สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

สมเด็จพระวันรัต นามเดิม เฮง ฉายา เขมจารี เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร และแม่กองบาลีสนามหลวง

สมเด็จพระวันรัต

(เฮง เขมจารี)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด31 มกราคม พ.ศ. 2425 (61 ปี 99 วัน ปี)
มรณภาพ10 พฤษภาคม พ.ศ. 2486
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พรรษา42
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
เจ้าคณะใหญ่หนใต้

ประวัติ แก้

ชาติกำเนิด แก้

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า กิมเฮง บิดาเป็นพ่อค้าชาวจีนชื่อตั้วเก๊า แซ่ฉั่ว มารดาชื่อทับทิม เสียชีวิตระหว่างคลอดบุตรคนที่สี่ ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2424 (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2425) ภูมิลำเนาท่านอยู่บ้านท่าแร่ ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี เมื่ออายุได้ 10 ปี ได้เรียนภาษาไทยกับพระอาจารย์ชัง วัดขวิด อยู่ 2 ปี แล้วย้ายไปเรียนกับพระสุนทรมุนี (ใจ) ขณะยังเป็นพระปลัดอยู่วัดมณีธุดงค์[1]

อุปสมบทและศึกษาปริยัติธรรม แก้

เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วเรียนภาษาบาลีที่วัดมณีธุดงค์ต่อจนกระทั่งอายุได้ 16 ปี ตรงกับปี พ.ศ. 2440 จึงย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เรียนภาษาบาลีกับพระยาธรรมปรีชา (ทิม) และหลวงชลธีธรรมพิทักษ์ (ยิ้ม) เมื่อยังเป็นมหาเปรียญ ต่อมาเรียนกับพระอมรเมธาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อยังดำรงพระยศเป็นกรมหลวง จนสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคในปี พ.ศ. 2444[2]

ถึงปีขาล พ.ศ. 2445 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) และพระเทพเมธี (เข้ม ธมฺมสโร) เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์[3] แล้วเข้าสอบในปี ร.ศ. 122 ได้เพิ่มอีก 2 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค[4] ต่อมาเข้าสอบอีกได้เป็นเปรียญธรรม 8 ประโยคในปี ร.ศ. 123[5] และในที่สุดสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปี ร.ศ. 124[6]

ศาสนกิจ แก้

นับแต่เป็นสามเณรเปรียญ 4 ประโยค ท่านก็ได้รับมอบหมายให้เป็นครูสอนในมหาธาตุวิทยาลัย[7] เมื่อสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) ชราภาพ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสโปรดให้ท่านเป็นผู้จัดการวัดมหาธาตุแทนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455[8] เมื่อสมเด็จพระวันรัตมรณภาพในปี พ.ศ. 2466 ท่านจึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน[9] ตลอดช่วงเวลาที่ครองวัด ท่านได้จัดระเบียบวัดทั้งในด้านการทะเบียน การทำสังฆกรรม จัดลำดับชั้นการปกครองคณะ เข้มงวดกับจริยวัตรของพระเณรในวัด และจัดการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมและก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอกับการขยายการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังสนองงานถวายสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสจนเป็นที่พอพระทัย

เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ประกาศใช้ ท่านได้รับคัดเลือกเป็นประธานสังฆสภาเป็นรูปแรก

สมณศักดิ์ แก้

มรณภาพ แก้

สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและมีอาการขั้วปอดโต เมื่อวันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2486[16] เวลา 20.30 น. ณ คณะ 1 วัดมหาธาตุฯ[17] สิริอายุได้ 61 ปี 99 วัน พรรษา 42

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 239
  2. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 240
  3. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัตฯ, หน้า 73
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง พระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้, เล่ม 20, ตอน 4, 26 เมษายน ร.ศ. 122, หน้า 50
  5. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระสงฆ์สามเณร ที่แปลพระปริยัติธรรมได้ใน ศก๑๒๒, เล่ม 21, ตอน 4, 24 เมษายน ร.ศ. 123, หน้า 40
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี (ประชุมสอบไล่พระปริยัติธรรม พระสงฆ์สามเณรในรามัญประจำ ศก ๑๒๓), เล่ม 22, ตอน 12, 18 มิถุนายน ร.ศ. 124, หน้า 239
  7. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัตฯ, หน้า 74
  8. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัตฯ, หน้า 76
  9. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัตฯ, หน้า 96
  10. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานตำแหน่งสมณศักดิ์, เล่ม 26, ตอน 0 ง, วันที่ 14 พฤศจิกายน ร.ศ. 128, หน้า 1,802
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระราชาคณะ, เล่ม 29, ตอน 0 ง, วันที่ 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131, หน้า 239
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 33, ตอน 0 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2459, หน้า 2,201
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ, เล่ม 38, ตอน 0 ง, วันที่ 2 ตุลาคม 2459, หน้า 1,831
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 45, ตอน 0 ก, วันที่ 11 พฤศจิกายน 2471, หน้า 182-3
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 56, ตอน 0 ง, วันที่ 25 กันยายน 2482, หน้า 1784-5
  16. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 135
  17. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัตฯ, หน้า 109
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • ธนิต อยู่โพธิ์ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และ สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2516. 447 หน้า.
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ถัดไป
(ไม่มี)    
ประธานสังฆสภา
(พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2486)
  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสฺสเทโว)    
เจ้าคณะใหญ่หนใต้
(พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2484)
  (ตำแหน่งถูกยกเลิกตาม
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484)
พระพิมลธรรม (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท)    
เจ้าคณะรองหนเหนือ
ที่ พระพิมลธรรม

(พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2482)
  พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)   ไฟล์:ตราบาลี.gif
แม่กองบาลีสนามหลวง
(พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2476)
  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์