สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น กรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

(วีระ ภทฺทจารี)
ส่วนบุคคล
เกิด26 มกราคม พ.ศ. 2473 (86 ปี 75 วัน ปี)
มรณภาพ11 เมษายน พ.ศ. 2559
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พรรษา65
ตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

ประวัติ

แก้

ชาติภูมิ

แก้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่า วีระ รอดบำเรอ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย จุลศักราช 1292 รัตนโกสินทรศก 148 ตรงกับวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2473 โยมบิดาชื่อ นายลี รอดบำเรอ โยมมารดาชื่อ นางมา รอดบำเรอ ภูมิลำเนาอยู่บ้านป่าฝ้าย หมู่ที่ 4 ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

การศึกษา

แก้
แผนกนักธรรม-บาลี

เมื่อได้เข้าอยู่ในสำนักวัดเทพธิดารามเรียบร้อยแล้วก็เริ่มศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีได้ศึกษาในสำนักเรียนวัดเทพธิดาราม และสำนักเรียนอื่น ๆ เช่น วัดสระเกศ วัดจักรพรรดิ ราชาวาส วัดมหาธาตุ วัดสามพระยา วัดสุทัศนเทพวราราม วัดทองนพคุณ สอบประโยค ป.ธ. 3- ป.ธ. 6 ได้ในสมัยที่ยังเป็นสามเณร

แผนกสามัญ

สมัยเยาว์วัยได้หัดอ่านและเขียนอักษรสมัยอยู่ที่บ้านโดยมีปู่เป็นผู้สอนเมื่ออายุเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา ปู่จึงไปฝากเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดโสคาประดิษฐาราม (เขาแร้ง) ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน เมื่อสอบได้ชั้นประถมบริบูรณ์แล้วได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนพรเพิ่มวุฒิ ถนนราษฏรยินดี ในเมืองราชบุรีในสมัยที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ให้อยู่ในความปกครองดูแลของท่านพระครูวิสุทธิสมณวัตร (แย้ม กนตฺสิโล) เจ้าอาวาสวัดท้ายเมือง ตำบลพงสวาย ใกล้กรมการทหารช่างราชบุรี ในปี พ.ศ. 2486 ภัยสงครามทางอากาศคุกคามหนัก บิดาจึงรับกลับไป อยู่บ้าน เป็นไข้หนักในปีนั้นกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เลย ไม่ได้สอบไล่ และไม่ได้เรียนต่อ

บรรพชา

แก้

ณ วัดเขาวังสะดึง ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เมื่ออายุ 16 ปี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา จุลศักราช 1307 โดยมีเจ้าอธิการวงศ์ ธมฺมปาโล วัดเกาะลอย เจ้าคณะคณะตำบลเกาะพลับพลา เขาแร้ง เป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาแล้วสังกัดอยู่ที่วัดโสคาประดิษฐาราม (เขาแร้ง) ตำบลเข้าแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี โดยมีพระอธิการนกเป็นอาจารย์ผู้ปกครองได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมชั้นตรี และสอบได้ในปีนั้น ในปี พ.ศ. 2487 ประมาณเดือนมีนาคม พระอธิการนก อาวาสวัดโสคาประดิษฐารามลาสิกขา พระครูวิสุทธิสมณวัตร (แย้ม กนตฺสิโล) เจ้าอาวาสวัดท้ายเมือง ซึ่งเป็นผู้ปกครองลงในสมัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมได้เจรจาขอสามเณรวีระต่อโยมบิดาเพื่อจะส่งให้ศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพ โยมบิดาก็อนุญาตด้วยดี ท่านพระครูฯ จึงกำหนดวัน ส่งไปศึกษาเล่าเรียนย้ายสำนักสามเณรวีระพร้อมด้วยโยมบิดาได้เดินทางออกจากบ้านในวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พักแรมที่วัดท้ายเมืองหนึ่งคืน รุ่งขึ้นท่านพระครูวิสุทธิสมณวัตร พาเข้ากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟราชบุรีมาลงที่สถานีบางกอกน้อยแล้วลงเรือข้ามฟากขึ้นที่ท่าพระจันทร์นั่งรถรางสายรอบเมืองไปลงที่ประตูสำราญราษฏร์ประตูผี ท่านพระครูฯ ได้นำไปฝากไว้ที่วัดเทพธิดาราม อยู่ในปกครองของพระมหาพลอย ญาณสํวโร ปธ. 6 ในสมัยนั้น

