สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร)
สมเด็จพระวันรัต นามเดิม นิรันตร์ ฉายา นิรนฺตโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารและกรรมการมหาเถรสมาคม
ประวัติ
แก้ชาติกำเนิด
แก้สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า ฮกเล้ง โกณเขมะ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ เป็นบุตรนายลุ้นฮวด-นางกิมหลง (นามสกุลเดิม ไมตรี) ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 330 ซอยคูกำพล ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
อุปสมบท
แก้หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนชลราษฎรอำรุงแล้ว ท่านได้ติดตามสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) มาอยู่วัดเทพศิรินทราวาส และสมเด็จฯ ได้เปลี่ยนชื่อท่านเป็นนิรันตร์ นับแต่นั้น ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2474 โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพกวี (จั่น วิจญฺจโล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเขมทัสสี (เอี่ยม เขมิโย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
แก้- พ.ศ. 2475 สอบได้นักธรรมชั้นตรีและเปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2476 สอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 4 ประโยค
- พ.ศ. 2477 สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 5 ประโยค
- พ.ศ. 2478 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
- พ.ศ. 2479 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค
- พ.ศ. 2480 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค
- พ.ศ. 2481 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
ลำดับสมณศักดิ์
แก้- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระนิรันตรญาณมุนี[1]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม[2]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้รับสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุล ตรีปิฎกคุณประสาธนวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติปฏิบัติคุณดิเรก อดิเรกคัมภีรธรรมัตถโกศล สุวิมลวินยสุนทร ญาณวรวรางกูร วิบูลธรรมโสภิต ตรีปิกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[6]
มรณภาพ
แก้สมเด็จพระวันรัต มรณภาพด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เวลา 19.25 น. ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลากวีนิรมิต วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานโกศไม้สิบสองและรับศพในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืนตลอด 7 คืน
วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส การนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จฯ ด้วย
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 64, ตอนที่ 27 ง, 17 มิถุนายน 2490, หน้า 1532
- ↑ เรื่องเก่าเล่าใหม่, หน้า (24)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 74, ตอนที่ 107 ง, 17 ธันวาคม 2500, หน้า 2947
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 78, ตอนที่ 104 ง ฉบับพิเศษ, 15 ธันวาคม 2504, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 97, ตอนที่ 60 ก ฉบับพิเศษ, 16 เมษายน 2523, หน้า 1-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ (พระสาสนโสภณ และพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ), เล่ม 113, ตอนที่ 13 ข, 2 กรกฎาคม 2539, หน้า 3-5
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 174-177. ISBN 974-417-530-3
- สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร). เรื่องเก่าเล่าใหม่. กรุงเทพฯ : สืบสานพุทธศาสน์, 2547. 136 หน้า. [อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระวันรัต (นิรนฺตรมหาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547]