สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท ฉายา ญาณวโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในการปกครองคณะสงฆ์ไทย เช่น สังฆนายก เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เป็นต้น
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 |
มรณภาพ | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 (78 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | บาเรียนเอก (เทียบเท่าเปรียญธรรม 7 ประโยค) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2435 |
พรรษา | 59 |
ตำแหน่ง | สังฆนายก เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร |
ประวัติ
แก้ชาติกำเนิด
แก้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่า เจริญ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 หลัง ปีวอก โยมบิดาชื่อทองสุข โยมมารดาชื่อย่าง นามสกุล สุขบท[1] ชาติภูมิอยู่ตำบลตลาดกลาง อำเภอบางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี เมื่ออายุได้ 8 ปี ได้ศึกษาในสำนักของพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณฺณโก) วัดเขาบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี[2]
อุปสมบท
แก้เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ศาลาในสวนของย่า โดยย่านิมนต์พระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณฺณโก) มาเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเล่าเรียนในสำนักเดิมต่อจนอายุได้ 14 ปี จึงย้ายมาศึกษาในสำนักของพระครูวินัยธร (ฉาย) ฐานานุกรมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร จนอายุได้ 20 ปี จึงกลับไปอุปสมบทที่วัดเขาบางทรายในวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2435 โดยพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณฺณโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า ญาณวโร[2]
การศึกษา
แก้หลังอุปสมบทได้ย้ายมาอยู่วัดกันมาตุยารามเป็นเวลา 4 ปี เพราะใกล้สำนักของอาจารย์คือพระยาธรรมปรีชา (บุญ) แล้วย้ายไปศึกษากับพระเทพกวี (อ่อน อหึสโก) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร[2] จนปีวอก พ.ศ. 2439 จึงสอบได้บาเรียนตรี (เทียบเท่าเปรียญธรรม 4 ประโยค)[3] แล้วย้ายมาอยู่วัดเทพศิรินทราวาสในปีระกา พ.ศ. 2440 เพื่อศึกษาพระวินัยปิฎกจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และในปีเดียวกันนั้นก็สอบได้บาเรียนเอก (เทียบเท่าเปรียญธรรม 7 ประโยค)[4]
ลำดับสมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2441 เป็นพระราชาคณะที่ พระอมราภิรักขิต[5]
- พ.ศ. 2445 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระราชมุนี ตรีปิฎกาลังการ[6]
- พ.ศ. 2449 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกระวี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกปรีชา มหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี[7]
- พ.ศ. 2453 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ยติคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี[8]
- พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะธรรมยุติกนิกายที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลย์ ตรีปิฎกคุณูประสาธวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสีสังฆนายก[9]
- พ.ศ. 2471 เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่หนเหนือที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุล สุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุลคัมภีรญาณสุนทร มหาอุตดรคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[10]
ตำแหน่ง
แก้- 25 มกราคม พ.ศ. 2441 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินราวาส แทนหม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตรที่ทรงลาออก[11]
- 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลปราจิณบุรี[12]
- 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลปราจิณและมณฑลจันทบุรี[13]
- 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในราชบัณฑิตยสภา[14]
- 25 มกราคม พ.ศ. 2476 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม[15]
- พ.ศ. 2486 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสังฆสภา
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆนายก
- 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆนายก สมัยที่ 2[16]
มรณภาพ
แก้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) อาพาธด้วยโรคเนื้องอกที่ตับ ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น. สิริอายุ 80 ปี พรรษา 59[1] ได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2495 ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
ศิษย์ที่มีชื่อเสียง
แก้อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 128-130
- ↑ 2.0 2.1 2.2 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑ หน้า 233-235
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, จำนวนพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานพัดเปรียญ ปเรียญ ๗ ประโยค, เล่ม 13, ตอน 27, 4 ตุลาคม ค.ศ. 1896, หน้า 292
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, จำนวนพระสงฆ์ ที่ได้รับพระราชทานพัดเปรียญ, เล่ม 14, ตอน 0 ฉบับพิเศษ, 29 กันยายน ค.ศ. 1897, หน้า 368
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 15, ตอน 34, 20 พฤศิกายน 2441, หน้า 353
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 19, ตอน 8, 25 พฤษภาคม 2445, หน้า 127
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต และเลื่อนตำแหน่งสมณศักดิ์, เล่ม 23, ตอน 0 ง, 6 พฤษภาคม 2449, หน้า 120
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 29 มกราคม 2453, หน้า 2,637
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ, เล่ม 38, ตอน 0 ง, 2 ตุลาคม 2464, หน้า 1828-1830
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 45, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน 2471, หน้า 175-7
- ↑ ยุคที่ 5 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เป็นเจ้าอาวาส[ลิงก์เสีย], สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร์เจ้าคณะมณฑล, เล่ม 19, ตอน 17, 27 กรกฎาคม 2445, หน้า 334
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมธรรมการ เรื่องตั้งเจ้าคณะมณฑล, เล่ม 41, ตอน 0 ง, 8 มีนาคม 2467, หน้า 4,247
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งกรรมการราชบัณฑิตยสภาเพิ่มเติม, เล่ม 43, ตอน 0 ก, 6 มีนาคม 2469, หน้า 709
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่องตั้งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม, เล่ม 50, ตอน 0 ง, 4 กุมภาพันธ์ 2476, หน้า 3095
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งสังฆนายก, เล่ม 67, ตอน 38, 11 กรกฎาคม 2493, หน้า 2955-6
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
- สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3
ก่อนหน้า | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) | สังฆนายก (พ.ศ. 2489-2493 (สมัยที่ 1) พ.ศ. 2493-2494 (สมัยที่ 2)) |
พระศาสนโศภน (จวน อุฏฺฐายี) | ||
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) | ประธานสังฆสภา (พ.ศ. 2486-2489) |
พระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทโย) | ||
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) |
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (พ.ศ. 2471-2484) |
(ตำแหน่งถูกยกเลิกตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484) | ||
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ | เจ้าคณะรองคณะธรรมยุตติกนิกาย (พ.ศ. 2456-2464) |
พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)) |