อุปสมบท

แก้

ณ พัทธสีมาวัดเทพธิดาราม ตำบลสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่ออายุ 20 ปี ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 โดยมีพระมงคลธรรมรังสี (ปาน อินฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดเทพธิดาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระราชธรรมเสนานี (ศุข สุภทฺโท ป.ธ. 4) วัดมหาธาตุวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวิสุทธิโสภณ (ปลอด กมุทฺโท ป.ธ. 9) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำร็จเป็นพระภิกษุด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา เวลา 14.25 น. อยู่จำพรรษาที่วัดเทพธิดารามตลอดมา จนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 จึงย้ายเข้ามาอยุ่วัดสุทัศนเทพวราราม

งานการศึกษา

แก้
  • พ.ศ. 2494 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดเทพธิดาราม เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2504 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดสามพระยา สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สังกัดสำนักเรียนวัดเทพธิดาราม
  • พ.ศ. 2507 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
  • พ.ศ. 2517 เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
  • พ.ศ. 2527 – ปัจจุบัน เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นผู้อำนวยการกองตรวจธรรมสนามหลวงชั้นโท
  • พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ถวายปริญญาบัตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ ประกาศเกียรติคุณ

งานปกครอง

แก้

ศาสนกิจที่ให้ความสำคัญ

แก้

คือการไหว้พระสวดมนต์ หากไม่มีกิจธุระสำคัญอื่นใด เช่นงานหลวงหรืองานด้านอื่น ๆ ท่านจะไหว้พระ สวดมนต์ที่พระอุโบสถเป็นประจำไม่ขาด ถึงแม้ตอนที่สุขภาพถูกพยาธิเบียดเบียดก็ไม่ยอมขาด ได้ไหว้พระสวดมนต์ก็จะสบายใจเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่สวดมนต์ได้ทุกบท และเสียงสวดก็ไพเราะน่าฟังเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาแก่สาธุชนที่ได้รับฟัง นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่สนใจในการศึกษาหาความรู้ในวิชาการด้านต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ

สมณศักดิ์

แก้

มรณภาพ

แก้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อาพาธจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพเป็นระยะ ต่อมามีโรคมะเร็งลำไส้และโรคไตแทรกซ้อน จนกระทั่งมรณภาพจากอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตเมื่อวันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลาประมาณ 9.00 น. ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริอายุได้ 86 ปี 75 วัน[7]

ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) การนี้ทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพตามสมณศักดิ์ ประกอบด้วย โกศไม้สิบสอง ฉัตรเครื่องสูง ทองแผ่ลวด และทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน 50 วัน และ 100 วันตามลำดับ

ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 82, ตอนที่ 111 ง ฉบับพิเศษ, 23 ธันวาคม 2508, หน้า 4
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 88, ตอนที่ 151 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2514, หน้า 5
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 97, ตอนที่ 188 ง ฉบับพิเศษ, 5 ธันวาคม 2523, หน้า 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 104, ตอนที่ 253 ง ฉบับพิเศษ, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 2-3
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 110, ตอนที่ 19 ก ฉบับพิเศษ, 19 กุมภาพันธ์ 2536, หน้า 9-11
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 128, ตอนที่ 9 ข, 1 มิถุนายน 2554, หน้า 1-3
  7. สิ้น 'สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์' เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ สิริรวมอายุ 86 ปี, ไทยรัฐ, สืบค้นวันที่ 12 เมษายน 2559