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์เจริญ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก (พระโอรสในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์) ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านบางอ้อ (อำเภอบ้านนา) จังหวัดนครนายก แล้วติดตามบิดาเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เริ่มแรกได้ศึกษากับบิดา ต่อมาไปศึกษาภาษาบาลีกับพระอาจารย์จีน จนอายุได้ 7 ขวบ บิดาจึงนำไปถวายเป็นศิษย์ของหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ขณะพระองค์ยังเป็นหม่อมเจ้าพระเปรียญอยู่วัดระฆังฯ และศึกษากับพระอมรเมธาจารย์ (เกษ) ขณะยังเป็นมหาเปรียญ กับหม่อมเจ้าชุมแสงซึ่งเป็นลุง และกับพระโหราธิบดดี (ชุม) ศึกษากับอาจารย์ทั้ง 4 ท่านนี้เป็นหลัก นอกจากนี้ก็ศึกษากับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นต้นด้วย[2]
ปีมะเมีย พ.ศ. 2413 บรรพชาเป็นสามเณร และเข้าสอบพระปริยัติธรรมได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ขณะอายุได้ 14 ปี ถึงปีชวด พ.ศ. 2419 ได้เข้าสอบอีก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เพิ่มอีก 1 ประโยคเป็นเปรียญธรรม 4 ประโยค ต่อมาในปีขาล พ.ศ. 2421 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ขณะยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันธน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ได้เข้าสอบอีกเป็นครั้งสุดท้ายที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เพิ่ม 1 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค[3]
หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระราชานุพัทธมุนีแล้ว โปรดให้ท่านพร้อมด้วยฐานานุกรม 1 รูป มหาเปรียญ 1 รูป และพระอันดับ 4 รูป ย้ายไปอยู่วัดโมลีโลกยาราม โดยมีขบวนแห่ทางเรือประกอบด้วยเรือศรีม่านทองทรงพระพุทธรูป 1 ลำ เรือโขนม่านทองแย่งของพระราชานุพัทธมุนี 1 ลำ เรือม่านลายของพระที่ติดตาม 1 ลำ และเรือดั้งพิณพาทย์กลองแขก 2 ลำ ออกจากวัดระฆังตอนเช้าวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8[4] (ตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2430)
เมื่อทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ได้ทรงโปรดฯ ให้ท่าน (ขณะยังเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์) เป็นเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์[5] และพระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑลแก่ท่าน ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 19 กรกฎาคม ศกนั้น[6] ต่อมาท่านเกิดขัดแย้งกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ถึงกับแสดงกิริยาและวาจามิบังควรเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงทรงพระดำริจะถอดท่านจากสมณศักดิ์ แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ขอพระราชทานโทษไว้ จึงมีพระบรมราชโองการให้ท่านกราบทูลขอขมาโทษต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ในท่ามกลางเถรสมาคม ให้ลดนิตยภัตลงมาเท่าพระราชาคณะชั้นสามัญตลอดปี และให้ถอดเสียจากตำแหน่งผู้บัญชาการคณะมณฑลนครสวรรค์[7]
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2430 ตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระราชานุพัทธมุนี
- 28 มีนาคม พ.ศ. 2439 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธี ศีลวิบุลนายก ตรีปิฎกธาดา มหาคณฤศณ บวรสังฆารามคามวาสี มีนิตยภัตรเดือนละ 4 ตำลึงกึ่ง[8]
- 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 เป็นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะฝ่ายใต้ที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ญาณปรีชาปรินายก ตรีปิฎกธรามหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- 25 มกราคม พ.ศ. 2453 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2454) สถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายเหนือที่ พระพิมลธรรมมหันตคุณ วิบุลยปรีชาญาณ ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูษิต อุดรทิศคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี สังฆนายก[10]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ย้ายมาเป็นเจ้าคณะรองหนกลาง[11]
- 24 กันยายน พ.ศ. 2464 สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะเหนือที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลยสุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี มหาสังฆนายก[12]
มรณภาพ
แก้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อาพาธด้วยโรคปอดมาช้านาน อาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2470 เวลา 18.05 น. สิริอายุได้ 70 ปี 45 วัน
เวลา 16.00 น. วันต่อมา สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จมาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศไม้สิบสอง ชั้นรอง 2 ชั้น ฉัตรเครื่องตั้ง 7 คัน พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 15 วัน[13]
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เปลี่ยนโกศไม้สิบสองเป็นโกศมณฑปสำหรับออกเมรุ วันต่อมาจึงตั้งริ้วกระบวนราชอิสริยยศเคลื่อนศพจากวัดระฆังฯ ไปยังเมรุท้องสนามหลวง ถึงเวลา 18.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทอดผ้าบังสุกุลและพระราชทานเพลิงศพ[14]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ "พระราชานุพัทธมุนี". วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-10. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 222
- ↑ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 223
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, กำหนดการแห่พระสงฆ์ไปอยู่พระอารามหลวง, เล่ม 4, ตอน 12, 26 มิถุนายน ร.ศ. 106, หน้า 90
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชาคณะเจ้าคณะมณฑล, เล่ม 19, ตอน 16, 20 กรกฎาคม ร.ศ. 121, หน้า 296
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล, เล่ม 19, ตอน 17, 27 กรกฎาคม ร.ศ. 121, หน้า 334
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ ประกาศถอนพระพิมลธรรมจากตำแหน่งผู้บัญชาการคณะมณฑลนครสวรรค์, เล่ม 31, ตอน 0 ง, 7 มิถุนายน 2457, หน้า 520-521
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแลเลื่อนตำแหน่งยศ, เล่ม 13, ตอน 1, 5 เมษายน ร.ศ. 115, หน้า 15
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์ และรายนามพระสงฆ์ที่รับพัดรอง พระราชลัญจกร แลตราตำแหน่งต่าง ๆ, เล่ม 19, ตอน 8, 25 พฤษภาคม ร.ศ. 121, หน้า 127
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะและราชาคณะ, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 29 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2635-2636
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี พระราชทานตราตำแหน่งย้ายเจ้าคณะรอง, เล่ม 32, ตอน 0 ง, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458, หน้า 2826
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ, เล่ม 38, ตอน 0 ง, 2 ตุลาคม พ.ศ. 2464, หน้า 1825-1826
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวมรณภาพ, เล่ม 44, ตอน ง, 9 ตุลาคม 2470, หน้า 875-877
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ณ เมรุท้องสนามหลวง, เล่ม 45, ตอน ง, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2464, หน้า 875-877
- บรรณานุกรม
- "พระราชานุพัทธมุนี". วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-10. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 218-222. ISBN 974-417-530-3