พระธรรมทูต (อ่านว่า -ทำมะทูด) หรือ พระธรรมจาริก หมายถึง ภิกษุที่เดินทางไปแสดงธรรมในที่ต่าง ๆ ทำหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา

พระธรรมทูตเริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจนมีพระสาวกมากรูปแล้วจึงส่งพระสาวกเหล่านั้นไปประกาศธรรมในทิศต่างๆ โดยตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชุมชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน" ดังนี้เป็นต้น

พระธรรมจาริก มีความหมายเดียวเช่นเดียวกันกับพระธรรมทูต แต่เป็นคำบัญญัติที่เกิดที่หลังคำว่าพระธรรมทูต

ปัจจุบันแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น 2 ประเภทคือ พระธรรมทูตในประเทศ กับ พระธรรมทูตต่างประเทศ

พระธรรมทูตในประเทศ แก้

พระธรรมทูตในประเทศแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบเป็น 9 สายดังนี้

  • สายที่ 1 รับผิดชอบในเขตภาค 1 และภาค 14 (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร)
  • สายที่ 2 รับผิดชอบในเขตภาค 2 และภาค 3 (พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี)
  • สายที่ 3 รับผิดชอบในเขตภาค 4 และภาค 5 (กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์)
  • สายที่ 4 รับผิดชอบในเขตภาค 6 และภาค 7 (ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน)
  • สายที่ 5 รับผิดชอบในเขตภาค 8 และภาค 9 (อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด)
  • สายที่ 6 รับผิดชอบในเขตภาค 10 และภาค 11 (อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ นครพนม อำนาจเจริญ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์)
  • สายที่ 7 รับผิดชอบในเขตภาค 12 และภาค 13 (ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)
  • สายที่ 8 รับผิดชอบในเขตภาค 15 และภาค 16 (ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช)
  • สายที่ 9 รับผิดชอบในเขตภาค 17 และภาค 18 (ภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา ระนอง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส)

พระธรรมทูตต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้