สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ฤทธิ์ ฉายา ธมฺมสิริ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ฝายเหนือและอดีตเจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุขวรวิหารและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

(ฤทธิ์ ธมฺมสิริ)
ส่วนบุคคล
เกิด10 เมษายน พ.ศ. 2380 (75 ปี 318 วัน ปี)
มรณภาพ22 เมษายาน พ.ศ. 2456
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2400
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝายเหนือ

ประวัติ

แก้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิม ฤทธิ์ หรือ ริด เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2380 เมื่ออายุได้ 10 ขวบ ได้ศึกษากับพระมหาพลาย วัดนาคกลาง หลังโกนจุก ได้บวชเป็นสามเณรอยู่วัดราชบุรณราชวรวิหาร เข้าสอบพระปริยัติธรรมครั้งแรกในปีระกา พ.ศ. 2391 ณ วัดพระเชตุพนฯ ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตามาก ตรัสว่า "เด็กขนาดนี้กำลังจะจับเป็ดจับไก่ แต่สามเณรฤทธิ์อุตส่าห์เล่าเรียนจนแปลหนังสือได้เป็นเปรียญ" จึงพระราชทานรางวัล 1 ชั่ง[1]

ปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 อุปสมบทที่วันราชบุรณฯ โดยมีพระธรรมวโรดม (สมบุรณ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ และเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งขณะพรรษา 8 ได้อีก 2 ประโยค จึงเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตาลปัตรพื้นโหมดเป็นเกียรติยศพิเศษ เพราะท่านเทศนาได้ดีต้องพระทัย[1]

หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ท่านไปครองวัดบพิตรพิมุข[2] ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่วัดอรุณราชวราราม โดยมีพระครูปลัด 1 รูป พระครูฐานานุกรม 3 รูป พระเปรียญ 2 รูป สามเณรเปรียญ 1 รูป พระอันดับ 7 รูป ติดตามไปอยู่ด้วย[3]

 
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  นามเดิมว่า ฤทธิ นามฉายา ธมฺมสิริ ตระกูลเป็นมหาดเล็ก เกิดในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีระกา วันเสาร์ พ.ศ. ๒๓๘๐ เมื่ออายุ ๑๐ ปี โยมพาไปฝากไว้ในสำนักพระมหาพลาย เปรียญ ๔ ประโยค วัดนาคกลาง ผู้เป็นญาตินับชั้นเป็นลูกผู้พี่ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ครั้นบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ได้ไปเล่าเรียนอยู่ที่วัดราชบูรณะ

สมณศักดิ์

แก้
  • 2417 ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี[1]
  • 2 ตุลาคม จ.ศ. 1247 (ตรงกับ พ.ศ. 2428) เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระโพธิวงษาจาริย ญาณนายก ตรีปิฎกธรา มหาคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี มีนิตยภัตเดือนละ 4 ตำลึงกึ่ง[4]
  • 20 มีนาคม ร.ศ. 110 (ตรงกับ พ.ศ. 2434) เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ญาณวิสาระทะนายก ตรีปิฎกปรีชา มหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี มีนิตยภัตเดือนละ 4 ตำลึง 3 บาท และได้รับตาลปัตรแฉกพื้นแพรปักเลื่อม พัดรองโหมดเทศ และเครื่องบริขารเล็กน้อย เป็นเครื่องยศ[5]
  • 20 ธันวาคม ร.ศ. 113 (ตรงกับ พ.ศ. 2437) เลื่อนเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายใต้ที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุล สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูษิต ทักษิณทิศคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี มีนัตยภัตเดือนละ 6 ตำลึง[6]
  • 15 พฤษภาคม ร.ศ. 121 (ปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2445) เลื่อนเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะอรัญวาสีและเจ้าคณะใหญ่คณะกลางที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สับตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลมัชฌิมคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี มีนิตยภัตเดือนละ 7 ตำลึง และได้รับพัดรองเป็นรูปพระราชลัญจกรมหาอุณาโลมเป็นที่ระลึก[7]
  • 16 มีนาคม ร.ศ. 124 (ตรงกับ พ.ศ. 2448) เลื่อนเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลยสุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี อรัญวาสี มีนิตยภัตเดือนละ 10 ตำลึง[8]
 
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ฤทธิ ธมฺมสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ 8

มรณภาพ

แก้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อาพาธเป็นโรคชรา มรณภาพเมื่อวันพุธที่ 22 เมษายาน พ.ศ. 2456 เวลา 3 ยาม ปีฉลู สิริอายุได้ 75 ปี 318 วัน ในวันต่อมา เวลาบ่าย 5 โมงเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต สวมลอมพอกโหมดถวายศพ แล้วเจ้าพนักงานยกศพตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบโกศไม้สิบสอง แวดล้อมด้วยฉัตรเครื่อง 9 คัน แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ทอดไตร 10 ไตร และผ้าขาว 20 พับ พระราชทานบังสุกุล และให้พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทุกวันมีกำหนด 1 เดือน[9]

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 117
  2. ประวัติวัดอรุณราชวราราม, หน้า 82
  3. "พระราชาคณะเปลี่ยพระอาราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (14): 154–5. 3 กรกฎาคม ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "สำเนาสัญญาบัตรพระสงฆ์ ปีรกาสัปตศก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (39): 328. 1 กุมภาพันธ์ จ.ศ. 1248. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (52): 466, 468. 27 มีนาคม ร.ศ. 110. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (39): 311. 23 ธันวาคม ร.ศ. 113. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์ และรายนามพระสงฆ์ที่รับพัดรอง พระราชลัญจกร แลตราตำแหน่งต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (8): 125–126. 25 พฤษภาคม ร.ศ. 121. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "ประกาศเลื่อนตำแหน่งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (52): 1185. 25 มีนาคม ร.ศ. 124. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "ข่าวมรณภาพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 196–197. 27 เมษายน พ.ศ. 2456. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
บรรณานุกรม
  • วัดอรุณราชวราราม. ประวัติวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่, 2552. 260 หน้า. หน้า 82-83. [จัดพิมพ์ในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ (พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก)]
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 116-121. ISBN 974-417-530-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) ถัดไป
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป)    
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
(พ.ศ. 2448-2456)
  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต)