วัดสามพระยา

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดสามพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1] เดิมเป็นวัดราษฎร์ สถานที่ตั้งอยู่ที่แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้างก็เรียกชื่อวัดว่า วัดสัก หรือ วัดบางขุนพรหม สันนิษฐานว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ มาโดยลำดับ

วัดสามพระยา
หลวงพ่อพระพุทธเกสร พระประธานประจำอุโบสถวัดสามพระยา
แผนที่
ที่ตั้งแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธเกสร
เจ้าอาวาสพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดสามพระยา
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005598
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ประกอบด้วยพระยาราชสุภาวดี(ขุนทอง)พระยาเทพวรชุน (ทองห่อ) และพระยาราชวรานิกุล(ทองคำ) รวม3คนพี่น้อง ตามประวัติ บิดาท่านชื่อ มะทอเปิ้น อพยพมาจากรามัญประเทศ แต่มารดาท่านไม่ปรากฏนาม พี่น้องทั้งสามได้จัดสร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ แล้วเสร็จจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นวัดหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามวัดว่า “วัดสามพระยา” และต่อมาได้นำไปตั้งเป็นชื่อแขวงในพื้นที่เขตพระนคร

ลำดับเจ้าอาวาส

แก้

ลำดับเจ้าอาวาส และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสามพระยา เท่าที่พบข้อมูล

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระนิโรธรังษี (เรือง) ราวรัชกาลที่ 3 ราวรัชกาลที่ 4 เจ้าอาวาส
2 พระธรรมสมาจาร (ศิลา) ราวต้นรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2433 เจ้าอาวาส
3 พระเทพเมธี (ครุฑ จนฺทโชติ) ป.ธ.4 พ. 2436 พ.ศ. 2456 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
4 พระธรรมดิลก (ขาว เขมโก) ป.ธ.6 พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2480 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
5 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) ป.ธ.9 พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2481 ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2539 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
6 พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ป.ธ.9 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2561 เจ้าอาวาส (สมัยที่ 1), ปลดจากตำแหน่ง
7 พระธรรมวชิรปัญญาภรณ์ (ละเอียด กิตฺติสุขุโม) ป.ธ.9 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2565 ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2567 เจ้าอาวาส, ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
8 พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ป.ธ.9 พ.ศ. 2567 - เจ้าอาวาส (สมัยที่ 2), ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้