พงศาวดารเหนือ
พงศาวดารเหนือ หรือ พระราชพงศาวดารเหนือ เป็นตำนานที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมือง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ได้เรียบเรียงไว้ในปลายสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2350 โดยรัชกาลที่ 1 โปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ต่อมาคือ รัชกาลที่ 2) เป็นแม่กองชำระรวบรวมเรียบเรียงหนังสือจดคำบอกเล่าครั้งกรุงเก่า ที่เห็นว่ามีเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองเหนือ โดยจัดพิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5[1] เมื่อปี พ.ศ. 2412
เนื้อหาในพงศาวดารเหนือ เช่น เรื่องพระร่วงแห่งเมืองสุโขทัย ที่กล่าวถึงการส่งส่วยน้ำให้กษัตริย์ขอม ขอมดำดิน[2] ตำนานพระแก้วมรกต (อยู่ข้างท้าย) ตำนานพระปฐมเจดีย์[3] เรื่องพระยาแกรก พระยากง เรื่องพระเจ้าอู่ทอง เรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช พระชินสีห์ มีลักษณะเป็นตำนานหรือบางเรื่องเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมา[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระแก้วมรกต : ตำนานพระแก้วมรกต.
- ↑ วุฒิชัย มูลศิลป์. "ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นครกับความก้าวหน้าการศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัย". วารสารประวัติศาสตร์.
- ↑ ธนธร กิตติกานต์. มหาธาตุ.
- ↑ พงศาวดารเหนือ.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พงศาวดารเหนือ